E-DUANG : การเมืองใหม่ หลังการเลือกตั้ง การเมือง  ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ปัญหาที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่แทบไม่มีใครกังขา

เพราะไม่เพียงแต่”รัฐธรรมนูญ”จะเปิดทางให้อย่างเต็มที่

สัมผัสได้ผ่านการแต่งตั้ง 250 ส.ว.ภายใต้อำนาจของคสช. เพียงแต่ประสานเข้ากับ ส.ส.อีก 120 ขึ้นก็เรียบร้อย

หรือหากว่าผลการเลือกตั้งไม่เป็นใจ

กลายเป็นว่าพรรคเพื่อไทยกำชัยอย่างชนิดถล่มทลายจับมือ ร่วมกับพรรคพันธมิตรก็มิได้หมายความว่าจะสามารถบริหารงาน ได้ด้วยความราบรื่น

เพราะไม่ว่า”รัฐธรรมนูญ” ไม่ว่า”ยุทธศาสตร์ชาติ”ไม่ว่า”องค์กรอิสระ” ล้วนวางเครือข่ายไว้อย่างเต็มพิกัด

ในที่สุดก็ต้องวนไปหา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่นั่นเอง

 

การจะได้สืบทอดอำนาจโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงมิใช่ปัญหา หากแต่ปัญหาอยู่ที่ว่าเมื่อได้อำนาจแล้วจะเดินหน้าต่อไปอย่างไรมากกว่า

ในเมื่อไม่มี “มาตรา 44” อยู่ในมือ

ในเมื่อจากกระบวนการเลือกตั้งได้ก่อให้เกิด “ภูมิทัศน์”ใหม่ในทางการเมืองขึ้นมาโดยอัตโนมัติ

ทั้งยังเป็นไปตามการเลือกของ”ประชาชน”

การดำรงอยู่ของอำนาจอันมีรากงอกมาจากกระบวนการรัฐประหาร กับ การดำรงอยู่ของอำนาจใหม่อันมาจากการเลือกของประชาชนจึงเป็นของใหม่

ยิ่งหากว่าจำนวน ส.ส.ของพรรคร่วมรัฐบาลกับจำนวน ส.ส.ของพรรคฝ่ายค้านมีความแตกต่างกันไม่มากนัก

ยิ่งทำให้การต่อสู้ในทางการเมืองมีความเข้มข้น

เป็นความเข้มข้นซึ่งไม่เพียงแต่ใน”สภาผู้แทนราษฎร”มีตัวแทนของประชาชน หากใน “สังคม”ยังมีบรรยากาศแห่งเสรีภาพ มากยิ่งขึ้น

ตรงนี้ต่างหากคือ ภูมิทัศน์”ใหม่”ในทางการเมือง

 

ความแผกต่างเกิดขึ้นอย่างแน่นอนโดยมี “การเลือกตั้ง” เป็นเส้นแบ่งและจุดตัดอันทรงความหมาย

จุดสำคัญ คือทางด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เพราะมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ใหม่ สิ่งแวดล้อมใหม่ในทางการเมือง

การเมืองอย่างที่เรียกกันว่า สังคม ประชาธิปไต