พลังงานทดแทนไปทางไหนภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ (PDP 2018)

แผน PDP 2018 ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 นั้นมีแนวคิดหลักในการจัดทำใน 3 ประเด็น ดังนี้ (1) ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า (Security) ของประเทศครอบคลุมถึงระบบการผลิตระบบส่งไฟฟ้าและระบบจำหน่ายตามรายพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นในอนาคต (2) ให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ (Economy) คือ คำนึงถึงต้นทุนกรผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ำ บริหารจัดการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ และสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและ (3) คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Ecology) ส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้า (Efficiency) ทั้งด้านการผลิตไฟฟ้าและด้านการใช้ไฟฟ้า รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการตอบสนองด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Respose) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด รวมทั้งมีการพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริด (Smart Grid) เพื่อรองรับการพัฒนาระบบไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Generation : DG) และรองรับการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าของแผน PDP 2018 มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาสังคมส่วนรวมได้แก่ปัญหาของชุมชน รวมถึงการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าชีวมวลและก๊าซชีวภาพในพื้นที่พิเศษ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ชุมชน และเอกชน ตอบสนองการสร้างความเจริญเติบโตในท้องถิ่นส่งผลต่อความมั่นคง การกระจายรายได้และสร้างงานในพื้นที่ มีการใช้ทรัพากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การพิจารณาจัดหากำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะพิจารณาให้สอดคล้องกับศักยภาพพลังงานหมุนเวียนที่เหลืออยู่ของประเทศ และรองรับพฤติกรรมของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของ Disruptive Technology ด้านไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นและสอดคล้องกับข้อตกลงของ COP21 โดยเน้นด้านเชื้อเพลิงชีวมวล ชีวภาพพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้งระบบกักเก็บพลังงาน ( Energy storage ) และพลังงานทดแทนอื่นๆ โดยมีเป้าหมายรับซื้อราคาไม่เกินราคาเฉลี่ยขายส่ง ( Grid parity ) เพื่อรักษาระดับราคาขายไฟฟ้าไม่ให้สูงขึ้น มีเป้าหมายการรับซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ในแผนจำนวน 18,176 เมกะวัตต์ ดังรายละเอียดดังนี้

เปรียบเทียบกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน แผน PDP2015 และPDP2018

              กำลังผลิตตามสัญญา (เมกะวัตต์)          PDP2015      PDP2018
แสงอาทิตย์                                                     6,000           10,000
ชีวมวล                                                          5,570             3,376
ด้านชีวภาพ  แสงอาทิตย์ ทุ่นลอยน้ำ                         600               546

รวมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ                                       –               2,725
ลม                                                                3,002             1,485
ขยะชุมชน                                                          500               400
ขยะอุสาหกรรม                                                     50                 44
ชีวมวลประชารัฐ                                                      –                120
รวม ณ ปี2580                                                15,722            18,696

การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนในการพลิตไฟฟ้าตามแผน PDP2018 มีจำนวน 18,696 เมกะวัตต์ จะเพิ่มสูงกว่าตามแผน PDP2015 ซึ่งเท่ากับ 15,722 เมกะวัตต์ โดยเป็นการเพิ่มของพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ถึง 10,000 เมกะวัตต์ ( จากเดิม 6,000 เมกะวัตต์ ) คือเพิ่มถึง 6,000 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ยังมีพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำอีก 2,725 เมกะวัตต์ ในขณะที่มีการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพเพียง 3,376 ( เดิม 5,570 ) เมกะวัตต์ และ 546 ( เดิม 600 ) เมกะวัตต์ ทั้งๆที่ทั้งสองชนิดนี้ควรได้รับการส่งเสริมเป็นอันดับแรกก่อน ส่วนพลังงานหมุนเวียนพลังงานแสงอาทิตย์และลมควรได้รับการสนับสนุนรองลงไป เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศการเกษตรมีของเหลือและของเสียจากการเกษตรที่มีศักยภาพที่สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้จำนวนมากในขณะที่แสงอาทิตย์และลมเป็นการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้และมีการสร้างงานน้อยกว่า อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของ Disruptive Technology ของการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และพลังงานลม ยังมีความไม่แน่นอนที่จะผลิตแทนที่การผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมได้อย่างไม่มีปัญหา ในเรื่องเสถียรภาพและมั่นคงได้

หลังจากประกาศใช้ PDP2015 ได้ไม่นาน ประกอบกับมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานใหม่ จึงมีการทบทวนแผน PDP2018ใหม่ โดยจะเป็นเพิ่มพลังงานทดแทนของชุมชน ที่เหมาะกับสภาพของชนบทไทย และลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลง ซึ่งคาดว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนในต้นปี 2563 นี้ ซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งของการส่งเสริมพลังงานทดแทนให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ของประเทศไทย