“คนส.” จี้ กกต.เปิดคะแนนเลือกตั้งรายหน่วย ถอนฟ้องคนวิจารณ์การทำงาน

วันที่ 10 เมษายน 2562 เมื่อเวลา 11.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. พร้อมนักวิชาการจากหลายสถาบัน ในนามเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองถึง กกต.

ความว่า การเลือกตั้งวันที่ 24 มี.ค. นอกจากไม่ช่วยให้ประเทศไทยพ้นสภาวะวิกฤติตามที่ควรจะเป็น กลับยิ่งซ้ำเติมให้วิกฤติรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่มีข้อพิรุธและก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิที่ไม่ตรงกับบัตรลงคะแนน จำนวนคะแนนร้อยละ 5 สุดท้าย ที่ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนหน่วยเลือกตั้ง หรือว่าวิธีการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อที่ผิดหลักการรวมทั้งอาจขัดรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอน กกต. เพราะเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมกลับถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท ยิ่งสร้างความไม่พอใจในสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งสภาพการณ์ดังกล่าว กำลังพาสังคมไทยไปสู่จุดตีบตันหรือว่าวิกฤติระลอกใหม่ จึงมีข้อเรียกร้องต่อ กกต. ดังนี้

1. กกต. ต้องเปิดเผยผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงวิธีการรวบรวมผลการนับคะแนน เนื่องจากผลคะแนนรวมที่ กกต. รายงานไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ หากผลคะแนนไม่ตรงกัน กกต. ก็ต้องนับใหม่ให้สิ้นข้อสงสัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับผลคะแนนรวมในที่สุด

2. กกต. ต้องเปิดเผยวิธีการและขั้นตอนการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อโดยละเอียดอย่างเป็นทางการเนื่องจากการแถลงข่าวของ กกต. ที่ผ่านมาที่ไม่ได้ระบุวิธีการลงคะแนนที่ชัดเจนยิ่งก่อให้เกิดข้อกังขาว่าอาจมีการนำวิธีการคำนวณที่ไม่ถูกต้องมาใช้ในทางที่เอื้อประโยชน์บางฝ่าย หาก กกต. ไม่เร่งสร้างความกระจ่าง รวมทั้งไม่นำวิธีการคำนวณที่ถูกต้องที่ฝ่ายต่างๆ เสนอมาประกอบการพิจารณา การประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของ กกต. ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน

3. กกต. ต้องถอนฟ้องประชาชนที่แชร์การลงชื่อถอดถอน กกต. รวมถึงประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน กกต. ในลักษณะอื่น เพราะการลงชื่อและการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐและเป็นการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองตามกติกา ไม่ได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาท กกต. ไม่ควรใช้กฎหมายมาปิดปาก หรือสุ่มเลือกดำเนินคดีกับบางคนภายใต้เป้าหมายบางประการ

หากกกต.ไม่ถอนฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 7 ราย ก็ขอให้ดำเนินคดีกับนักวิชาการที่ลงชื่อและแชร์การถอดถอน กกต. ใน Change.org จำนวน 121 คนเพื่อความเท่าเทียมกัน

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า อยากให้กกต.ทำงานด้วยความกล้าหาญมากกว่านี้ เพื่อทำให้กกต.เป็นองค์กรอิสระที่เที่ยงธรรม อย่างไรก็ตามจากการติดตามการทำงานของกกต.ในช่วงแรกๆเครือข่ายเราได้เดินทางมาให้กำลังใจกกต.ถึง 2 ครั้ง

แต่หลังจัดการเลือกตั้งแล้วเสร็จพบว่ากกต.ชุดนี้มีความไม่เป็นกลางมากที่สุด ส่วนตัวประเมินว่าสอบตก เพราะจนถึงขณะนี้ตอบไม่ได้ว่าเหตุใดจำนวนผู้ใช้สิทธิกับจำนวนบัตรลงคะแนนจึงไม่ตรงกัน นอกจากนี้ยังทราบมาว่าหน่วยงานของรัฐละหน่วยงานความมั่นคงจำนวนมาก็นับคะแนนการเลือกตั้งเป็นรายหน่วยเช่นกัน แต่ภาพรวมตัวเลขไม่ตรงกัน

จึงเป็นข้อสงสัยว่านับกันแบบไหนถึงไม่ตรงกัน ดังนั้นกกต.ควรจะรีบเปิดเผยผลคะแนนโดยเร็วที่สุด

สิ่งที่เครือข่ายนักวิชาการต้องการคือเรียกร้องให้กกต.เปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยถ้าพบว่ามีความผิดพลาดในหน่วยใดก็ให้นับคะแนนใหม่ และถอนฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 7 คนไม่ได้มองไปไกลถึงทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ การลงชื่อถอดถอนเป็นเพียงยุทธวิธี เพราะเอาเอาจริงการลงชื่อถอดถอนนั้นไม่ได้มีผลทางกฎหมาย แต่ทำไปเพื่อให้เกิดแรงกดดันทางสังคม” นายอนุสรณ์ กล่าว

