ที่มา | มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 4 - 10 พฤษภาคม 2561 |
---|---|
คอลัมน์ | รายงานพิเศษ |
เผยแพร่ |
รายงานพิเศษ โชคชัย บุณยะกลัมพ
https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/
ลำโพงภาพสามมิติ
แสดงอารมณ์เหมือนมีชีวิต
เพื่อนคุยยามเหงาเวลาอยู่คนเดียว
ในยุคปัจจุบันการนำเสนอเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) มามีส่วนร่วมในการใช้งานของสมาร์ตโฟน ที่จะช่วยให้มือถือของเราๆ ท่านๆ มีความเฉลียวฉลาดในตัวเอง และพัฒนาขีดความสามารถในการใช้งานให้เหมาะกับแต่ละบุคคลได้ด้วย
มารู้จักกับเทคโนโลยี AI สามารถใช้งานร่วมกับสมาร์ตโฟนได้อย่างไรบ้าง
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจฟังดูเป็นเรื่องที่ไกลตัวสำหรับคนใช้สมาร์ตโฟนทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ
แต่ทราบกันหรือไม่ว่า ทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยี AI ที่ล้อมรอบตัวเราอยู่ตลอดเวลา
และเราเองก็กำลังใช้งาน AI อยู่โดยที่บางคนไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ
ผู้ใช้หลายๆ คนยังติดภาพเทคโนโลยี AI คือหุ่นยนต์ หรือคอมพิวเตอร์ที่พูดได้, สื่อสารกับมนุษย์ได้ และออกคำสั่งให้ทำสิ่งต่างๆ ได้โดยไม่ปฏิเสธ
ซึ่งจริงๆ แล้วลักษณะโดยรวมเช่นนี้นับเป็นการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ก็จริง แต่ส่วนใหญ่แล้วโปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาให้ใช้งานบนสมาร์ตโฟนก็ล้วนแต่ประกอบด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์แทบทั้งสิ้น
ซึ่งส่วนมากเราจะเห็นในรูปแบบอื่นๆ เช่น ในการบันทึกเสียง หรือใบหน้าสำหรับปลดล็อกโปรแกรม หรือตัวเครื่อง, การแยกแยะใบหน้าของบุคคลในภาพถ่ายแล้วจัดหมวดหมู่ให้เป็นอัลบั้ม, การใช้งานฟังก์ชั่นแปลภาษา หรือฟีเจอร์อื่นๆ ก็ล้วนแล้วแต่ประกอบด้วยเทคโนโลยี AI เกือบทั้งหมด
การมุ่งเน้นพัฒนาที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ได้ นั่นก็คือ การสร้างซอฟต์แวร์ให้รองรับความสามารถในการคิดได้ด้วยตนเอง
ซึ่งการนำเทคโนโลยี AI มาใช้บนสมาร์ตโฟนก็นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของนักพัฒนาอยู่ไม่น้อย
เพราะสมาร์ตโฟนสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบมาก
ประโยชน์ที่เราจะได้รับเมื่อมี AI อยู่ในสมาร์ตโฟน ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้พัฒนาได้สร้างให้ระบบปัญญาประดิษฐ์มุ่งเน้นการทำงานด้านใด ผู้ใช้อย่างเราก็จะได้ข้อดีของตรงนั้นมา ซึ่งความซับซ้อน การแยกแยะ การวิเคราะห์ การเรียนรู้พฤติกรรม การใช้ข้อมูลที่เหมาะสม ที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านอารมณ์ของมนุษย์ เช่น ความสนุกสนาน ความเศร้าและความทุกข์
