นักวิทย์รัสเซีย เตรียมสกัด ‘ไวรัส’ 50,000 ปี ออกจากซากสัตว์โบราณ

วันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา เดลี่เมลล์ รายงานว่า รัสเซียกำลังพยายามปลดล็อกไวรัสก่อนประวัติศาสตร์ที่ไม่ทราบสายพันธุ์ ซึ่งมีอายุถึง 50,000 ปีโดยการสกัดสารชีวภาพจากซากสัตว์โบราณที่แช่แข็งในสภาพอากาศที่แห้งแล้งอันหนาวเหน็บ

นักวิทยาศาตร์จาก Kremlin’s equivalent of Porton Down กล่าวว่าพวกเขากำลังเก็บตัวอย่างจากซากสัตว์โบราณที่ถูกรักษาไว้ในน้ำแข็ง ที่เพิ่งค้นพบในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พวกเขากำลังนำซากของแมมมอธขนแกะ และแรดมีขนที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตลอดจนสุนัข และสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อย่างม้า กวาง หนู และกระต่าย ซึ่งเชื่อกันว่าซากสัตว์เหล่านั้นมีความเก่าแก่ที่สุดนั้นมีอายุถึง 50,000 ปี

การวิจัยดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก “ศูนย์ไวรัสวิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เวกเตอร์ สเตท” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานวิจัยสงครามทางชีวภาพในสงครามเย็น ที่ก่อตั้งโดย เลโอนิด เบรจเนฟ ผู้นำโซเวียต ซึ่งสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีการรักษาความปลอดภัยระดับสูง อยู่ใกล้กับเมืองโนโวซีบีร์สค์ในไซบีเรียและยังเป็นแหล่งพัฒนาวัคซีนโควิด -19 ตัวที่สองของรัสเซียเพื่อแข่งกับ Sputnik V.

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้เก็บตัวอย่าง 50 ตัวอย่างจากสัตว์โบราณหลายชนิด ซึ่งงานวิจัยนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินการ เพื่อโคลนสายพันธุ์โบราณ อย่างแมมมอธขนแกะและแรดมีขนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยใช้ดีเอ็นเอจากแหล่งเดียวกัน

โอเลสยา โอคาฟคีวา นักวิทยาศาสตร์จาก ศูนย์วิจัยฯ เวกเตอร์ สเตท กล่าวว่า “เราต้องการที่จะค้นหาไวรัส เพื่อนำมาพัฒนาด้านไวรัสวิทยาในรัสเซีย” จุดมุ่งหมายคือเพื่อ ‘ทำการวิจัยขั้นสูง’ ในเรื่องวิวัฒนาการของไวรัส แต่ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเคยออกมาเตือนว่าการย้อนกลับไปในอดีตอาจก่อให้เกิดภัยคุกคามจากการติดเชื้อไวรัสโบราณได้

ดร. โอคาฟคีวา กล่าวว่าพวกเขาจะพยายามจัดลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพทั้งหมดของจุลินทรีย์ในตัวอย่างได้ ถ้ากรดนิวคลีอิกไม่ถูกทำลายเราจะสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของมันและระบุว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างไรพัฒนาการของเหตุการณ์วิวัฒนาการคืออะไร’ โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นถึงพัฒนาการของไวรัสตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เพื่อรวบรวมข้อมูล และเพิ่มศักยภาพทางระบาดวิทยาของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมานั้นศูนย์วิจัยฯ เวกเตอร์ นั้นมีส่วนร่วมในความพยายามในการค้นหาวิธีรักษาและยาแก้พิษ ให้กับโรคร้ายแรงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกาฬโรค แอนแทรกซ์ อีโบลา ไวรัสตับอักเสบบี เอชไอวี ซาร์สและมะเร็ง และในตอนนี้ศูนย์วิจัยฯแห่งนี้ได้พัฒนาวัคซีนโควิด -19 ตัวที่สองของรัสเซียที่เรียกว่า ‘EpiVacCorona’ ซึ่งจะผลิตได้ในไม่ช้า

ที่มา : dailymail