‘ลลิตา’ เล่าเบื้องลึกการเมืองพม่า ชี้ เทียบรัฐประหาร-การเมืองกับไทยยาก บริบทต่างกัน

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเวลา 13.00 น. ณ ห้องเสน่ห์ จามริก คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ดิเรก ชัยนาม ได้จัดงานเสวนา รัฐประหารเมียนมา กองทัพ การเลือกตั้ง และจุดจบของการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย เพื่อทำความเข้าใจการเมืองพม่าล่าสุด เมื่อกองทัพพม่า ก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือน จนนำไปสู่การลุกฮือต่อต้านการยึดอำนาจของประชาชนทั่วประเทศ จะนำไปสู่บทสรุปวิกฤตการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างไร

โดยมีวิทยากร อาทิ ผศ.ดร นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.ลลิตา หาญวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร.พินิตพันธุ์ บริพัตร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี อดีตสื่อมวลชนอาวุโสและนักวิจัยอิสระ

ผศ.ดร.ลลิตา กล่าวถึงการเมืองพม่าว่า รู้สึกเห็นใจว่า การเปลี่ยนแปลงเพิ่งผ่านไม่กี่ปี มีรัฐบาลเลือกตั้งสั้นๆ  ก็มีกลุ่มอนุรักษ์นิยมอ้างว่าชนกลุ่มน้อยไม่ได้ชอบออง ซาน ซูจี มากนัก แต่ฟังตรงนี้ความรู้สึกอาจเปลี่ยนไป

“สำหรับการประท้วงของพม่าในช่วงหลายสิบปี หลังได้รับเอกราช นับตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชในปี 1948 ผ่านมาก็ 70-80 ปี ถ้ามองแล้ว เป็นเวลาที่ยาวนาน แต่พม่าอยู่ในระบอบใดระบอบหนึ่งยาวนาน ก็ไม่ได้มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ในฐานะผู้ศึกษา ปัญหาทั้งหลายที่คุ้นเคยโดยเฉพาะชาติพันธุ์ ข้อเสนอต่างๆเราชอบคิดว่าพม่าเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด มีระบอบใกล้เคียงกัน รวมถึงสโลแกนล่าสุดว่า “ไม่สู้ก็อยู่อย่างไทย” หรืออะไรนี่ คนพม่าไม่ได้พูด” ลลิตา กล่าว

ย้อนไปในยุคอาณานิคม การปกครองพม่าค่อนข้างแบ่งแยกเด็ดขาดจริงๆ โดยเฉพาะชาติพันธุ์ที่อยู่ห่างไกลกันมาก มาตรการที่อังกฤษใช้รัฐฉานจึงยังมีเจ้าฟ้า คนคะฉิ่นมีซอว์บู พอพม่าได้รับเอกราช คำถามคือใครได้เป็นผู้นำ ? คำตอบก็คือใครเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นำ แต่ข้อนี้ก็ไม่เสมอไป กรณีพม่าคือเป็นปัญหาเส้นตรง คนพม่าขึ้นเป็นผู้นำ พม่าได้รับเอกราช ชนกลุ่มน้อยเล็งเห็นว่า มีปัญหา ข้อตกลงปางโหลงที่เห็นว่าเป็นทางออก แต่ก็มีจุดอ่อนที่ไม่ได้รวมทุกกลุ่มชาติพันธุ์จริงๆ

การปกครองภายใต้คนพม่าแท้ จึงเป็นปัญหามาตลอด หลังอองซานกก็มีนายพลเนวิน เมื่อมีปัญหา กองทัพพม่ามีปรัชญาชัดเจนว่าไม่ยอมให้ชนกลุ่มน้อยมีเอกราช สิทธิในการปกครองตนเอง กองทัพพม่ายอมไม่ได้เพราะเป็นการเสียศักดิ์ศรีและทำให้ความเป็นเอกภาพสูญสลาย

พอครบสัญญาปางโหลง 10 ปี (1948-1958) ในรัฐบาลอูนุสัญญาจะมีเลือกตั้งภายใน 10 เดือน คนพม่าเลือกพรรคของอูนุแบบถล่มทลาย

แต่ได้คุยกับคนพม่าสูงวัยยอกว่า ยุคเนวินช่วงแรกๆไม่ได้แย่ ยังมีความเป็นตะวันตก แต่หลังเลือกตั้ง ก็มีการพูดว่าปัญหาชาติพันธุ์ไม่สามารถแก้ไข ฟังดูว่าข้ออ้างเรื่องการความเป็นปึกแผ่น กองทัพพม่ามีแนวคิดแบบนี้ ซึ่งภายใต้การปกครองระบบรวมศูนย์ มีนายพลที่มีชื่ออยู่นานๆ เช่น ตัน ฉ่วย ฉ่วย หมาน หรือ มิน อ่อง หล่าย

เราจะเห็นนายพลที่มีอำนาจ น้อยคนมาก ได้รับอิทธิพลแนวคิดจากคนเดิมๆ แทบไม่แตกต่างกัน เรียกว่า ยุคเนวิน อ้างยังไง ก็แทบไม่ต่างกับข้ออ้างตอนนี้

ลลิตา ยังเล่าถึงหนึ่งวิกฤตการณ์ กรณีแบ่งศพ อู่ ทั่น อดีตเลขาธิการยูเอ็น แต่รัฐบาลทหารของเนวินพยายามทุกทางให้ฝังอู่ทั่นเร็วๆ แต่นักศึกษาไม่ยอม เพราะอยากให้ไว้ศพเพื่อให้คนเข้ามาเคารพ เราจึงได้เห็นพลังของนักศึกษา ในปี 1974 และสำหรับ รธน.ฉบับที่ 2 พม่าใช้ จนถึงยุค SLOC และก็อยู่แบบไม่ใช่รัฐธรรมนูญจนในที่สุดมีรธน.ฉบับปี 2008

จนเกิดการประท้วงในปี 1988 ซึ่งกรุยมาตั้งแต่ต้นปี จนมาปะทุช่วงปลางปี ราวๆสิงหาคม-กันยายน ในครั้งนี้ เป็นอีกครั้งของนักศึกษาถูกสังหารกลางวันแสกๆ ถ้าเราเห็นรวมตัวของนักศึกษาในแยกเลดันของย่างกุ้ง ใกล้กับมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ซึ่งนักศึกษามักเดินขบวนต้านเนวินหลายครั้ง

ส่วนในเหตุการณ์สะพานขาว ทหารล้อมปราบนักศึกษา ทำให้มีนักศึกษาเสียชีวิตจากถูกยิงและจมน้ำ ผลการล้อมปราบนักศึกษา เนวินลาออกทุกตำแหน่ง แต่ไม่นาน ฝ่ายทหารที่ขึ้นมารัฐประหารเงียบและเนวินถูกกักบริเวณจนเสียชีวิต

ส่วนที่คนไทยสงสัยว่าทำไมพระสงฆ์ยุ่งการเมืองได้หรือ ? ต้องบอกว่าพระสงฆ์เป็นแถวหน้า แต่ครั้งนั้นพระถูกสั่งหาร ไล่ล่า ถูกให้สึกหนีหัวซุกหัวซุน

หลังจากนั้น กองทัพพม่ามีโรดแมป ทหารพม่าปล่อยตัวซูจีในปี 2010 และผลการเลือกตั้งในปี 2558 พรรคเอ็นแอลดีชนะแบบถล่มทลาย และล่าสุดยิ่งถล่มทลายไปอีก ทั้งๆที่ นักวิเคราะห์มองเรื่องโรฮิงญา แต่ไม่ใช่กับคนพม่า กลับยิ่งมีคนนิยมชมชอบซูจีมากขึ้นอีก

คนรุ่นเด็กเจนวายอาจไม่ได้อินกับซูจี ไม่ใช่ว่าไม่รัก แต่การประท้วงล่าสุด ซูจีกลายเป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ ไม่แคร์เรื่องโรฮิงญา เลือกซูจีเพราะสู้มากับมือ จนเกิดรัฐประหาร 1 ก.พ. ซึ่งหักปากกาเซียน ทหารบอกว่าโควตาทหาร 25% ยังน้อยไป ซูจียังคงเป็นสุดยอดผู้นำ แต่เราต้องแยกซูจีในอดีตและซูจีปัจจุบัน เด็กๆที่ไม่ได้อินกับซูจีตอนนี้ แต่พวกเขาออกมาเรียกร้องและพูดว่าซูจีมาจากการเลือกตั้ง

และในการประท้วงครั้งนี้มีความพิเศษ สำหรับคนไทยที่สนรัฐประหารครั้งนี้ แต่พม่ารัฐประหารไม่กี่ครั้งผิดกับบางประเทศ ฉีกรัฐธรรมนูญน้อยมาก พวกเขาใช้แค่ไม่กี่ฉบับ ไม่เหมือนกันบูกิน่าฟาร์โซ รัฐประหารในพม่าและไทยไม่สามารถเทียบได้ 100% อีกประเด็นคือ เรามักได้ยินคนไทย ทำไมคนพม่าออกมาเยอะ สำนักข่าว Myanmar now เรียกปรากฎการณ์นี้ว่าเป็นการลุกฮือของประชาชน (Popular Rising) ทำไมคนออกมาเยอะ เพราะคนหนุ่มสาวปัจจุบันจะตั้งคำถามถึงรัฐพันลึก ก้าวหน้าในความคิด รัฐพันลึกของไทยและพม่าเป็นคนละอย่าง จะเอามาเทียบไม่ได้ จึงตอบไม่ได้ทำไมคนพม่าออกมาเยอะ ทำไมคนไทยออกมาน้อย

นอกจากนี้ ลลิตา กล่าวว่า เหตุการณ์ปี 1988 มีส่วนทำให้เราเข้าใจต่อภาวะร่วมสมัยยังไง คือเราเข้าใจแนวร่วมใหม่ๆ เหตุการณ์บังเอิญหรือไม่ก็ตาม ตอนนั้น อองซาน ซูจีบินกลับพม่ามาดูแลมีแม่ ก็ได้รับเชิญในฐานะลูกสาวนายพลอองซาน มาพูดจนได้รับความนิยม ทำไมถึงเราต้องเข้าใจปี 1988 ก็เพื่อทำให้เข้าใจขบวนการนักศึกษาและเติบโตมาถึงตอนนี้ เช่นชื่อ 88 generation เช่น มิน โก นาย แต่คนรุ่นปี 88 อาจเป็นแค่แรงบันดาลใจ ถ้าต้องการผลทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต ต้องมีผู้นำใหม่มาทดแทนคนรุ่นเก่า

“คนพม่าชอบตามข่าวไทย การต่อสู้ในไทยแม้ไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจ แต่ทว่าพม่าต้องกลับไปอยู่ในจุดที่ต้องสู้เพื่อประชาธิปไตยและเรียนรู้จากกรณีไทย ฮ่องกง เทคนิคและกรอบคิดการประท้วง มันมีการส่งต่อจริงๆในกลุ่มพันธมิตรชานม” ลลิตา กล่าวทิ้งท้าย