เรื่องที่อาจไม่มีใครรู้มาก่อน..? “พล.อ.อ.สมบุญ” ตำนานชุดขาวรอเก้อที่ถูกกำหนดโดย “แผนในใจ”

พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เป็นบุคคลสำคัญในตำนานการเมืองไทย

เส้นทางการเมืองเป็นอดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคประชากรไทย เดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย ต่อจาก พล.อ.ชาติชาย ซุณหะวัณ ที่ลาออกหลังรัฐประหารเมื่อปี 2535 เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตรองนายกรัฐมนตรี

ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535 และ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเวลานั้น พล.อ.อ.สมบุญ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคาดการว่าจะได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน

แต่ก็พลิกผันไป เมื่อนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำชื่อ นายอานันท์ ปันยารซุน อตีตนายกรัฐมนตรีกลับมารับตำแหน่งแทน

นี่คือข้อมูลที่คนส่วนใหญ่รับรู้…

แต่พล.อ.อ.สมบุญ ได้บอกเล่าเรื่องนี้ในหนังสือ “ฉะ แฉ ฉาว นักการเมืองไทย” ว่าการไม่ได้เป็นนายกฯ นั้นไม่ใช่ “อุบัติเหตุทางการเมือง”

แต่ทุกอย่างถูกกำหนดโดย “แผนในใจ” ของเขามาโดยดลอด…?

การไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เรื่องผิดความคาดหมาย แต่เป็นเหตุการณ์ที่เขา “วางพล็อตเรื่อง” เอาไว้ทั้งหมด..

พล.อ.อ.สมนูญ ถูกทาบทามให้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติไทย โดยแกนนำระดับ “บิ๊ก” พรรคชาติไทย 3 คนสมัยนั้นขึ้นไปหาบนเครื่องบิน หลังจากที่บินกลับมาจากประเทศจีน โดยมีกองทัพนักข่าวมารอดักสัมภาษณ์ที่สนามบินดอนเมือง

“ผมคิดว่าเมื่อกลับมาถึง ผมจะตอบว่าไม่รับตำแหน่ง แต่ยังไม่ทันจะลงเครื่อง ก็มีผู้ใหญ่ของพรรคขึ้นมาหาบนเครื่องแล้วขอร้องผมว่า อย่าเพิ่งปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง เพราะถ้าตอบไม่รับจะยุ่ง เนื่องจากข่าวออกไปทั่วแล้วว่าเลือกผมเป็นหัวหน้าพรรค

ผมบอกไปว่าไม่ได้ แต่เขาก็บอกอย่าเพิ่งปฏิเสธได้ไหม เพื่อให้หาเหตุผลที่ดีกว่านี้ก่อนผมก็ตกลง”

ทันทีที่ลงจากเครื่อง เขาให้สัมภาษณ์แบ่งรับแบ่งสู้โดยบอกเพียงว่า ขอหารือกับ “ผู้ใหญ่” ที่นับถือก่อนตัดสินใจ

ผู้ใหญ่ที่ พล.อ.อ.สมบุญ เข้าพบเพื่อหารือในการทำหนดชะตาชีวิตบนเส้นทางการเมือง มี
ทั้ง พล.อ.สายหยุด เกิดผล, ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน, ดร.มีชัย ฤชุพันธุ์ ฯลฯ

แต่ “คำตอบ” ที่ได้รับก็คือผู้ใหญ่ทุกคนสนับสนุนให้ พล.อ.อ.สมบุญ เดินสู่ถนนสายการเมือง

คำตอบดังกล่าว “ค้าน” กับความรู้สึกในใจ..ทำให้เขานึกถึงผู้ใหญ่อีกคนที่เคารพและนับถือ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี

เหตุที่นึกถึง พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เพราะวลีที่ว่า “ทหารอย่ามายุ่งการเมือง” ทำให้เชื่อมั่นว่าจะได้รับการ “คัดค้าน” ไม่ให้กระโดดลงสู่ปักโคลนทางการเมือง

“ไปพบท่านที่บ้านพักซอยสวนพลู และคิดว่าท่านจะตอบว่าไม่ให้ผมเล่น เพราะท่านไม่ชอบทหารเพราะคอยปฏิวัติอยู่เรื่อย”

คำตอบ…ที่ได้รับ..

“คุณสมบุญถึงเวลาแล้วคุณต้องช่วยชาติ ผมอยากจะให้คุณเป็น แล้วเอาอย่างนี้ผมจะยกพรรคกิจสังคมให้คุณ เพื่อให้คุณใหญ่เป็นนายกฯไปเลย”

ข้อเสนอของ พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ทำให้ พล.อ.อ.สมบุญ ถึงกับตกใจ..?

“ผมมาพบต้องการให้ท่านห้ามไว้ เพื่อเป็นข้ออ้างกับพรรคชาติไทยว่าท่านไม่เห็นด้วย แต่ท่านบอกว่าถึงเวลาแล้ว ในที่สุดผมที่ตัดสินใจรับตำแหน่ง แต่มีข้อแม้อีกว่าขอเป็นหัวหน้าพรรคแค่สมัยเดียว”

เหตุผลที่ “บรรหาร ศิลปอาชา” และ “เสนาะเทียนทอง” แกนนำสำคัญของ พรรคชาติไทยสมัยนั้นเลือก พล.อ.อ.สมบุญเป็นหัวหน้าพรรค ส่วนหนึ่ง มีกระแสข่าวลือว่านำจะมาจากการให้มีส่วนช่วยเจรจากับสภารักษาความสงบเรียบ ร้อยแห่งชาติ (รสช.) เกี่ยวกับการ “ยึดทรัพย์” ของนักการเมือง

พล.อ.อ.สมบุญ คือ “มือประสานสิบทิศ” ที่คอยเชื่อมต่อระหว่างนักการเมืองกับคณะรสช.สมัยนั้นได้อย่างกลมกลืน

ถือเป็นความ “ชาญฉลาด” ของพรรคชาติไทยที่ดึง พล.อ.อ.สมบุญ ขึ้นมานั่งเป็นหัวหน้าพรรค

ด้วยข้อแม้ที่ว่า “จะไม่เป็นนายกฯ” ทำให้ พล.อ.อ.สมบุญประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งปี 2535/1 เพราะรู้อยู่เต็มอกว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.

ณรงค์ วงศ์วรรณ

พร้อมกันนั้นเขายังได้วางตัว “ณรงค์ วงศ์วรรณ” หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมสมัยนั้น ขึ้นเป็นนายกฯด้วย

“ก่อนที่ผมจะเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทย ก็ได้ช่วยกันก่อตั้งพรรคสามัคดีธรรมขึ้น โดยมีเลขาฯผม 3 คนคือ พินิจ จันทรสุรินทร์, สมพงษ์ อมรวิวัฒน์, สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ จัดการเรื่อง ส.ส.เข้าพรรค และเชิญพี่ณรงค์มาเป็นหัวหน้าพรรค พี่ณรงค์ถามผมว่าทำไมไม่เป็นเองล่ะ ผมบอกไปว่าอยากให้พี่เป็น นายกฯ คนอย่างผมเป็นทหารพูดคำไหนคำนั้นพี่มี ส.ส. 60 คน ตัวดังๆ ทั้งนั้น ที่สุดก็รับปาก”

เป็นอันว่า “แผน” ที่วางไว้เป็นไปตามล็อค เขาเพียงประกาศไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งทุกอย่างก็จบ

แต่…เมื่อใกล้วันรับสมัครรับเลือกตั้งเพียง 10 วัน บรรดาผู้สมัครตัวเต็งหลายคนลุกขึ้นกดดันให้เขาลงสมัคร โดยให้เหตุผลว่า “ถ้าหัวหน้าไม่ลง ผู้สมัครจะสอบตกหมด”

ในที่สุดเขาจึงยอมลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เป็น ครั้งแรกที่ จ.สมุทรปราการ เมื่อปี 2535/1

“แต่ผมก็ยื่นข้อเสนอว่า จะต้องให้พรรคสามัคคีธรรมเป็นที่หนึ่ง พร้อมขอให้ผู้สมัครชื่อดังของพรรศชาติไทยประมาณ 10 คนย้ายไปอยู่กับพรรคสามัคคีธรรม ท่านเสนาะก็รู้สึกหงุดหงิดว่าทำไมผมต้องทำแบบนี้แต่ก็ต้องยอมด้วยเงื่อนไขของผม”

ผลการเลือกตั้ง ส.ส. 2535/1 พรรคสามัคคีธรรมชนะอันดับหนึ่ง 76 ที่นั่ง ตามด้วยชาติไทย 74 ที่นั่ง

แผนขั้นที่ 1 ประสบความสำเร็จ…

พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล

หลังการเลือกตั้งพรรคสามัคคีธรรมได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล แต่เหตุการณ์พลิกผันเมื่อ “ณรงค์ วงศ์วรรณ” ถูกคัดคำนเนื่องด้วยข้อครหาติดบัญชีดำห้ามเข้าสหรัฐอเมริกา

เรื่องใหญ่..

