3 ปี รัฐประหารพม่า : ธุรกิจมืด-อาชญากรรมข้ามชาติพุ่ง ทุนไทยไม่ควรลงทุนกิจการละเมิดชีวิตคนพม่า

3 ปี รัฐประหารพม่า

: ศูนย์กลางธุรกิจมืด-อาชญากรรมข้ามชาติ “ไทย“ โดนผลกระทบหนักสุด

ครบสอบสามปีเหตุการณ์รัฐประหารในพม่า นอกจากความเปลี่ยนแปลงในเชิงการเมืองของประเทศครั้งสำคัญ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ก็เกิดขึ้นไม่น้อย โดยเฉพาะการกลายเป็นศูนย์กลางการทำงานของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ แก็งคอลเซ็นเตอร์ระดับโลก ต่างเข้ามาตั้งศูนย์ดำเนินการที่นี่ ก่อให้เปิดผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างหนักเช่นไทย และ จีน เป็นต้น

เจ้าหน้าที่จากสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Institute of Peace—USIP) เล่าว่า

หลังจากการรัฐประหารเกิดขึ้น รัฐบาลทหารพม่าทำให้พม่าเป็นประเทศที่มีสถิติอาชญากรรมมากที่สุดในโลก เมียนมากลายเป็นที่ 1 ในสถิติที่เกี่ยวกับการค้ายาเสพติด มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้าน ต่อปี เมียนมากลายเป็นประเทศที่มีการค้ายาบ้ามากที่สุด ชายแดนของพม่าเต็มไปด้วยเศรษฐกิจสแกมมิ่งและคอลเซ็นเตอร์ในการหลอกลวงผู้คน กลายเป็นศูนย์กลางของอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่หลอกลวงประชาชน มีมูลค่าประมาณ 75 ล้านเหรียญต่อปี เศรษฐกิจผิดกฏหมายเหล่านี้เติบโตอย่างมาก เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับภูมิภาคอาเซียน

ก่อนเกิดการรัฐประหาร รัฐบาลเมียนมาพยายามแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เกิดความร่วมมือในการหาทางแก้ปัญหาต่างๆเช่นการฟอกเงิน การแก้ไขความท้าทายต่างๆ ให้มีความโปร่งใสในระบบเศรษฐกิจ การทำธุรกิจ มากขึ้น มีการลงทะเบียนการค้า การทำธุรกิจในเมียนมา มีการเก็บข้อมูล ตรวจสอบบริษัทต่างๆ มีการสร้างเมืองคาสิโนและมีความพยายามขององค์กรอาชญากรรมที่เริ่มเข้ามาในพื้นที่ รัฐบาลเมียนมาพยายามปราบปราม มีการตั้งคณะกรรมการสืบสวนสิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อเกิดการรัฐประหาร รัฐไทยก็พยายามผลักดันอาชญากรรมข้ามชาติที่เกิดขึ้น แต่การพยายามปราบปรามไม่ประสบความสำเร็จ การพนันออนไลน์มีความเพิ่มขึ้น ช่วงการระบาดของโควิดยิ่งมีการระบาดของการหลอกลวงออนไลน์เพิ่มขึ้นในพม่า ด้วยวิธีการใช้โซเชียลมีเดีย การชักชวนไปลงทุนปลอมๆ เช่น ลงทุนคริปโตเคเรนซี นำเงินเข้าสู่กระเป๋็าอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งหมดอยู่บนแผ่นดินของพม่าโดยเฉพาะทางตอนเหนือของพม่า สิ่งที่เห็นได้ชัดคือรัฐบาลทหารพม่าได้ประโยชน์จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พบการเชื่อมต่อกันของรายได้ที่มีการหลอกลวง ส่งไปยังกระเป๋าของรัฐบาลมหารพม่าเอง

นอกจากนี้รายงานของตำรวจสากล และ เอฟบีไอของสหรัฐฯ ยังมีการเตือนอย่างสูงถึงการค้ามนุษย์ที่เกิดขึ้นมาก มีการหลอกลวงการจ้างงาน มีการสัมภาษณ์คน ส่งข้ามประเทศไปทำงานในพื้นที่เหล่านั้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้บริษัทจีนไปลงทุนในพม่าเยอะ นำมาซึ่งคนที่ถูกหลอกลวงไปยังพม่าจำนวนไม่น้อยผ่านชายแดนจีนและพม่า การพยายามปราบปรามเกิดขึ้นอย่างมากในปี 2023 จีนใช้คำประนามอย่างแรง เรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าปราบปราม แต่สถิติอาชญากรรมชายแดนจีน-พม่า ก็ไม่ลดลง รัฐบาลจึงพยายามจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องและกดดันไปยังรัฐบาลทหารพม่ามากขึ้น โดยเฉพาะในเดือนตุลาคม จนเกิดปฏิบัติการ 1027 เป้าหมายโดยตรงก็เพื่อการปราบปรามอาชญากรรม แต่ปัญหาอาชญากรรมก็ยังไม่ถูกจัดการอย่างสิ้นเชิง มีการย้ายพื้นที่ก่ออาชญากรรมไปที่อื่น แถมยังขยายใหญ่ขึ้นด้วย มีการสร้างเมืองริมชายแดนเป็นศูนย์ทำการของการหลอกลวงริมชายแดนไทย – พม่า

