3 ปี รัฐประหารพม่า : ยิ่งสื่อถูกปิดกั้น “คนพม่า” ยิ่ง หิวกระหาย “ข่าว”

3 ปี รัฐประหารพม่า
: ยิ่งสื่อถูกปิดกั้น “คนพม่า” ยิ่ง หิวกระหาย “ข่าว”

ครบรอบสามปีเหตุการณ์การรัฐประหาร นอกจากผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจที่เกิดวิกฤตอย่างหนักขึ้นในประเทศ ผลกระทบสำคัญอันหนึ่งคือการปิดกั้นต่อสื่อมวลชน หลายคนถูกจับกุมคุมขัง ทำร้ายอย่างรุนแรง จำนวนไม่น้อยต้องหลบหนีออกจากประเทศ

ผู้สื่อข่าวจาก Mizzima สื่อหลักสำนักหนึ่งของชาวพม่า เล่าสถานการณ์ความยากลำบากตลอดสามปีว่า

การรัฐประหารที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการเลือกตั้งที่ส่งเสริมให้ ออง ซาน ซูจี มีอำนาจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เราตัดสินใจที่จะทำงานต่อ แม้จะอยู่อย่างไม่ปลอดภัย ไม่รู้สึกปลอดภัย แม้แต่กรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักถ่ายภาพยนตร์ถูกจำคุกตลอดชีวิต แม้แต่ผู้ร่วมก่อตั้ง Mizzima ก็ถูกจับ

ความท้าทายในการทำงาน ประชาชนชาวพม่ามีความสนใจข่าวเพิ่มมากขึ้่น รัฐบาลทหารพยายามควบคุมข่าวต่างๆ ยิ่งทำให้ประชาชนหิวกระหายข่าว แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็มีความกระตือรือร้นในการรายงานข่าวอย่างมาก แม้จะมีการจำกัดเรื่องพื้นที่ในการทำงานข่าว

นอกจากนี้ความหลากหลายเรื่องเนื้อหาข่าวก็มีมากขึ้น ผู้คนอาจเหนื่อยหน่ายต่อข่าวการต่อสู้ ความขัดแย้ง ก็จำเป็นที่นักข่าวต้องเพิ่มความหลากหลายของเนื้อหา ส่วนข่าวภาษาพม่านั้น ไม่ค่อยมีการรายงานเป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องผลิตเนื้อหาตามระดับความสำคัญเป็นภาษาพม่าและชาติพันธุ์ต่างๆก่อน จึงขาดเนื้อหาด้านภาษาอังกฤษที่จะนำเรื่องราวของพม่าเผยแพร่ไปยังภายนอก จึงต้องเพิ่มความสำคัญการจัดทำข่ารายงานภาษาอังกฤษ

ขณะที่ผู้สื่อข่าวจาก Irrawaddy อีกหนึ่งกระบอกเสียงสำคัญของชาวพม่า เล่าว่า

เป็นการทำงานบนความท้าทายแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน หลังจากที่ทหารทำการรัฐประหารก็จำเป็นต้องหลบซ่อนตัว เราเจอความท้าทายอย่างมาก มินอ่องลาย เข้ามาเปลี่ยนพม่า ทำให้ประเทศนี้กลายเป็นหายนะ แม้พยายามจะอยู่ในพม่านานกว่าหนึ่งปี จึงตัดสินใจหนีออกมา

ผู้ชมหลักๆของสำนักข่าวเราเป็นภาษาพม่า จึงมุ่งรายงานเป็นภาษาพม่ามากกว่ารายงานเป็นภาษาอังกฤษ แต่เนื้อหาภาษาอังกฤษก็ถือว่า เข้มแข็ง การผลักดันประชาชนออกนอกประเทศ ก็ยิ่งเพิ่มความสนใจข่าวสารของประชาชน

สื่อไทยก็เคยถูกปิดกั้น

ยังมีความเห็นจากผู้สื่อข่าวชาวไทยท่านหนึ่งที่สนใจการรายงานข่าวปัญหาเรื่องพม่า ร่วมแสดงความเห็นโอกาสครบรอบสามปี รัฐประหารในพม่า โดย ระบุว่า

ความท้าทายในการรายงานข่าวเกี่ยวกับพม่า จากสิ่งที่สื่อพม่าเจอมาสามปี ก็คล้ายกับสื่อไทยเจอหลังการรับประหารในปี 2557 จากประสบการณ์การทำข่าวที่เกี่ยวกับการกองกำลังชาติพันธุ์ของพม่า ตั้งแต่ก่อนการรัฐประหาร ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งต้องเข้าออกทางช่องทางธรรมชาติ เช่นกรณีการไปทำข่าววันสำคัญของกองกำลังไทยใหญ่ หลังกลับมาก็มีหนังสือจากหน่วยงานรัฐขอให้หยุดการนำเสนอข่าว เพราะเดินทางไปทำข่าวโดยผิดกฏหมาย และอาจจะกระทบความสัมพันธ์กับต่างประเทศ แต่ก็ยังทำข่าวปกติเพราะสถานการณ์เมียนมาในไทย เป็นเรื่องที่คนไทยต้องรู้ ไม่นับคนไทย ยังมีคนพม่าในไทยจำนวนมาก และนักข่าวไทยที่สนใจเรื่องพม่าก็ยังมีน้อย

จากประสบการณ์ส่วนตัวเคยถูกบล็อกเวลาไปรายงานข่าว เช่นการไปรายงานข่าวชาวพม่าหนีการสู้รบทิ้งระเบิดข้ามมาฝั่งไทย จนต้องปลอมตัวอ้อมด่านทหาร หรือการไปรายงานข่าวพบกระสอบข้าวหลายร้อยกระสอบริมแม่น้ำสาระวิน เตรียมส่งไปให้กองทัพพม่า เมื่อตอนไปรายงานข่าวก็ถูกยิงปืนขู่ใส่เป็นต้น ก็หวังว่าในรัฐบางปัจจุบันสถานการณ์จะดีขึ้น

เรื่องรายงานข่าวเชิงนโยบายสามารถรายงานได้ แต่ในหลายประเด็นเช่นกรณีปัญหาแก็งคอลเซ็นเตอร์ ที่เคยถูกห้ามไม่ให้รายงานข่าวในบางกรณี