นักวิชาการด้านสื่อ ห่วงสถานการณ์ แนะแนวทางการสื่อสารเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม

นักวิชาการด้านสื่อ ห่วงสถานการณ์ แนะแนวทางการสื่อสารเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม

นักวิชาการที่สอนด้านสื่อและการสื่อสาร ออกแถลงการณ์นักวิชาการด้านสื่อ เรื่อง การสื่อสารเพื่อคลี่คลายวิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทย ดังนี้

สังคมไทยต้องเผชิญกับวิกฤติความขัดแย้งของคนในสังคมอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน และไม่มีทีท่าว่าวิกฤติจะคลี่คลายลง ทุกวันนี้ จํานวนการสื่อสารที่กระตุ้นความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เห็นต่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจากสื่อมวลชนกระแสหลักหรือสื่อภาค ประชาชนฝ่ายใดก็ตาม

ซึ่งหากสถานการณ์ดังกล่าวยังคงดําเนินต่อไปและไม่เร่งหาทางแก้ไข อาจนําไปสู่วิกฤติ ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงยิ่งในสังคม

ในฐานะนักวิชาการที่สอนด้านสื่อและการสื่อสารทั้งหมด 62 คน (ตามรายนามแนบท้าย) รู้สึกห่วงใย ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และมองว่าการสื่อสารเป็นกลไกสําคัญที่จะนําไปสู่การหาทางออกที่แท้จริงของ วิกฤตการณ์ได้ จึงขอเสนอทางออกดังต่อไปนี้

1. ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงและการสื่อสาร เพื่อสร้างความเกลียดชังต่อกันทั้งในการเผชิญหน้าและการสื่อสารผ่านสื่อทุกประเภท

2. ขอให้ภาครัฐจัดพื้นที่การสื่อสาร เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวิกฤติดังกล่าวได้สื่อสารกัน รับฟังกัน และพูดคุยหาทางออกร่วมกันอย่างมีสติ

3. ขอให้ผู้บริหารองค์กรสื่อมวลชนและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับในองค์กรสื่อมวลชน ยึดมั่นในจรรยาบรรณสื่อและความรับผิดชอบต่อสังคม นําเสนอข้อมูลข่าวสารของเหตุการณ์อย่างถูกต้อง รอบด้าน ไม่กระตุ้นความเกลียดชัง มุ่งสร้างสติและสันติให้คนในสังคม

4. ขอให้องค์กรที่ทําหน้าที่กํากับดูแลสื่อและการสื่อสาร ทั้งของภาครัฐและภาควิชาชีพปฏิบัติงานกํากับดูแลสื่อในเชิงรุกบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสื่อ ความรับผิดชอบต่อสังคมและคํานึงถึงสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รอบด้านของคนในสังคม

5. ขอให้สถาบันการศึกษาและนักวิชาการด้านสื่อและการสื่อสาร ตระหนักถึงพันธกิจสําคัญของตนในการร่วมแก้ปัญหาสังคมด้วยการสื่อสาร โดยช่วยกันสื่อสารเพื่อสร้างสติและสันติใน สังคม รวมถึงเปิดพื้นที่ทางการสื่อสารให้แก่นิสิตนักศึกษา และคนในสังคม เพื่อร่วมกันหาทางออกของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

6. ขอให้คนในสังคมร่วมกันตรวจสอบการทํางานของสื่อที่มุ่งสร้างความเกลียดชัง บิดเบือนความจริง และลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งอาจนําไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้

7. ขอให้ผู้ใช้สื่อมีสติในการส่งสารและรับสาร เคารพในความเป็นมนุษย์ ไม่สื่อสารสร้างความเกลียดชัง เปิดรับข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เพื่อไม่ ตกเป็นเครื่องมือในการสร้างความเกลียดชังของฝ่ายใด

15 ตุลาคม 2563