ก้าวข้าม ‘พรมแดนภาษา’ ด้วย Esperanto/บทความพิเศษ

บทความพิเศษ

จักรกฤษณ์ สิริริน

 

ก้าวข้าม ‘พรมแดนภาษา’

ด้วย Esperanto

 

Imagine there’s no heaven

It’s easy if you try

No hell below us

Above us, only sky

Imagine all the people

Livin’ for today

Ah

Imagine there’s no countries

It isn’t hard to do

Nothing to kill or die for

And no religion, too

Imagine all the people

Livin’ life in peace

You

You may say I’m a dreamer

But I’m not the only one

I hope someday you’ll join us

And the world will be as one

Imagine no possessions

I wonder if you can

No need for greed or hunger

A brotherhood of man

Imagine all the people

Sharing all the world

You

You may say I’m a dreamer

But I’m not the only one

I hope someday you’ll join us

And the world will live as one

บทเพลง Imagine ของ John Lennon มีท่อนหนึ่งซึ่งน่าสนใจ เพราะพูดถึงการ “ก้าวข้ามเส้นพรมแดน”

Imagine there’s no countries

It isn’t hard to do

Nothing to kill or die for

And no religion, too

เมื่อไม่มีเส้นพรมแดน ก็ไม่มีการเข่นฆ่าเพื่อรักษามัน!

มีแนวคิดหนึ่งซึ่งน่าสนใจในประเด็นการ “ก้าวข้ามเส้นพรมแดน”

นั่นคือ การเกิดขึ้นของภาษา Esperanto ที่มีความตั้งใจให้เป็น “ภาษาของโลก”

 

ย้อนกลับไปดูรากฐานประวัติศาสตร์ของภาษา เป็นที่ทราบกันดีในหมู่นักภาษาศาสตร์ ว่าโลกใบนี้ มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก มากถึง 7,000 ภาษา!

เรียงลำดับ Top 10 ภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลก ตามลำดับ 1-10 ดังนี้

อันดับ 1 “ภาษาจีนกลาง” ประมาณ 1,000 ล้านคน

อันดับ 2 “ภาษาสเปน” ประมาณ 350 ล้านคน

อันดับ 3 “ภาษาอังกฤษ” ประมาณ 300 ล้านคน

อันดับ 4 “ภาษาอาหรับ” ประมาณ 200 ล้านคน

อันดับ 5 “ภาษาฮินดี” ประมาณ 180 ล้านคน

อันดับ 6 “ภาษาโปรตุเกส” ประมาณ 175 ล้านคน

อันดับ 7 “ภาษาเบงกอล” ประมาณ 170 ล้านคน

อันดับ 8 “ภาษารัสเซีย” ประมาณ 150 ล้านคน

อันดับ 9 “ภาษาญี่ปุ่น” ประมาณ 120 ล้านคน

อันดับ 10 “ภาษาเยอรมัน” ประมาณ 100 ล้านคน

นอกจากภาษาระดับ Top 10 ประเด็น “ความหลากหลายทางภาษา” อันหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจก็คือ “ภาษาฮินดี” ที่ “คนอินเดีย” ใช้พูดกันเป็นภาษาราชการ ควบคู่กับ “ภาษาอังกฤษ”

ที่แม้นอกประเทศ “ภาษาฮินดี” จะไม่ Popular เหมือนภาษาระดับ Top 10 แต่ก็มีผู้พูด “ภาษาฮินดี” ภายในชาติมากพอ เนื่องจาก “อินเดีย” มีประชากรมากรองจาก “จีน”

และแม้ “อินเดีย” จะใช้ “ภาษาฮินดี” เป็นภาษาราชการควบคู่กับ “ภาษาอังกฤษ” ทว่า “อินเดีย” มีภาษาอื่นๆ อีกอย่างน้อย 850 ภาษา

