รถยนต์เครื่องพิมพ์ 3D คันแรกของโลก ชื่อ LSEV พร้อมขายในยุโรปและเอเชีย ในราคา 2.3 แสนบาท

รายงานพิเศษ/โชคชัย บุณยะกลัมพ

https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

รถยนต์เครื่องพิมพ์ 3D คันแรกของโลก

ชื่อ LSEV พร้อมขายในยุโรปและเอเชีย

ในราคา 2.3 แสนบาท

โลกนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าปฏิวัติการใช้เครื่องพิมพ์ 3D หรือเครื่องพิมพ์สามมิติ และมีกำหนดจะเริ่มขายปีหน้าในเอเชียและยุโรป

ผู้ผลิตรถยนต์ระบุว่ารถยนต์ขนาด 2 ที่นั่ง ใช้เวลาในการผลิตรถยนต์ 1 คัน เพียงสามวันเท่านั้น กำลังเดินหน้าเข้าสู่สายการผลิตขนาดใหญ่ในประเทศจีน รถยนต์ที่มีการพิมพ์แบบ 3D นี้จะมีความเร็วต่ำ ซึ่งจะสามารถวางตลาดได้ในปีหน้า

ตอนนี้ผู้ผลิตรถยนต์กำลังรวบรวมสายการผลิตสำหรับรถยนต์ที่มีขนาดกะทัดรัด ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ตลาดในเดือนเมษายนปี พ.ศ.2562

รถยนต์รุ่นนี้มีชื่อว่า LSEV ซึ่งผลิตขึ้นจากเครื่องพิมพ์ 3D และพัฒนาโดยบริษัทรถยนต์อิตาลี X Electrical Vehicle (XEV) ร่วมกับบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ Polymaker

โดยใช้เวลาผลิตเพียงสามวันเท่านั้น ราคาวางจำหน่ายอยู่ที่ 7,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 230,000 บาท โดยมีวัสดุเกือบทั้งคันจะถูกพิมพ์ขึ้นจากเครื่องพิมพ์สามมิติประมาณ 57 ชิ้น

ขนาดของรถยนต์ LSEV ที่พิมพ์ขึ้นจากเครื่องพิมพ์ 3D ยาว 1.5 เมตร (4.9 ฟุต), สูง 2.5 เมตร (8.3 ฟุต) และกว้าง 1.3 เมตร (4.3 ฟุต)

โดยรถจะมีสองที่นั่งนี้มีน้ำหนักรวมเพียง 450 กิโลกรัม (992 ปอนด์) สามารถทำความเร็วสูงสุดที่ 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือราว 43 ไมล์ต่อชั่วโมง ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และสามารถเดินทางได้ไกล 150 กิโลเมตร (93 ไมล์) ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

รถคันนี้ถูกพัฒนาโดยบริษัทรถยนต์ประเทศอิตาลี XEV ซึ่งเป็นบริษัทเริ่มต้นจากฮ่องกงซึ่งมีศูนย์การออกแบบในอิตาลีและฐานการผลิตขนาดใหญ่ในประเทศจีน

Dr.Xiaofan Luo ผู้ก่อตั้ง XEV Limited กล่าวว่า รถยนต์ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ 3D พิมพ์ขึ้นด้วยวัสดุ 3 ประเภท คือ ไนลอนโพลีคาร์บอเนต – เส้นใยพิมพ์ 3 มิติทั่วไปและยางสังเคราะห์ TPU

สำหรับชิ้นส่วนที่เป็นโลหะทั้งหมดของรถยนต์ 3D เช่น แชสซีส์ เครื่องยนต์ ตัวโครงรถ เบาะนั่ง และกระจกที่ต้องนำมาประกอบเข้ากับตัวรถยนต์ในภายหลัง ใช้วิธีการผลิตแบบเดิม

ในการผลิตรถยนต์ใช้ทีมงานออกแบบ XEV 50 คน เริ่มตั้งแต่พัฒนาเครื่องพิมพ์ 3D ชนิดพิเศษ สำหรับเครื่องพิมพ์นี้ได้ผลิตรถยนต์ต้นแบบเป็นชิ้นแรก

และจะมีการผลิตรถยนต์อีก 6 คัน ก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม

โครงการนี้เริ่มต้นเมื่อสองปีที่แล้วกับผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายการพิมพ์ 3D ของเขาคือ Robert Moretti โครงการนี้มีเงินทุน 1.7 ล้านปอนด์ (2 ล้านล้านยูโร) หลังจากชนะโครงการ Horizon 2020 ซึ่งเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปด้านการวิจัยและนวัตกรรม

ตั้งแต่เริ่มแรกเป้าหมายของทีมคือการสร้างรถ 3D ที่สามารถขายได้ในตลาดล่าง

นาย Lou กล่าวว่า สายการผลิตจะเปิดอย่างเป็นทางการในปีหน้า และบริษัทของเขามีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตให้ได้ 20,000 คันภายในสิ้นปี 2019

นอกจากนั้น การผลิตรถยนต์จากเครื่องพิมพ์ 3D เช่นนี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และลดต้นทุนในการผลิตลงได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โดยรถรุ่นนี้จะพร้อมวางจำหน่ายในเอเชียและยุโรปในปีหน้า

ซึ่งตอนนี้มีคำสั่งซื้อรถยนต์รุ่นนี้ไปแล้วราว 7,000 คัน โดยมาจากบริษัทไปรษณีย์อิตาลีจำนวน 5,000 คัน และจากบริษัท ARVAL ซึ่งให้บริการเช่าซื้อรถยนต์อีกจำนวน 2,000 คัน

เมื่อเปรียบเทียบกับการผลิตรถยนต์แบบเดิมแล้ว ในการผลิตรถยนต์ที่มีการพิมพ์แบบ 3D สามารถลดค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาลงได้ประมาณ 90% ในการผลิตใช้เวลาเพียง 3 วัน นาย Lou กล่าว

รถยนต์ปกติมีชิ้นส่วนประกอบประมาณ 2,000 ชิ้น ในขณะที่ LSEV มีส่วนประกอบตั้งแต่ 40 ถึง 60 ชิ้น ขั้นตอนระยะเวลาที่ใช้ผลิต XEV นั้นมีระยะเวลาการผลิตสำหรับแต่ละชิ้นส่วนมีความแตกต่างกันไป สำหรับหน้ากากด้านหน้ารถยนต์ 3D ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ส่วนแผงควบคุมใช้เวลาถึง 10 ชั่วโมง

โครงสร้างตัวรถยนต์ได้เสริมความแข็งในชิ้นส่วนที่พิมพ์ 3D เพิ่มความแข็งแรง สามารถดูดซับแรงกระแทกของรถยนต์ แม้ว่าการพิมพ์แบบ 3D ไม่ใช่เรื่องแปลกในอุตสาหกรรมรถยนต์ แต่ก็มักใช้ในการสร้างต้นแบบ

การผลิต LSEV เป็นรถยนต์พิมพ์แบบ 3D ที่มีสายการผลิตเพียงแห่งเดียวและมุ่งเป้าไปที่ขายในตลาดล่าง

อย่างไรก็ตาม ยังได้มีการรายงานความพยายามผลิตรถยนต์แบบอื่นๆ ในการสร้างต้นแบบรถยนต์ที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3D จากเครื่องต้นแบบแสดงให้เห็นว่าการพิมพ์แบบ 3D สามารถเพิ่มความเร็วในกระบวนการผลิตรถยนต์ได้ และมีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์

ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบ 3D สามารถช่วยให้โรงงานที่มีขนาดเล็กผลิตรถยนต์ในราคาถูกกว่าโดยการลดจำนวนซัพพลายเออร์ลงได้

นอกเหนือจากคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว การพิมพ์ 3D ยังสามารถนำมาซึ่งประโยชน์อันมหาศาลสำหรับการผลิตยานยนต์รวมถึงความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนที่มีน้ำหนักเบาซึ่งอาจนำไปสู่การประหยัดน้ำมันได้มากขึ้น

“ข้อดีอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ในการใช้การพิมพ์แบบ 3D คือการสนับสนุนกระบวนการผลิตแบบกระจาย ซึ่งสามารถผลิตรถยนต์ได้เป็นจำนวนมาก และรถยนต์อาจถูกสร้างหรือประกอบขึ้นที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ได้เลย”

ในการผลิตรถยนต์ด้วยการพิมพ์แบบ 3D จะเป็นเรื่องที่ท้าทายในอนาคต แต่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมยานยนต์แต่ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค