เอดีบี ห่วงโควิด-19 ทำประชากรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนรุนแรงอีก 4.7 ล้าน

เมื่อวานนี้ (16 มีนาคม 2565) รอยเตอร์สรายงานว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ได้ออกมากล่าวด้วยความกังวลว่า การระบาดของโควิด-19 จะทำให้เกิดประชากรยากจนขั้นรุนแรงกลุ่มใหม่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มอีก 4.7 ล้าน พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลยกระดับเร่งการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

เอดีบีระบุในรายงานว่า จำนวนคนยากจนสุดขั้ว หากกำเนิดเพดานรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน ซึ่งปีที่แล้วมีอยู่ 24.3 ล้านคน หรือ 3.7% ของจำนวนประชากรทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีรวมกัน 650 ล้านคน ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีโควิด-19 ระดับความยากจนรุนแรงได้ลดลง เช่นปี 2019 เหลือ 14.9 ล้านคน จากปี 2018 ที่มีอยู่ 21.2 ล้านคน

อาซาคาว่า มาสาทสึกุ ประธานเอดีบีกล่าวว่า โรคระบาดได้นำไปสู่ภาวะตกงานเป็นวงกว้าง ความเหลื่อมล้ำเลวร้ายขั้นสุด และระดับความจนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง,ผู้ใช้แรงงานคนหนุ่มสาวและผู้สูงวัย จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลในโซนนี้ ปรับปรุงระบบสาธารณสุข ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ชาญฉลาด และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเร่งการเติบโต

ขณะที่ เอดีบีกล่าวว่า ในปี 2021 มีคนทำงานในสัดส่วนน้อยอยู่ที่ 9.3 ล้านคน เป็นผลจากมาตรการควบคุมโควิดที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ทิ้งให้หลายล้านคนต้องว่างงาน และในปีนั้นก็คาดการณ์ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 3%

นอกจากนี้ เอบีดีคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีนี้ไว้ที่ 5.1% แต่ว่า การระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนอาจลดการเติบโตไป 0.8% หากการะบาดลุกลามจนกระทบเกิดภาวะช็อกทางอุปสงค์-อุปทาน และการคาดการณ์นี้ยังไม่ได้ประเมินถึงผลกระทบจากกรณีรัสเซียรุกรานยูเครนด้วย

ความขัดแย้งดังกล่าวทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องคิดทบทวนสมมติฐานสำหรับปี 2565 ใหม่ โดยมีความเสี่ยงจากการเติบโตที่อ่อนแอ ประกอบกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มความซับซ้อนที่ไม่ต้องการให้กับแผนการกำหนดการเงิน