E-DUANG : “ใจ” ที่เป็น “ก้อนเนื้อ” ของ “ทหาร”

หากมองกรณีมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ย้ายอธิบดีกรม การจัดหางานออกจากตำแหน่ง

เหมือนกับเป็นเรื่องเล็ก-เล็ก

ไม่ว่าจะมองผ่านตำแหน่ง “อธิบดี” ไม่ว่าจะมองผ่านสถานะและบทบาทของ “กระทรวง”

กรณีนี้ไม่น่าจะเป็น “เรื่องใหญ่”

แต่พลันที่ “ใบลา” ของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ไปถึงทำเนียบรัฐบาล พร้อม-พร้อมกับใบลาของ พล.อ.เจริญ นพสุวรรณ

“เรื่องเล็ก” ก็อึกทึก ครึกโครม

ยิ่งหากมองจากด้านของ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล มองจากด้านของ พล.อ.เจริญ นพสุวรรณ ยิ่งไม่ธรรมดา

นี่คือ ปัญหาในเชิง “บริหารจัดการ”

 

ประเด็นของอธิบดีกรมการจัดหางาน กับ ประเด็นของรัฐมนตรีว่า การกระทรวงแรงงาน

สะท้อน “เอกภาพ” และ “ความสัมพันธ์”

1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นคนเลือกและแต่งตั้งอธิบดีกรมการจัดหางานด้วยมือของตนเอง

แสดงว่า เชื่อมั่น และไว้วางใจ

ขณะเดียวกัน 1 พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานจากความไว้วางใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอ ชา ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.

คำสั่งย้ายอธิบดีกรมการจัดหางานมาจากหัวหน้าคสช.โดยอาศัยมาตรา 44

เป็นไปโดย “รัฐมนตรี” ไม่เคย “ระแคะระคาย”

 

มองจากสายสัมพันธ์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกับนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.

ย่อมมากด้วยความละเอียดอ่อน

เป็นความละเอียดอ่อนเพราะว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ก็มิได้เป็นอื่นไกล

หากแต่มีพื้นฐานมาจาก “ทหาร”

ทหารนั้นมักยึดกุมหลักการที่ว่า “ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน” ไม่ว่าจะเป็นยุค พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ไม่ว่าจะเป็นยุค พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

ยึดกุมความเป็น “เลือดสุพรรณ” มั่นคง