3 ปี รัฐประหารพม่า : เตือนรัฐบาลไทย “กาชาดพม่าคือส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารพม่า”

3 ปี รัฐประหารพม่า
: เตือนรัฐบาลไทย “กาชาดพม่าคือส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารพม่า”

โอกาสครบรอบสามปีการรัฐประหารในพม่า นอกจากความรุนแรงทางการเมือง เกิดการต่อสู้กันอย่างหนักระหว่างฝ่ายรัฐบาลทหารที่กระทำต่อฝ่ายต้าน ซึ่งลุกลามไปยังประชาชนบริสุทธิ์จำนวนมาก ก็เกิดวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมอย่างหนัก

นาย Tom Andrews ผู้รายงานพิเศษยูเอ็นประเด็นเมียนมา กล่าวเรียกร้อง ขอร้องให้รัฐบาลไทยดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในพม่าอย่างเป็นทางการมากขึ้น ประชาคมระหว่างประเทศสามารถทำสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และการรับมือเรื่องสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเมียนมาดีขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากกว่า 19 ล้านคนแล้ว นับตั้งแต่มีการรัฐประหาร โดยขณะนี้มีการช่วยเหลือได้เพียง 2 ล้านคน จาก 12 ล้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร

ส่วนตัวพบด้วยตัวเองกับคนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ อาหารที่ดี น้ำที่สะอาด สาธารณสุขที่ดี กองกำลังต่างๆมุ่งที่จะทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพ มีการฆ่า จับกุมบุคลากรทางการแพทย์ นี่คือความท้าทายสำคัญที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนจากการถูกโจมตีของกองทัพทหารพม่า ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น สองเท่า เมื่อเทียบกับรอบสิบเดือนที่ผ่านมา มีการโจมตีทางอากาศเดือนละ 30 ครั้ง กระทำต่อเด็ก สตรี พลเรือน ไม่มีเงื่อนไขใดๆ อยากโจมตีก็ลงมือเลย ทำให้เกิดผู้พลัดถิ่นจำนวนมาก และต้องเสียชีวิตระหว่างทางอีกไม่น้อย นี่คือสิ่งที่พบเจอมากับตัวเอง

วันนี้กองทัพพม่าคืออุปสรรคสำคัญของการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของชาวพม่าเอง ต้องหยุดยั้งกองทัพพม่า ถ้าไม่หยุดยั้งกองทัพพม่า ความทุกข์ยากของชาวพม่าจะยังอยู่ ต้องใช้เงิน อาวุธ และความชอบธรรมเท่านั้นที่จะหยุดกองทัพพม่า ที่สำคัญคือต้องใช้ความกล้าหาญเท่านั้น ที่จะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับประชาชนชาวพม่าได้

เชื่อว่าประเทศไทยสามารถทำได้ ไทยมีสถานสำคัญต่อปัญหาในพม่า ไทยมีความเสี่ยงอย่างสำคัญต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่า ไทยมีบทบาทสำคัญในการผลักดันในบทบาทต่างๆที่จะทำให้รัฐบาลทหารพม่าทำอะไรในทางที่ถูกต้องมากขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันให้เกิดฉันทามติอาเซียน ที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลทหารพม่า ทั้งนี้เรื่องการค้าอาวุธที่มีมูลค่าสูง ไทยมีบทบาทในเส้นทางการเงิน จึงควรต้องคำถามเรื่องนี้ว่าความคืบหน้าเป็นอย่างไร และไทยควรมีบทบาทในการลดการส่งผ่านอาวุธที่จะส่งไปยังพม่า

ในส่วนชาวพม่าขณะนี้ไร้อนาคต คนที่หนีออกมาจากพม่าต้องไม่ถูกส่งกลับ

อย่าติดต่อโดยตรงกับรัฐบาลทหารพม่า

ขณะที่ เจ้าหน้าที่จาก Fortify Rights องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำงานเพื่อรับรองสิทธิมนุษยชน ให้ความเห็นว่า รัฐบาลทหารพม่าและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการก่อความรุนแรงจะต้องถูกดำเนินคดีอาญา ทั้งการสังหารหมู่ การโจมตีทางอากาศต่อพลเรือน การลงพื้นที่ของเรา มีการเก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ มีอย่างต่อเนื่องเพื่อดำเนินคดีอาชญากรรมสงครามในอนาคต

ขณะที่ผู้ลี้ภัยแม้จะลี้ภัยมาเมืองไทยก็ยังไม่มีความมั่นคง มีการดำเนินเศรษฐกิจมืดที่เจ้าหน้าที่ระดับล่างกระทำกับผู้ลี้ภัย มีการหาประโยชน์ ค้ามนุษย์ที่กระทำกับผู้ที่ลี้ภัย จึงเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยเข้ามาจัดการตรวจสอบ และแก้ปัญหานี้โดยเร็ว รัฐบาลไทยยังอยู่ในจุดที่ดีที่ยังสามารถแก้ปัญหานี้ได้

ไทยมีบทบาทสำคัญมากเรื่องอาวุธ ต้องลด หรือะงับการค้าอาวุธไปยังรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อเสถียรภาพภูมิภาค เสนอให้รัฐบาลไทยให้สัตยาบรรณกับ ICC ด้วย เช่นที่กัมพูชาและ ติมอร์-เลสเต ลงสัตยาบรรณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรม

ด้าน นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยชาวพม่า กล่าวขอร้องให้รัฐบาลไทยอย่าสอบถามความช่วยเหลือใดๆไปยังรัฐบาลทหารพม่า ระบุว่า ไทยมีบทบาทสำคัญมากในการแก้ไขวิกฤติการณ์พม่า ความใจดีของคนไทย เราต้องการความเป็นผู้นำประชาธิปไตยจากประเทศไทย อยากให้ไทยเปลี่ยนเส้นทางการเข้าถึง โดยอย่าติดต่อโดยตรงกับรัฐบาลทหารพม่า แม้แต่กาชาดของพม่าก็เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารพม่า เขาไม่ใช่องค์การที่ประชาคมโลกจะสามารถเชื่อถือได้ นี่คือสาเหตุที่รัฐบาลไทยควรเปลี่ยนวิธีการเข้าไปช่วยเหลือด้านมนุษยชนในพม่า