“เรื่องใหญ่ เรื่องยาว วันที่ประกาศให้พี่ณรงค์เป็นนายกฯ เจอตูมเดียวเสร็จเลย ทุกคนเอาอีกแล้ว มารุมผมให้เป็นนายกฯในฐานะหัวหน้าพรรคที่สองแกนนำพรรคชาติไทย สามัคคีธรรมประชุมกันหลายครั้งทั้งที่เรือนรับรองกองทัพอากาศ ใช้เวลานานเป็นสัปดาห์”

ระหว่างนี้ ทั้ง พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. พล.อ.สุจินตา คราประยูร ผบ.ทบ. และ ผบ.สส. รวมทั้งทุกฝ่ายเรียกเขาไปคุย แต่ตกลงกันไม่ได้

“สุดท้ายผมเข้าไปคุยกับ พล.อ.อ.เกษตร โดยบอกท่านไปว่าถ้าเป็นเท่ากับเห็นแก่ตัว ถ้ารับ ผมไม่สมาร์ท คนจะหาว่าทำเพื่อตัวเอง เพราะที่ผ่านมาก็ให้สัมภาษณ์สื่อ ปราศรัยหาเสียงบนเวทีว่าไม่เป็นนายกฯ แล้วผมจะไปรับทำไม”

ไม้ตายสุดท้ายของเขาก็คือ อ้อนวอนให้ พล.อ.อ.เกษตรขึ้นเป็นนายกฯ ซึ่งก็ดูเหมือนทุกอย่างจะราบรื่นเพราะ พล.อ.อ.เกษตร ตอบตกลง

“แต่ก่อนจะจากกัน พล.อ.อ.เกษตร พูดขึ้นมาคำหนึ่งว่า เออ..เอาอย่างนี้ตึกว่า เย็นนี้ไปถามสุจินดา ก่อนว่าจะรับตำแหน่งได้หรือไม่ ถ้าไม่รับก็จบ ตอนเย็น พล.อ.อ.เกษตรก็ไปถาม ผมไม่ได้ไปด้วย พล.อ.สุจินดา เกิดรับขึ้นมา”

รุ่งเช้า พล.อ.อ.เกษตร โทร.มาแจ้งผลให้ทราบ..!!

สิ่งที่ทำต่อไปคือ หัวหน้าพรรคการเมืองต้องลงชื่อเห็นชอบ ประกอบด้วย พรรคสามัคคีธรรม ชาติไทย กิจสังคม มวลชน ราษฎร และประชากรไทย

ด้วยความเป็น “มือประสานสิบทิศ” ทุกอย่างจึงถูกปลดล็อดด้วยความง่ายดาย

เรื่องไม่ได้จบลงง่ายๆ อย่างที่ พล.อ.อ.สมบุญ คาด เมื่อประชาชนลุกฮือประท้วง พล.อ.สุจินดา ที่เคยรับปากไม่รับตำแหน่งนายกฯ เสมือนเป็นการสืบทอดอำนาจ รสช. จนกลายเป็นชนวนเหตุแห่งพฤษภาทมิฬ

กระทั่งหลังเหตุการณ์ล้มเผด็จการ รสช.ผ่านพ้น พล.อ.สุจินดาประกาศลาออก..

หลังเรื่องจบ มีการเรียกประชุมกันที่กองทัพภาคที่ 1 มี พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี และทหารอีก 4-5คน พร้อมด้วยฝ่ายการเมือง อาทิ บรรหาร, เสนาะ, สมัคร สุนทรเวช, มนตรี พงษ์พานิช ทั้งหมดประชุมกันก่อนที่จะเชิญ พล.อ.อ.สมบุญ เข้ามา

“ผมมาถึงเขาก็นั่งกันเต็มไปหมด บอกผมว่าทุกคนลงมติให้ท่านเป็นนายกฯ ผมก็ยืนยันไม่เป็น ผมก็เสนอชื่อคนโน้นคนนี้ แต่ทุกคนติดปัญหาแบบเดียวกันหมด”

“เมื่อดูเหมือนไม่มีทางออก ท่านเสนาะก็พูดขึ้นมาด้วยน้ำเสียงมีอารมณ์ว่า พี่สมบุญ ไอ้เกิดเรื่องคราวนี้ก็เพราะพี่นะ ถ้าพี่รับเป็นนายกฯ ซะตั้งแต่ตอนนั้นก็ไม่เกิดเรื่อง พี่ไม่ยอมรับมันจึงเกิดเรื่อง
เพราะฉะนั้นคราวนี้พี่ปฏิเสธไม่ได้ ลูกผู้ชาย พี่ไปกราบพระแล้วต้องรับปากจะไม่กลับคำ”

 

แม้จะถูกกดดันอย่างหนัก แต่ พล.อ.อ.สมบุญก็ยังเลี่ยงที่จะขอกลับไปคิด และจะให้ดำตอบภายหลัง..!