โฮโลแกรม อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจ เพราะสามารถสร้างภาพที่เหนือจินตนาการออกมาได้ และจากจอภาพที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันเราจะสามารถมองเห็นภาพที่แสดงอยู่บนจอภาพในแบบ 3 มิติ โดยไม่ต้องใช้แว่นตาช่วยเหลือ
หลายคนเคยชมภาพยนตร์หลายเรื่องเป็นฉากการสื่อสารระยะไกลในสตาร์วอร์ส การจำลองพื้นที่บนดวงดาวในอาวาตาร์ ที่ใช้โฮโลแกรม 3 มิติ
อีกหนึ่งในการคิดค้นของซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์เปิดตัว Smart / A.I. “Aurora” ต้นแบบลำโพงที่งานแสดงสินค้า SXSW 2018 เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งสามารถผลิตได้ในราคาขายถูกที่สุด เนื่องจากใช้สมาร์ตโฟนเพื่อจัดเตรียมโปรเซสเซอร์ไมโครโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ ลำโพงสมาร์ต “Aurora” ยังใช้หน้าจอสมาร์ตโฟนเพื่อแสดงโฮโลแกรมเพื่อออกมาต้อนรับผู้ใช้ “Aurora”
ภายในลำโพงตัวนี้จะไม่มีหน่วยประมวลผลหลัก มาพร้อมกับไมโครโฟนหรือชิ้นส่วนสำคัญๆ ที่ลำโพง AI ทั่วไปที่เราใช้กัน แต่มันจะใช้สมาร์ตโฟนเป็นสมองสั่งการแทน ลำโพง “Aurora” ตัวนี้การทำงานจะมีองค์ประกอบหลัก 4 อย่าง ถึงจะใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ นั่นก็คือ ตัวลำโพง, สมาร์ตโฟน, แอพพ์บนสมาร์ตโฟนและลำโพง Bluetooth
หลักการใช้งานก็แค่เราเอาสมาร์ตโฟนเสียบไปที่ตัวเครื่องก็ใช้เป็นลำโพงอัจฉริยะได้ทันที ลักษณะการเสียบเช่นนี้เหมือนเป็นการชาร์จไฟมือถือไปในตัวด้วย
การทำงานของ Aurora จะใช้ไมโครโฟนและกล้องของมือถือเป็นตัวรับคำสั่ง ทั้งคำสั่งเสียงและท่าทาง จากนั้นก็โต้ตอบกลับมาผ่านลำโพงของมือถือหรือลำโพง Bluetooth
โฮโลแกรมสามมิติลอยอยู่กลางอากาศ cutesy จะปรากฏขึ้นตรงกลางและกลายเป็นภาพตัวแทนของผู้ช่วย AI Aurora เป็นตัวละครที่อยู่ในแอพพ์นั้น จะถูกฉายภาพออกมาจะขยับตามเวลาที่เราพูด แสดงอารมณ์และโต้ตอบกับเราได้เหมือนมีชีวิตจริงๆ ทำให้เกิดความสนุกสนานในการหมุนขยับท่าทาง
ตัวการ์ตูนโฮโลแกรมสามมิติที่เปลี่ยนการแสดงออกของใบหน้าหรือขยับร่างกายขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่เราจะสนทนาโต้ตอบได้ด้วยหรือสามารถพูดคุยสั่งการด้วยเสียงราวกับว่าเป็นผู้ช่วยส่วนตัว
ใช้เป็นเพื่อนคุยแก้เหงาในยามที่เราอยู่คนเดียว เป็นผู้ช่วยคอยปลุกเราให้ตื่นขึ้นมา คอยบอกให้เราใส่รองเท้าหรือคอยเตือนให้เราทำในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในระยะแรกแรกนี้จะมีแค่ตัวเดียวก่อนแต่ในอนาคตจะมีตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
เราอาจจะได้เห็นภาพการสนทนากับบุคคลแบบ 3 มิติ เสมือนมีตัวตนจริงๆ อยู่ตรงหน้าเรา
โดยหลักการแล้ว “Aurora” ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนต่างๆ ของสมาร์ตโฟนซะเป็นส่วนใหญ่ การทำงานอาจจะประสิทธิภาพน้อยกว่าลำโพงอัจฉริยะทั่วไป
สำหรับคนที่สนใจตอนนี้ต้องรอการประกาศออกมาของทางซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป