รายงานพิเศษ /โชคชัย บุณยะกลัมพ/ตำรวจสเปน ใช้ปัญญาประดิษฐ์ ตรวจจับแจ้งความเท็จ

รายงานพิเศษ /โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

 

ตำรวจสเปน

ใช้ปัญญาประดิษฐ์

ตรวจจับแจ้งความเท็จ

 

ปัญหาสังคมและอาชญากรรมไม่มีวิธีใดที่จะเข้าใจหรือจับได้เลยว่ามีใครกำลังพูดโกหกด้วยวาจากับเราหรือไม่

แต่นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเครื่องมือที่มีการตรวจจับความถูกต้องอย่างน่าทึ่งในการตัดสินว่ามีการพูดเท็จในการเรียนรู้ด้วยเครื่องและการวิเคราะห์ข้อความรายงานที่ช่วยให้พวกเขาสามารถระบุถึงรายงานการเท็จที่ผิดพลาดได้อย่างแม่นยำ

เครื่องมือนี้ถูกนำไปใช้กับสถานีตำรวจในประเทศสเปน เป็น AI ที่สามารถเปิดเผยข้อเท็จจริงของการเรียกร้องสินไหมปลอม เพื่อวัตถุประสงค์ในการขอรับค่าสินไหมทดแทนจากประกันโดยไม่ต้องเสียเวลาตำรวจ

หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฎหมายทั่วประเทศของสเปนได้ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีความสามารถในการเปิดเผยข้อมูล การเป็นโจทก์ปลอมและการแจ้งความเท็จ เกิดเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจในด้านเทคโนโดยปัญญาประดิษฐ์ขึ้นมา

นักวิจัยจาก Cardiff University และ Charles III University of Madrid ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า VeriPol โดยเฉพาะเพื่อให้ความสำคัญกับรายงานการแจ้งความเท็จ

บทความของพวกเขาซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Knowledge-Based Systems ระบุว่า สิ่งที่ออกแบบมานั้นเพื่อจับคำให้เท็จเรื่องการลักขโมย โดยได้เอา machine-learning มาเรียนรู้คำร้องแจ้งความและบันทึกประจำวันจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติของสเปน ซึ่งในนั้นจะมีคำให้การเท็จสำนวนต่างๆ รวมอยู่ด้วย

ปรากฏว่านักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ VeriPol สามารถระบุรายงานการโจรกรรมเท็จได้ “ด้วยความแม่นยำมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์”

 

ผลจากโครงการทดสอบในเมือง Murcia และ Malaga เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 พบว่า VeriPol สามารถระบุคำแจ้งความที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นเท็จได้ในอัตราที่สูงมาก และ 83% ของคดีที่ถูก AI ระบุมานั้นสามารถปิดคดีได้ถึง 83% หลังจากที่มีการสอบปากคำเพิ่มเติม

เฉลี่ยแล้วใน 1 สัปดาห์ ปัญญาประดิษฐ์สามารถตรวจสอบคำแจ้งความเท็จได้ถึง 64 คดี

การแจ้งความเท็จ โดยปกติเป็นความผิดทางคดีอาญาอยู่แล้ว เมื่อพูดถึงปัญหาคดีต่างๆ ที่มีการแจ้งความเท็จ เช่น การแจ้งความเท็จเพื่อการเรียกร้องเอาประกันภัยเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากนโยบายในการบังคับใช้กฎหมายมักทำให้เกิดเรื่องยุ่งยาก และอาจเป็นการยากที่จะพิสูจน์คำพูดที่น่าสงสัย ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาด รวมทั้งเสียเวลาและทรัพยากรที่จะตรวจสอบ

ตำรวจทั่วสเปนเริ่มมีการนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้เพื่อตรวจสอบคำให้การที่เป็นข้อความว่าเป็นจริงเท็จเช่นไร

โดยระบบดังกล่าวเป็นผลงานเพิ่งตีพิมพ์ปีนี้ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cardiff จากสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัย Charles ในกรุงมาดริด ที่สอนอัลกอริธึ่ม machine learning ให้จับโกหกในคำให้การที่ถูกเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรได้

เครื่องมือ AI สามารถวิเคราะห์คำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อรับรู้รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับข้อความเท็จ เช่น ชนิดของสินค้าที่ถูกกล่าวหาว่าถูกโจรกรรม คำอธิบายของผู้ลักทรัพย์และรายละเอียดปลีกย่อยของเหตุการณ์ดังกล่าว

 

ตัว VeriPol นั้นทำงานด้วยการใช้อัลกอรึธึ่ม ช่วยระบุองค์ประกอบต่างๆ ในคำให้การ เช่น คำเชื่อม กริยา การเว้นวรรค จากนั้นก็เทียบกับฐานข้อมูลคำให้การเท็จ