ขณะที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจของ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

จดหมายเปิดผนึกเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เรื่อง การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรมและหยุดดำเนินคดีประชาชน

ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะวิกฤตมากว่าทศวรรษและไม่มีแนวโน้มจะยุติโดยง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่เคารพในกติกาหรือว่าไม่ฟังเสียงของประชาชน นอกจากนี้ รัฐประหารและรัฐบาลทหารที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่เพียงแต่ไม่สามารถคลี่คลายปัญหาหรือว่าความขัดแย้งได้ หากแต่ยังเป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้วิกฤติหยั่งลึกและขยายวงกว้างขึ้น จึงมีแต่การกลับคืนสู่สภาวะปกติที่กติกาและเสียงของประชาชนเป็นที่เคารพเท่านั้นที่จะช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ได้ และมีแต่การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมเท่านั้นที่จะเป็นประตูพาประเทศไทยไปสู่นิติรัฐและนิติธรรม

อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม ที่ผ่านมานอกจากไม่ช่วยให้ประเทศไทยพ้นสภาวะวิกฤติตามที่ควรจะเป็น กลับยิ่งซ้ำเติมให้วิกฤติรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่มีข้อพิรุธและก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิที่ไม่ตรงกับบัตรลงคะแนน จำนวนคะแนนร้อยละห้าสุดท้ายที่ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนหน่วยเลือกตั้ง หรือว่าวิธีการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อที่ผิดหลักการรวมทั้งอาจขัดรัฐธรรมนูญ ขณะที่ประชาชนที่เข้าชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะเห็นว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมกลับถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาท ยิ่งสร้างความไม่พอใจในสังคมเพิ่มขึ้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) เห็นว่าสภาพการณ์ดังกล่าวที่ กกต. มีส่วนก่อขึ้นกำลังพาสังคมไทยไปสู่จุดตีบตันหรือว่าวิกฤติระลอกใหม่ จึงมีข้อเรียกร้องต่อ กกต. ดังนี้

1) กกต. ต้องเปิดเผยผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้ง รวมถึงวิธีการรวบรวมผลการนับคะแนน เนื่องจากผลคะแนนรวมที่ กกต. รายงานไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิ และ กกต. ยังไม่ได้ชี้แจงในประเด็นนี้อย่างเป็นกิจจะลักษณะ การเปิดเผยผลการนับคะแนนรายหน่วยเลือกตั้งซึ่งประชาชนร่วมเป็นประจักษ์พยานจะช่วยแก้ปัญหาความเคลือบแคลงสงสัยได้ หากผลคะแนนไม่ตรงกัน กกต. ก็ต้องนับใหม่ให้สิ้นข้อสงสัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับผลคะแนนรวมในที่สุด

2) กกต. ต้องเปิดเผยวิธีการและขั้นตอนการคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อโดยละเอียดอย่างเป็นทางการ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเลือกตั้งที่สาธารณะควรได้รับทราบและตรวจสอบความถูกต้องโปร่งใสรวมทั้งใช้ในการประกอบการตัดสินใจตั้งแต่ต้น การแถลงข่าวของ กกต. ที่ผ่านมาที่ไม่ได้ระบุวิธีการลงคะแนนที่ชัดเจนยิ่งก่อให้เกิดข้อกังขาว่าอาจมีการนำวิธีการคำนวณที่ไม่ถูกต้องมาใช้ในทางที่เอื้อประโยชน์บางฝ่าย หาก กกต. ไม่เร่งสร้างความกระจ่าง รวมทั้งไม่นำวิธีการคำนวณที่ถูกต้องที่ฝ่ายต่างๆ เสนอมาประกอบการพิจารณา การประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของ กกต. ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน

3) กกต. ต้องถอนฟ้องประชาชนที่แชร์การลงชื่อถอดถอน กกต. ใน Change.org รวมถึงประชาชนที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงาน กกต. ในลักษณะอื่น เพราะการลงชื่อและการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐและเป็นการใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองตามกติการะหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี มิได้มีเจตนาจะหมิ่นประมาท กกต. ตามที่ กกต. ฟ้องร้องแต่อย่างใด แทนที่จะใช้กฎหมาย “ปิดปาก” หรืออาศัยกระบวนการยุติธรรมคุกคามประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ กกต. ควรหักล้างข้อกล่าวหาและวิพากษ์วิจารณ์ด้วยข้อเท็จจริงและด้วยเหตุด้วยผล

