แกะรอย “บ้านวังส้มซ่าโมเดล” จ.พิษณุโลก ความสำเร็จชุมชนในแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม”

เมื่อพูดถึงการรวมกลุ่มกันเพื่อประกอบกิจการของคนในชุมชน ทั้งการผลิตสินค้า และการให้บริการต่างๆ เรามักคุ้นเคยกับคำว่า “วิสาหกิจชุมชน” ซึ่งรายได้นั้นมาจากการจําหน่ายสินค้าหรือบริการ

แต่วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งคำที่คล้ายกันคือ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (Social Enterprise) หรือที่สั้นๆ ว่า “SE” ซึ่งเป็นโมเดลสำหรับการทำธุรกิจรูปแบบหนึ่ง เป้าหมายหลักนั้นไม่ใช่

เพื่อการทำกำไรสูงสุด แต่คือการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และ/หรือ สิ่งแวดล้อมเป็นหลัก SE มีลักษณะเป็น

การบูรณาการครอบคลุมการพัฒนาในทุกด้านและทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

จิตใจ วัฒนธรรม โดยมีคนเป็นศูนย์กลางเป้าหมายในการพัฒนาทั้งคนรุ่นนี้และรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นระบบเศรษฐกิจที่ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง รู้จัก “บริษัทประชารัฐฯ” วิสาหกิจเพื่อสังคมและพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่าการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม และเป็นภารกิจ

ที่สำคัญยิ่งของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชน

มีความสุข” ผ่านการดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย การเกษตร การแปรรูป และการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายข้างต้น หลักการสำคัญ คือ การบูรณาการทำงานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม โดยใช้แนวคิด “ประชารัฐ” ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) ในส่วนของ “ภาครัฐ” มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าทีมภาครัฐและ “ภาคเอกชน” ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจ นำโดย นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

อีกทั้งมีกลไกระดับจังหวัด ประกอบด้วย คณะกรรมการประสานและขับเคลื่อนนโยบายสานพลังประชารัฐประจำจังหวัด (คสป.) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ขับเคลื่อนงานเชิงพื้นที่ และมีบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีจังหวัด (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนงาน ภายใต้แนวคิด “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ดำเนินการจดทะเบียนในรูปแบบ “บริษัท” และมีสถานะเป็น “นิติบุคคล”รายได้หลักมาจากการขายสินค้า และบริการให้คำปรึกษาแก่ชุมชน ไม่ใช่เงินจากรัฐหรือเงินบริจาคโดยกำไรต้องนำไปใช้ขยายผล ไม่ปันผล 100% และบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

ซึ่งนี่คือจุดแข็งของการดำเนินกิจการแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ที่มุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้โดยการพึ่งพาตนเอง และมีแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับในระดับสากล โดยหากมีการต่อยอด “วิสาหกิจชุมชน” แบบดั้งเดิม ให้กลายเป็น “วิสาหกิจเพื่อสังคม” จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

ถอดบทเรียน “บ้านวังส้มซ่า”
โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก

“บ้านวังส้มซ่า” ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งใน ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นหนึ่งในกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จการขับเคลื่อนบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินงานทั้ง 3 กลุ่มงานอย่างเป็นรูปธรรม คือ

– ด้านการเกษตร คือ การส่งเสริม การปลูกต้นส้มซ่า พืชท้องถิ่น อัตลักษณ์ชุมชนที่มีมาตั้งแต่อดีต

– ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ คือ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมสารสกัดส้มซ่า อาหารและเครื่องดื่มส้มซ่า และยาดมส้มซ่า

– ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ เป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี มีการทำโฮมสเตย์บ้านวังส้มซ่า

โดย นางสาววรัญญา หอมธูป กรรมการผู้จัดการบริษัท ประชารัฐรักสามัคคีพิษณุโลก (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด กล่าวว่า “การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อชุมชน บ้านวังส้มซ่านั้นใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-

Green Economy) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับส้มซ่า ผ่านมิติทางเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) มีการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิม ต่อมา มิติทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การนำส้มซ่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าในทุกส่วน ทั้งใบ ต้น ผล การลดปริมาณของเสียให้น้อยลงและสุดท้ายคือ มิติเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน เช่น การใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง การทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น

“ทั้งนี้ แม้ว่าในการดำเนินการวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้น กำไรไม่ใช่สิ่งที่ต้องการที่่สุด แต่จำเป็นที่สุดเพื่อไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน จึงต้องมีกำไร 10% ปัจจุบันมีกำไร 6,153,609 บาท เพิ่มรายได้ชุมชน รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น 25,000 บาท/ครัวเรือน/ปี เกษตรกรต้องได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ถือเป็นหัวใจของวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE)”