นักข่าวพม่าใจสู้ รายงานความจริงต่อไป แม้ถูกไล่ล่า-จำกัดเสรีภาพ

สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานผลกระทบหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมียนมา .ต่อสื่อมวลชน และชีวิตชะตากรรมของ นักข่าวพม่าใจสู้ จำนวนมาก

นายชอว์น คริสปิน ผู้แทนอาวุโสคณะกรรมาธิการคุ้มครองสื่อ สะท้อนถึงความยากลำบากในการรายงานข่าวของสื่อมวลชน กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาเป็นวิกฤตด้านมนุษยธรรมสำหรับสื่อมวลชน

ไม่เพียงแต่นักข่าวถูกจำกัดเสรีภาพในการทำงานเท่านั้น แต่ยังถูกทหารและตำรวจไล่ล่าจับกุมอีกด้วย

This screengrab shows security forces beating a resident in Thaketa township in Yangon, as the crackdown continues against demonstrations by protesters against the military coup. (Photo by Handout / various sources / AFP)

นายคริสปินกล่าวว่านักข่าวหลายคนสูญหายไปในเรือนจำโดยไม่ได้รับสิทธิให้ติดต่อครอบครัวและทนายความ ส่วนองค์กรสื่อต้นสังกัดไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อนักข่าวเหล่านี้ เรือนจำจึงเสมือนกล่องดำที่แท้จริง

หลายปีที่ผ่านมา สื่อมวลชนเมียนมามีเสรีภาพมากขึ้นภายในรัฐบาลพลเรือน แต่ถึงกระนั้น ดัชนีเสรีภาพสื่อในปีนี้ จัดทำโดยองค์กรสื่อไร้พรมแดน จัดอันดับเมียนมาให้อยู่ที่ 140 จากทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก

นายเย วินต์ ธู นักข่าวอายุ 30 ปลาย ทำงานให้กับสำนักข่าวเสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า หรือ ดีวีบี ซึ่งเกาะติดสถานการณ์การประท้วงมาตั้งแต่วันแรก แต่ตอนนี้ ต้องหลบหนีพร้อมกับภรรยาโดยนำเครื่องคอมพิวเตอร์แลปทอป โครงการการทำงานและเอกสารสำคัญติดตัวไปด้วย

นักข่าวพม่าใจสู้
Ye Wint Thu / CNN

สองสามีภรรยาต้องอาศัยอยู่บ้านเพื่อน ญาติมิตรและเพื่อนร่วมงานโดยต้องเปลี่ยนที่ซ่อนตัวทุกคืนเพื่อหนีการไล่ล่าของเจ้าหน้าที่เพราะเย วินต์ ธู เป็นหนึ่งในรายชื่อที่ทางการต้องการตัวและประกาศจับผ่านทางสถานีโทรทัศน์โดยอ้างว่าทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 505a เนื่องจากเผยแพร่ข่าวเท็จหรือสร้างความหวาดกลัวซึ่งอาจได้รับโทษสูงสุดถูกจำคุก 3 ปี

ด้านสถานเอกอัครราชทูตตะวันตกหลายประเทศในเมียนมาระบุว่ามีนักข่าวกว่า 80 คน ถูกจับกุมตัวตั้งแต่วันที่ 1 .และกว่าครึ่งยังไม่ได้รับการปล่อยตัว

นักข่าวพม่าใจสู้
Ye Wint Thu เย วินต์ ธู ยังคงรายงานข่าวอย่างไม่ย่อท้อ / CNN

เย วินต์ ธู กล่าวว่าสำนักงานดีวีบีถูกปิด หลังจากเช้าวันที่ 1 .สัญญาณถ่ายทอดของสถานีโทรทัศน์เอกชนทุกช่องถูกตัดทำให้ต้องถ่ายทอดผ่านดาวเทียมแทน แต่กองทัพก็สั่งให้ประชาชนเปลี่ยนไปรับชมสถานีโทรทัศน์ของกองทัพผ่านดาวเทียมพีเอสไอ ขณะนี้ ดีวีบีกำลังหาดาวเทียมช่องสัญญาณอื่นแทนและกำลังมองหาช่องทางอื่นๆ ทั้งเว็บไซต์ ยูทูบและเฟซบุ๊ก

นักข่าวส่วนใหญ่กำลังหลบหนีและไม่สามารถทำงานอย่างเสรีและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตบนท้องถนนได้เพราะตกเป็นเป้าหมายของเจ้าหน้าที่ นักข่าวต้องเลี่ยงด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์และพึ่งพาภาพจากประชาชนที่ถ่ายภาพหรือคลิปและโพสต์ในสื่อสังคมออนไลน์หรือส่งให้นักข่าวซึ่งคลิปส่วนใหญ่ถ่ายจากหลังหน้าต่างหรือกำแพงแสดงให้เห็นทหารยิงประชาชน ทุบตีหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน

Ye Wint Thu / CNN

ส่วนนายโท ซอว์ ลัตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการของดีวีบี กล่าวว่ากองทัพพยายามควบคุมสื่อมวลชนและการสื่อสารไว้ทั้งหมดแล้วแทนที่ด้วยการปล่อยข่าวชวนเชื่อจากกองทัพ