E-DUANG : “เทคโนโลยี”กำหนดสถานะ”สื่อ”

ไม่ว่าอาการ”ขยับ”ของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี

ไม่ว่าอาการ “ขยับ” ของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศ

ไม่ว่าอาการ “ขยับ” ของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ในเรื่องอันเกี่ยวกับ “มาตรา 112″

มิได้เป็นการขยับไปยังหนังสือพิมพ์ อันเป็น”สื่อกระดาษ”หากแต่เป็นการขยับไปยังโซเชียล มีเดีย เว็บไซต์ อันเป็น”สื่อกระจก”

ทำไมต้องเป็น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

เพราะว่าท่านเป็นรองนายกรัฐมนตรีซึ่งควบตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือ”ดีอี”

เป้าหมายอยู่ที่ “ดิจิทัล” มิใช่”อนาล็อก”

ยิ่งอ่านจากที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เชิญตัวแทนของ”ยูทูบ”ประเทศไทยเข้ามาหารือ
ยิ่งชัด

แนวโน้มและความเป็นไปได้ต่อไป คือการเชิญตัวแทน”เฟซบุ๊ค”เข้ามาเหมือนกับที่เชิญยูทูบ

เช่นเดียวกับ จดหมายที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ทำ

เป็นการทำในฐานะ”ประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร”

ส่งไปถึง 19 คนใน 7 ประเทศ

คนที่อ่านหนังสือพิมพ์อันเป็น”สื่อกระจก”ไม่มีทางรู้หรอกว่ามีใครบ้าง

แต่เมื่ออ่าน MGR Online ก็ทะลุปรุโปร่ง

ทะลุปรุโปร่งไปยังรายละเอียดอันปรากฏผ่านหนังสือพิมพ์”ผู้จัดการ” รายละเอียดอันปรากฏผ่านหนังสือพิมพ์ “แนวหน้า”

เป็นรายละเอียดจาก”สื่อกระจก”

เป็นรายละเอียดอันสะท้อน “ข่าวสาร” และ”ข้อมูล”อันมาจาก “ออนไลน์”

เหมือนกรณี”แม่ผ่องพรรณ” เหมือนกรณี”อโลฮา ฮาวาย”

แถลงล่าสุดจากปาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ในฐานะกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)

แจ่มชัด

เฉพาะระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม ตรวจพบผู้กระทำไม่เหมาะสม 120 ราย

ทั้งหมดจาก”ออนไลน์”

ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นบทบาทและสิ่งที่ดำรงอยู่ภายในออนไลน์อย่างเป็นด้านหลัก

ยืนยันว่า “ออนไลน์” ดำรงอยู่ในสถานะ”นำ”

นำและยึดครองพื้นที่เหนือกว่าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารอันเป็น “สื่อกระดาษ”

“สื่อกระดาษ” จึงตกเป็นรอง”สื่อกระจก”

ไม่ว่าอาการ”ขยับ”ของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี

ไม่ว่าอาการ “ขยับ” ของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการต่างประเทศ

ไม่ว่าอาการ “ขยับ” ของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ในเรื่องอันเกี่ยวกับ “มาตรา 112″

มิได้เป็นการขยับไปยังหนังสือพิมพ์ อันเป็น”สื่อกระดาษ”หากแต่เป็นการขยับไปยังโซเชียล มีเดีย เว็บไซต์ อันเป็น”สื่อกระจก”

ทำไมต้องเป็น พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

เพราะว่าท่านเป็นรองนายกรัฐมนตรีซึ่งควบตำแหน่งรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือ”ดีอี”

เป้าหมายอยู่ที่ “ดิจิทัล” มิใช่”อนาล็อก”

ยิ่งอ่านจากที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เชิญตัวแทนของ”ยูทูบ”ประเทศไทยเข้ามาหารือ

ยิ่งชัด

แนวโน้มและความเป็นไปได้ต่อไป คือการเชิญตัวแทน”เฟซบุ๊ค”เข้ามาเหมือนกับที่เชิญยูทูบ

เช่นเดียวกับ จดหมายที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ทำ

เป็นการทำในฐานะ”ประธานคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาคดีความมั่นคงในราชอาณาจักร”

ส่งไปถึง 19 คนใน 7 ประเทศ

คนที่อ่านหนังสือพิมพ์อันเป็น”สื่อกระจก”ไม่มีทางรู้หรอกว่ามีใครบ้าง

แต่เมื่ออ่าน MGR Online ก็ทะลุปรุโปร่ง

ทะลุปรุโปร่งไปยังรายละเอียดอันปรากฏผ่านหนังสือพิมพ์”ผู้จัดการ” รายละเอียดอันปรากฏผ่านหนังสือพิมพ์ “แนวหน้า”

เป็นรายละเอียดจาก”สื่อกระจก”

เป็นรายละเอียดอันสะท้อน “ข่าวสาร” และ”ข้อมูล”อันมาจาก “ออนไลน์”

เหมือนกรณี”แม่ผ่องพรรณ” เหมือนกรณี”อโลฮา ฮาวาย”

แถลงล่าสุดจากปาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ในฐานะกระทรวงดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี)
แจ่มชัด

เฉพาะระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม ตรวจพบผู้กระทำไม่เหมาะสม 120 ราย

ทั้งหมดจาก”ออนไลน์”

ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นบทบาทและสิ่งที่ดำรงอยู่ภายในออนไลน์อย่างเป็นด้านหลัก

ยืนยันว่า “ออนไลน์” ดำรงอยู่ในสถานะ”นำ”

นำและยึดครองพื้นที่เหนือกว่าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารอันเป็น “สื่อกระดาษ”

“สื่อกระดาษ” จึงตกเป็นรอง”สื่อกระจก”