จะเห็นได้ว่าการปราบปรามอาชญากรรมริมชายแดนไทย พม่า มีพลวัตรสำคัญ เจ้าหน้าที่ไทยมีการให้ความสำคัญมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คนพม่าที่หนีการเกณฑ์ทหารที่เกิดขึ้น ก็อาจทำให้คนเหล่านี้เข้าเป็นเป็นเหยื่อของการหลอกลวงริมชายแดนไทย – พม่า มากขึ้น

ไทยจำเป็นต้องเข้าไปร่วมต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่า เพราะมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นในพม่ามีสูงมากๆ ทั้งการค้ามนุษย์และยาเสพติด หลายๆประเทศกังวงต่อปัญหาที่เกิดขึ้นที่นั่นและพยายามจะหาทางแก้ปัญหา เช่นกรณีทางการไทยที่จะจัดการกับเสาสี่สารริมชายแดนอุปกรณ์ในการสื่อสารของกลุ่มอาชญากรรมข้ามชาติ

ทั้งนี้ ไทยสามารถแก้ปัญหาได้โดยการประเมินก่อนว่า มีการใช้ทรัพยากรใดๆของไทย ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการหลอกลวง สามารถเริ่มจากการตรวจสอบเมืองชายแดนที่มีการก่อสร้างติดพรมแดนไทย จนเป็นศูนย์กลางการหลอกลวง รวมถึงการทำลายเสาสื่อสารริมชายแดน ที่ทำให้แก็งอาชญากรรมดังกล่าว สามารถสื่อสารหลอกลวงไปได้ทั่วโลก

นอกจากนี้ยังต้องแชร์ข้อมูลการสืบสวนกับหน่วยงานระหว่างประเทศต่างๆ การสอบสวนทางการเงินที่จำนวนมาก โยงมาที่กรุงเทพฯ เพื่อร่วมมือกันจัดการปัญหานี้

ทุนไทยไม่ควรลงทุนในกิจการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า

นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในออสเตรเลีย ให้ความเห็นถึงการไหลเวียนของธุรกิิจที่เกื้อหนุนกับระบบรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าอย่างไร โดย เล่าว่า

ก่อนเกิดการรัฐประหาร พม่า มีรายได้จากอุตสาหกรรมพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ ต่อมาถูกรัฐบาลแทรกแซง จนกลายเป็นผู้สนับสนุนเงินให้รัฐบาลทหารพม่าเยอะที่สุด นอกจากนี้รัฐบาลทหารพม่าก็มีช่องทางในการหารายได้จำนวนมาก แม้แต่ระบบโลจิสติกค์ การแลกเปลี่ยนเงิน เหล่านี้ล้วนสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลทหารพม่า

ไทยคือประเทศที่ไปลงทุนมากที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากจีน และสิงคโปร์ หลังตะวันตกถอนการลงทุน ไทยกลับเดินหน้าลงทุนในพม่า เช่น ธุรกิจพลังงานของไทยที่ไปลงทุนในพม่า รวมถึงทุนใหญ่เบียร์ไทยที่ไปลงทุน เสียภาษีมหาศาลให้กับรัฐบาลทหารพม่า มีการสร้างแหล่งผลิตเบียร์แห่งใหม่ สร้างโรงแรม ตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่ารัฐประหาร หลายธุรกิจของทุนใหญ่ก็ยังขยายต่อ

ขณะที่เงินที่ได้ รัฐบาลทหารพม่านำเงินไปลงทุนด้านกลาโหม โดยมีไทยเป็นนักลงทุนเพิ่มมากขึ้นนับตัั้งแต่เกิดการรัฐประหาร ธนาคารของไทยมีสาขาจำนวนมากในเมียนมา ธุรกิจไทยทำอะไรต่างๆได้มากในพม่า การทำธุรกรรมระหว่างประเทศของไทยกับพม่า ควรมีความระมัดระวังมากขึ้น แบบที่สิงคโปร์เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นแล้วในขณะนี้

เรื่องการทำงานในไทย ชาวพม่าชื่นชอบการทำงานในไทย แค่เพียงต้องการที่พักและอาหารการกิน แม้ค่าจ้างจะไม่สูงมากนัก แม้จะต้องเผชิญกับค่าธรรมเนียมต่างๆที่สูงมากก็ตาม

รัฐบาลไทยควรเคารพเจตนารมณ์ของชาวพม่าด้วย โดยเฉพาะคนเจเนเรชั่นใหม่ ต้องการประชาธิปไตย เขาไม่ต้องการเห็นประชาธิปไตยถูกขโมย ธุรกิจต่างๆก็ควรเคารพในสิทธิมนุษยชนในพม่า

ทั้งนี้ส่วนตัวไม่ส่งเสริมการทำธุรกิจในเมียนมาหากเป็นการทำธุรกิจที่ไม่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในพม่า เพราะในสถานการณ์การล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนพม่า ต้องคำนึงว่าการลงทุน ภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ จะไปสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า อีกอย่างคือต้องคำนึงถึงชื่อเสียงขององค์กรในระดับระหว่างประเทศ ภาพลักษณ์ต่อประเด็นระหว่างประเทศด้วย หากจะไปลงทุนในพม่าภายใต้รัฐบาลทหาร