ระหว่างใช้เวลาขบคิดอยู่นั้น..ทั้งฝ่ายทหารและการเมืองก็มีความเห็นสอดคล้องกันว่า พล.อ.อ.สมบุญต้องเป็นนายกฯ

แล้วมันเกิดอะไรขึ้น..ทำไมไม่มีชื่อสมบุญอยู่ในสารบบของนายกรัฐมนตรีเมืองไทย..

พล.อ.อ.สมบุญ ยืนยันด้วยน้ำเสียงหนักแน่นอีกครั้งว่า การพลาดจากเก้าอี้นายกฯ ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมือง แต่มันเป็นความจงใจ

“ก่อนวันลงมติต่อที่ประชุมสภาเพื่อเลือกนายกฯประมาณ 2-3 สัปตาห์ ผมเดินทางไปพบ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่บ้านพักซอย ยืนยันดำเดิมว่าไม่รับตำแหน่ง พร้อมบอกให้ท่านไป
ยราชครู ก็ยังจัดการหานายกฯ ส่วนผมจะหลบ เก็บตัวเงียบ”

ถึงตรงนี้ พล.อ.อ.สมบุญ บอกว่า คนไม่รู้ความจริง สำหรับเขาพอเห็นว่าเรียบร้อย ก็เก็บตัวเงียบ และก็รู้ว่าจะไม่เป็นนายกฯ กระทั่งวันโปรดเกล้าฯ

เขาทำตัวสบายๆ นุ่งทางเกงขาสั้นในชุดลำลองอยู่ที่บ้านพัก

“ใจหนึ่งก็คิดว่า พล.อ.ชาติชาย จะทำสำเร็จ เพราะตอนนั้นทุกคนยังสงสัยจากข่าวที่ออกมา 2 กระแสว่า ได้เป็น กับ ไม่ได้เป็น ที่สำคัญสภาลงมติให้ผมเป็นนายกฯแล้ว..”

“ผมรู้ว่านายกฯ คนใหม่ไม่ใช่ผม แต่ชื่อคนที่จะมาเป็นก็ไม่รู้ เพียงเดาได้จากที่ พล.อ.ชาติชายเชิญมากินข้าวว่ามีใคร 4-5 คน เข้าใจว่าเป็นหนึ่งในนั้น”

ดูเหมือนคำพูดของ พล.อ.อ.สมบุญ จะเป็นเรื่องที่ ไม่เคยมีใครรับรู้มาก่อน..?

“ตอนนั้นผมรอว่าจะเปลี่ยน (ชื่อนายกฯ) สำเร็จ หรือไม่สำเร็จ เพราะขั้นตอนจากสภาไปเข้าเฝ้าฯในหลวง ระหว่างทางจะเปลี่ยนได้หรือไม่ แต่ผมมาแต่งชุดขาวก็เกือบทุ่มหนึ่ง (วันที่ 10 มิถุนายน
2535) เพราะอาจารย์ธรรมนูญ (ลัดพลี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร.มาบอกให้แต่งตัวเตรียมรับพระบรมราชโองการ เพราะคำสั่งมาแล้ว”

“ตอนจะขึ้นไปแต่งตัวภรรยายังถามว่าจะแต่งตัวทำไม ผมบอกเห็นอาจารย์ธรรมนูญเขาว่าคำสั่งมาแล้ว ภรรยาก็ถามว่าไหนบอกไม่เป็น ผมก็บอกไม่เป็น แต่เกิดเขาบังคับล่ะ ภรรยากถามอีกว่าพี่เชื่อได้อย่างไร ผมก็บอกว่าก็ไม่รู้ ก็เลยต้องแต่งตัวชุดขาวลงมา”

 

พอแต่งตัวลงมา..ก็มีโทรศัพท์จาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น แจ้งข่าว…

“ท่านก็โทร.เข้ามาบอกขอโทษด้วยนะที่ต้องทำอย่างนี้ ผมบอกไม่เป็นไร ตามสบาย ไม่มีปัญหา รู้เหตุผลอยู่แล้ว”

ขณะที่ฝ่ายการเมืงอย่าง “บรรหาร” และ “เสนาะ” ที่มารอพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ปรับอารมณ์แทบไม่ทัน

“เมื่อเรื่องจบ คนอื่นตกใจ แต่ผมหัวเราะ เหมือนยกภูเขาออกจากอก คืนนั้นนอนหลับสบายเลย เช้าผม ก็ไปประชุมสภาตามปกติ รู้สึกว่ามันหมดเวรแล้ว”

 

 

ซื้อ E-book ได้ที่นี่