เช่น “ภาษาเบงกอล” ในรัฐเบงกอลตะวันตก รวมถึงในบังกลาเทศ และรัฐตริปุระ รวมผู้พูดประมาณ 170 ล้านคน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐอัสสัม มีภาษาพูดนับ 100 ภาษา

แต่ถ้าจะพูดถึงชาติที่มีภาษาใช้มากที่สุด คงต้องยกให้ “ปาปัวนิวกินี” ซึ่งเป็นประเทศที่มีภาษาพื้นเมืองที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากถึง 700 ภาษา

 

I magine no possessions

I wonder if you can

No need for greed or hunger

A brotherhood of man

หากย้อนกลับไปดูเนื้อเพลง Imagine ของ John Lennon การก้าวข้าม “พรมแดนรัฐชาติ” เป็น “จิตนาการของนักฝัน” โดยแท้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พรมแดนด้านภาษา” ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ในหลายๆ ครั้ง “พรมแดนด้านภาษา” เป็นมิติหนึ่งซึ่งสร้างปมปัญหาความขัดแย้ง

ไม่ต้องยกตัวอย่างไกลถึงต่างแดน ต่างชาติ ต่างภาษา หรือต่างทวีปแบบไกลโพ้น

ใครที่เคยอยู่ในวงล้อมคนต่างภาษา ไม่ต้องไปไกลมาก แค่ภาษาเหนือ ภาษาใต้ ของไทยเราเองนี่แหละ

ใครที่เคยอยู่ในสถานการณ์ที่คนรอบๆ พูดภาษาถิ่น พูดข้ามหัวเราผู้ซึ่งมาจากต่างถิ่น เชื่อได้เลยว่า ความรู้สึกเราจะแย่ในทันที

Ludvic Lazarus Zamenhof นักภาษาศาสตร์ชาว Poland จึงคิดค้นภาษา Esperanto ขึ้น หมายให้เป็น “ภาษากลางของโลก” หรือ World Language

มุ่งหวังให้มวลมนุษยชาติร่วมโลกเดียวกัน สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่มี “กำแพงภาษา”

 

Zamenhof คิดค้นภาษา Esperanto ขึ้นราวปลายคริสต์ทศวรรษ 1870 จนถึงประมาณต้นคริสต์ทศวรรษ 1880 รวมช่วงเวลาในการพัฒนาภาษา Esperanto กว่า 10 ปีด้วยกัน

โดย Zamenhof กล่าวว่า เขาต้องการให้ภาษา Esperanto เป็น “ภาษาของโลก”

ตราบจนกระทั่งปัจจุบัน มีผู้ใช้ภาษา Esperanto รวมแล้วประมาณ 2 ล้านคนด้วยกัน

ซึ่งหากพูดถึงปณิธานที่ Zamenhof ตั้งใจจะให้ภาษา Esperanto เป็น “ภาษากลางของโลก” แล้ว ก็นับว่า 2 ล้านคนนั้น “น้อยมาก”

แต่ถ้าเอ่ยถึงจำนวนผู้สืบทอดภาษา Esperanto นับจากอดีตตั้งต้นของภาษา Esperanto ที่มีผู้ใช้ราว 2,000 คน ก็ต้องถือว่า “มากพอสมควร”

ตามความมุ่งมาดปรารถนาเดิมของ Zamenhof ที่ต้องการให้ภาษา Esperanto ไม่ใช่ “ภาษาทางการ” ของ “ชาติใดชาติหนึ่ง” หรือ “ประเทศใดประเทศหนึ่ง”

แต่มีวัตถุประสงค์ให้มีผู้ใช้ภาษา Esperanto ในหลากชาติหลายประเทศ

 

Zamenhof เกิดที่เมือง Bialystok เมื่อครั้งยังอยู่ในการครอบครองของ Russia (ปัจจุบันอยู่ในประเทศ Poland) คุณพ่อคุณแม่ของ Zamenhof มีเชื้อสาย Lithuanian Jews