นอกจากนี้ การฟ้องร้องดำเนินคดีผู้แชร์การลงชื่อถอดถอน กกต. จำนวน 7 คนไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน มีลักษณะเป็นการสุ่มเลือกภายใต้เป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป คนส. จึงได้รวบรวมรายชื่อนักวิชาการที่ลงชื่อและแชร์การถอดถอน กกต. ใน Change.org จำนวน 121 คนตามเอกสารแนบท้ายมายื่น กกต. เพื่อแสดงการสนับสนุนผู้ถูกฟ้องร้องและเรียกร้องให้ กกต. ถอนฟ้องทุกคนที่ผ่านมา หรือไม่ก็ต้องดำเนินคดีกับนักวิชาการตามรายชื่อนี้ที่พร้อมจะสู้คดีต่อไป

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง
10 เมษายน 2562

รายชื่อนักวิชาการแนบท้าย

1) กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) กนกวรรณ มะโนรมย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3) กษมาพร แสงสุระธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4) กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5) กุลลดา เกษบุญชู มี้ด
6) ขจรศักดิ์ สิทธิ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
7) คณิน เชื้อดวงผุย มหาวิทยาลัยนครพนม
8) คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
9) คมลักษณ์ ไชยยะ
10) คอลิด มิดำ มหาวิทยาลัยบูรพา
11) คารินา โชติรวี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12) เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13) งามศุกร์ รัตนเสถียร มหาวิทยาลัยมหิดล
14) จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15) จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16) จิราภรณ์ สมิธ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
17) ชลัท ศานติวรางคณา มหาวิทยาลัยมหิดล
18) ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19) ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20) ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21) ชาญคณิต อาวรณ์
22) ชิงชัย เมธพัฒน์ มหาวิทยาลัยบูรพา
23) เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
24) ไชยันต์ รัชชกูล
25) ซัมซู สาอุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
26) ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
27) ณภัค เสรีรักษ์ นักวิจัยอิสระ
28) ณรงค์ อาจสมิติ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
29) ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี มหาวิทยาลัยนครพนม
30) ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์
31) ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ นักวิชาการอิสระ
32) ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
33) ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
34) ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
35) ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
36) ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
37) ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
38) ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
39) ธาริตา อินทนาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
40) ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
41) ธีระพล อันมัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
42) นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43) นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
44) นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
45) นฤมล กล้าทุกวัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
46) นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47) นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
48) บดินทร์ สายแสง มหาวิทยาลัยมหิดล
49) บัณฑิต ไกรวิจิตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
50) บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
51) บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52) บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
53) เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
54) ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
55) ประกาศ สว่างโชติ นักวิชาการเกษียณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
56) ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
57) ปราโมทย์ ระวิน
58) ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
59) พชรวรรณ บุญพร้อมกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60) พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ
61) พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
62) พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
63) พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
64) พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
65) พิสิษฏ์ นาสี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
66) พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง
67) เพ็ญศรี พานิช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
68) เพ็ญสุภา สุขคตะ อาจารย์พิเศษ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
69) ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
70) มนฑิตา โรจน์ทินกร คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
71) มนตรา พงษ์นิล
72) ยุกติ มุกดาวิจิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
73) เยาวนิจ กิตติธรกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
74) รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
75) ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
76) รามิล กาญจันดา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทวิทยาเขตกำแพงแสน
77) วรวิทย์ บุญไทย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
78) วัชรพล พุทธรักษา นักวิชาการอิสระ
79) วันพิชิต ศรีสุข มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
80) วาสนา ละอองปลิว วิทยาลัยสหวิทยาการ หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
81) วิทยา อาภรณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
82) วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
83) วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
84) วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85) วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล
86) เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
87) ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
88) ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
89) ศิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
90) ศิวพล ชมภูพันธุ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
91) สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
92) สมใจ สังข์แสตมป์
93) สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
94) สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์
95) สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
96) สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
97) สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
98) สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
99) สุรินทร์ อ้นพรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
100) เสนาะ เจริญพร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
101) เสาวณิต จุลวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
102) เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
103) โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
104) อนุชิต สิงห์สุวรรณ มหาวิทยาลัยนครพนม
105) อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
106) อโนชา สุวิชากรพงศ์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
107) อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
108) อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
109) อรรถพล อนันตวรสกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
110) อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
111) อรัญญา ศิริผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
112) อลิสา หะสาเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
113) อันธิฌา แสงชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
114) อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
115) อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
116) อาทิตย์ ศรีจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
117) อุเชนทร์ เชียงเสน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
118) อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
119) เอกรินทร์ ต่วนศิริ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
120) เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
121) เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์