ในคดีลักทรัพย์นั้นคำให้การเท็จมักจะใช้ประโยคที่สั้น เน้นเรื่องข้าวของที่ถูกขโมย มากกว่าตัวหัวขโมย รายละเอียดเกี่ยวกับการลักขโมยมีน้อย รวมถึงพยานในที่เกิดเหตุ เป็นต้น ซึ่งปัญญาประดิษฐ์นั้นสามารถสแกนและระบุรูปแบบได้หมด

VeriPol ใช้สิ่งที่เรียกว่าการประมวลผลภาษาธรรมชาติ องค์ประกอบของเทคโนโลยีการเรียนรู้ด้วยเครื่อง ซึ่งช่วยให้ระบบเข้าใจและตีความการใช้ภาษามนุษย์โดยธรรมชาติ อัลกอริธึ่มใช้ในการถอดรหัสภาษานี้ และความเข้าใจของ VeriPol ขึ้นอยู่กับรายงานของตำรวจที่ผ่านมา ซึ่งได้นำมาป้อนเข้าไปในระบบ

นักวิทยาศาสตร์ป้อนข้อมูลรายงานคำให้การคดีโจรกรรมจากกรมตำรวจสเปนมากกว่า 1,000 ฉบับนี้เข้าไปในระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเรียนรู้ส่วนประกอบต่างๆ ของคำให้การไม่ว่าจะเป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้ คำกริยา หรือเครื่องหมายจบประโยค ว่าคำให้การที่เป็นเท็จนั้นมีแพตเทิร์นแบบใด

ซึ่งจากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า คำให้การที่เป็นเท็จนั้นมักมีลักษณะสั้นกว่า มีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดน้อยกว่า และไม่มีการกล่าวถึงพยานผู้เห็นเหตุการณ์

นักวิจัยเชื่อว่าเครื่องมือนี้มีศักยภาพที่จะช่วยสนับสนุนตำรวจตัดสินใจการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ VeriPol อาจยับยั้งประชาชนทั่วไปไม่ให้มีการแจ้งความเท็จได้ ซึ่งจะช่วยให้หน่วยงานประหยัดทั้งเวลาและเงิน

VeriPol ได้รับการเผยแพร่ผ่านหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในสเปนแล้ว การพิจารณาคดีโดยตำรวจแห่งชาติสเปนได้ใช้ VeriPol ในการตรวจสอบรายงานตำรวจถึง 1,000 รายงาน ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถตรวจจับรายงานเท็จได้ 8 ครั้งจาก 10 ครั้ง เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมดังกล่าว และเพื่อป้องกันประชาชนจากการยื่นเรื่องร้องเรียนที่เป็นเท็จ

ตำรวจได้ตัดสินใจที่จะนำเครื่องมือที่จะตรวจจับเข้ามาใช้งานต่อไป

 

เครื่องมือ AI ได้มีการใช้ตรวจสอบข้อมูลในปี พ.ศ.2558 การทดสอบครั้งแรกเริ่มด้วยการร้องเรียนทั้งสิ้น 1,000 ข้อทั่วทั้งสเปน

จากนั้นในเดือนมิถุนายน 2017, ตำรวจดำเนินการศึกษานำร่องในเขตเมืองของมูร์เซียและมาลากาได้ผลที่ยอดเยี่ยม ทำให้การทำคดีของตำรวจสำเร็จได้ด้วยความรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ

ในเวลาเพียงสัปดาห์เดียวของเดือนนั้น 25 ข้อกล่าวหาแจ้งความเท็จถูกตรวจพบและปิดคดีใน Murcia และ 39 คดีใน Malaga, ในขณะที่ค่าเฉลี่ยในช่วง 2008-2016 เท่ากับ 3.33 และ 12.14 ตามลำดับ

ด้วยข้อมูลเหล่านี้ตำรวจสรุปอัตราความสำเร็จ 81.58 เปอร์เซ็นต์ในครั้งแรก และ 84.78 เปอร์เซ็นต์ในปีที่สอง เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า โครงการที่กำลังดำเนินอยู่มีความแม่นยำมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

Dr. Camacho-Collados ผู้ร่วมวิจัยกล่าวว่า “การศึกษาของเราได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิธีที่ผู้คนโกหกตำรวจและเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้เพื่อยับยั้งผู้คนจากการทำเช่นนั้นได้ในอนาคต”

“ในท้ายที่สุดเราหวังว่าการตรวจจับโกหกโดยอัตโนมัติ เป็นไปได้ว่าจะยับยั้งผู้คนจากการกระทำผิดด้วยการโกหกตำรวจในครั้งแรก”

 

ที่มา

http://rtve.es/v/4822077

https://www.canarias7.es/sociedad/veripol-la-vacuna-policial-contra-las-denuncias-falsas-FG5796986

https://qz.com/1441034/using-artificial-intelligence-to-detect-written-lies/

https://www.zdnet.com/article/law-enforcement-is-using-artificial-intelligence-to-spot-fake-confessions/