เมือง Bialystok มี 3 ชนเผ่าใหญ่ๆ คือ Poland, Belarus และกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือกลุ่ม “ชาวยิว” ที่พูด “ภาษายิดดิช”

ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนี้ มีวิวาทะบาดหมางในเรื่องเชื้อชาติกันอยู่เสมอ

Zamenhof คิดตั้งแต่เด็ก ว่าความเกลียดชังระหว่างกันนี้ คือความไม่เข้าใจ ที่เกิดจาก “กำแพงภาษา” ที่แตกต่างกัน

ตอนที่เป็นนักเรียนมัธยม Zamenhof จึงพยายามสร้าง “ภาษานานาชาติ” ขึ้น ด้วยไวยากรณ์ที่มากและซับซ้อน

ทว่า เมื่อเขาได้เล่าเรียน “ภาษาอังกฤษ” Zamenhof จึงตกผลึกว่า “ภาษานานาชาติ” ควรมีไวยากรณ์ที่ง่ายที่สุด

ในปี ค.ศ.1878 Zamenhof ได้ก่อตั้งโครงการ “ภาษานานาชาติ” หรือ Lingwe Uniwersala ขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง หากเขายังเด็กเกินไปที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ

Zamenhof จึงเข้าศึกษาต่อในด้านจักษุแพทย์ จนจบการศึกษาเมื่อ ค.ศ.1885 และได้ทำงานเป็นด้านจักษุแพทย์

โดยในระหว่างทำงานรักษาคนไข้ Zamenhof ได้สานต่อ โครงการ “ภาษานานาชาติ” ไปด้วย

ปี ค.ศ.1909 หนังสือภาษารัสเซียคู่กับภาษา Esperanto ของ Zamenhof ก็ได้รับการตีพิมพ์เป็นผลสำเร็จ!

2 ปีต่อมา คือ ค.ศ.1911 เขาเริ่มเขียนอนุสารว่าด้วยภาษา Esperanto ของเขา โดยได้รับทุนอุดหนุนจากพ่อตาจนสำเร็จ

เป็นหนังสือชื่อว่า “ตำราเรียน Esperanto ภาษานานาชาติฉบับสมบูรณ์”

ภายใต้นามปากกา Doktoro Esperanto (แปลว่า Doctor Hopeful นายแพทย์แห่งความหวัง) ซึ่งต่อมากลายเป็นชื่อของภาษา Esperanto

ที่ Zamenhof มิได้หวังแค่ว่า จะให้ภาษา Esperanto นี้เป็น “เครื่องมือสื่อภาษา” เท่านั้น

แต่เขายังมุ่งมาดปรารถนา ที่จะเผยแพร่แนวคิดในการ “อยู่ร่วมกันโดยสันติ” ในระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันทาง “ภาษา” และ “วัฒนธรรม”

ดังเห็นได้จากการทุ่มเทแปลหนังสือจำนวนมากเป็นภาษา Esperanto

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คัมภีร์ไบเบิลฮีบรู” หรือ “คัมภีร์พันธสัญญาเดิม” (Old Testament)

 

ภาษา Esperanto ใช้ “ตัวอักษรละติน” ที่ประกอบด้วยตัวอักษรเหมือน “ภาษาอังกฤษ” ซึ่งมีรูปทั้ง “ตัวพิมพ์ใหญ่” และ “ตัวพิมพ์เล็ก” แต่ไม่มี Q, W, X และ Y

และบนตัวอักษรบางตัวมีเครื่องหมายพิเศษคือ ?, ?, ?, ?, ? และ ?

Zamenhof ถึงแก่กรรมในกรุง Warsaw วอร์ซอว์ เมื่อปี ค.ศ.1917 ในวัย 58 ปี

You may say I’m a dreamer

But I’m not the only one

I hope someday you’ll join us

And the world will live as one

ดูเหมือน Ludvic Lazarus Zamenhof จะคล้ายกับ John Lennon ตรงที่ ทั้งคู่เป็น “นักฝัน”