E-DUANG : ผลสะเทือน เลือกตั้ง ท้องถิ่น เจาะทะลวงเข้า ประชาธิปไตย

เป็นไปได้ว่า การเลือกตั้ง “ท้องถิ่น” จะทะลวงเข้าไปสู่แก่นแท้แห่ง ความเป็น “ประชาธิปไตย”ของสังคม

เพราะเป้าที่รออยู่ คือ การกระจายอำนาจ

เพราะองค์ประกอบอันเป็นเครื่องร้อยรัดมิให้การกระจายอำ นาจปรากฏเป็นจริงในทางการปฏิบัติ คือสิ่งที่เรียกกันว่า “รัฐราช การรวมศูนย์”

นั่นก็คือ ทุกอย่าง “รวมศูนย์” ไปยังส่วนกลาง นั่นก็คือ กรุงเทพมหานคร

“ท้องถิ่น” กลายเป็น “เมืองขึ้น”

แม้จะมีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) แต่ก็ยังเป็น “เมืองขึ้น” เพราะอยู่ภายใต้ “ผู้ว่าราชการจังหวัด”

อยู่ภายใต้การบังคับควบคุมของ”มหาดไทย”

 

มีความแตกต่างกันอย่างแน่นอนระหว่าง “นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด”(นายกอบจ.) กับ “ผู้ว่าราชการจังหวัด”(ผวจ.)

ตรงที่ นายกอบจ.มาจาก “การเลือกตั้ง”

ตรงที่ “ผวจ.” มาจาก “การแต่งตั้ง” และอยู่ภายใต้โครงสร้าง แห่งระบบราชการ

คนหนึ่งมาจาก “ประชาชน”

คนหนึ่งมาจาก “เจ้านาย” ดำรงอยู่ในโครงสร้างแห่งการเป็น ข้าราชการ

โครงสร้างแบบนี้เหมือนมิได้เป็นของแปลก

แต่ภายพัฒนาการและเสียงร่ำร้องหาความเสมอภาค สร้างสรรค์จากระบอบประชาธิปไตย ก็จะนำไปสู่การเปรียบเทียบ อย่างแหลมคมยิ่ง

หากกระบวนการเลือกตั้งทำให้นายกอบจ.จำเป็นต้องนำเสนอ “นโยบาย” เพื่อให้ประชาชน แล้วผวจ.จำเป็นต้องนำเสนอ “นโยบาย” ต่อใคร

นี่คือการกระแทกเข้าไปยัง”โครงสร้าง”ของสังคม

 

ทั้งๆที่การเลือกตั้งระดับ”ท้องถิ่น”เคยมีตั้งแต่รัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 มาแล้ว แล้วเหตุใดกระบวนการนี้จึงยังเหมือนกับเป็นของใหม่ คำตอบก็คือ มันถูกพรากไปเพราะ “รัฐประหาร”

นับจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องมายังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

เสียงเรียกร้องนี้นับวันยิ่งดังและทะลวงลึก