จรัญ มะลูลีม : แนวคิดของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ว่าด้วยมุมมองที่มีต่อโลกมุสลิมปัจจุบัน (2)

จรัญ มะลูลีม

หมายเหตุ

Concluding Keynote Speaker ของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ที่นำมาเสนอนี้มาจากการประชุมนานาชาติเรื่องความเป็นสายกลาง – แนวคิดของอิสลามในการเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านของโลกว่าด้วย ASEAN – ประเทศไทย (Moderation – An Islamic Approach to Face the Global Transition on ASEAN – Thailand) ณ ห้อง 111 ตึกมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.2017 จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Wasatiyyah Institule for Peace and Development of Thailand และ Chula Global Network ขอขอบคุณ ดร.มุฮัมมัด ฟาฮีม (Mohd Faheem) อาจารย์จากโครงการอินเดียศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ถ่ายเทปภาษาอังกฤษ

ในอินโดนีเซีย องค์การนะเฏาะละตุล อุลามา (Nahdalatul Ulama) ได้นำเสนอคลิปวิดีโอเรื่อง “ความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าของอินดีสอิสลาม”

เป็นเวลา 600 ปีแห่งการบ่มเพาะ 600 ปีแห่งการทำให้อยู่ร่วมกันได้ 600 ปีของการสานเสวนาในท่ามกลางและในระหว่างอารยธรรมต่างๆ มีหมู่เกาะหนึ่งหมื่นเจ็ดพันหมู่เกาะในอินโดนีเซีย มีภาษาสี่ร้อยภาษา มีการสานเสวนาอย่างเอาจริงเอาจัง มีการแลกเปลี่ยนการอยู่ร่วมกัน การโต้แย้งกัน การยอมรับกัน

มันเป็นกระบวนการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่การปะทะกันทางวัฒนธรรม แลนะเฎาะละตุลอุลามาก็มีอายุหนึ่งร้อยปีแล้ว

นะเฏาะละตุลอุลามามาพร้อมกับความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าของอิสลามแห่งอินดีสตะวันออก มาชาอัลลอฮ์ (ด้วยพระประสงค์ของอัลลอฮ์) และเรียกร้องผู้คนของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาให้ความสำคัญกับมรดกของตนเอง ของผลิตผลของตนเอง ของความมีเหตุผลของตนเอง ของประสบการณ์ของตนเองที่สะสมมานับขวบปี เป็นประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดอันดับสามของโลก

มีการสำรวจว่าด้วยไอเอส (Daish) ว่ามีกี่คนที่ต่อต้านพวกเขา ร้อยละ 79 ของการสำรวจในอินโดนีเซียบอกว่าไม่ต่อต้าน มีการสำรวจแบบเดียวกันในปากีสถาน โดยร้อยละ 26 ไม่ต่อต้าน หมายความว่าอีกร้อยละ 74 ก็เรื่อยๆ

ด้วยอุดมการณ์สุดขั้ว ยึดมั่นถือมั่นสุดขั้ว อนุรักษนิยมสุดขีด? ไม่มีความยืดหยุ่น ร้อยละ 26 ในปากีสถานกล่าวว่าพวกเขาผิดพลาด และร้อยละ 74 อาจกล่าวว่าเราอยู่กับมันได้

ดังนั้น ประเด็นในตอนนี้ก็คือเรื่องนี้ ประเด็นในเรื่องนี้ก็คือ มีพื้นที่อยู่แค่ไหนที่อนุญาตให้ใช้ความมีปัญญาของมนุษย์ เมื่อไรกันเล่าที่อิบนุ ค็อลดูน เมื่อไหร่กันเล่าที่ฮุสเซ็น นัศร์ (Hussen Nasr) กล่าวถึงความสูงส่งของอารยธรรมอิสลาม

ผมต้องมั่นใจก่อนว่าผมไม่ได้กล่าวเช่นนี้ ตัวของอิบนุ ค็อลดูน และฮุสเซ็น นัศร์ ต่างหากที่พูด

 

อิบนุ ค็อลดูน กล่าวว่า จุดสูงสุดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและประดิษฐกรรมของประชาคมอิสลาม อันเป็นโลกอิสลามที่กว้างขวางนั้นมาจากความสำเร็จจากศาสตร์ทั้งหลายที่ไม่ได้มาจากงานของชาวอาหรับ (non-Arab works) ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหรือประดิษฐกรรม

ฮุสเซ็น นัศร์ กล่าวว่า ที่ใดที่อิสลามไปถึงวัฒนธรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีไปสู่จุดสูงสุดด้วยทั้งที่เปอร์เซีย อินเดีย ตุรกีและสเปน

ทำไมเขาต้องใช้ไวยกรณ์ที่ว่าเมื่ออิสลามไปถึง ทำไมจึงใช้คำว่าเมื่ออิสลามไปถึงแล้ว ทำไมฮุสเซ็น นัศร์ จึงไม่ใช้คำว่าที่ไหนที่มีอิสลามเป็นอยู่ในเวลานี้ ทำไมต้องเป็นในอดีต

เอาละ ผมคิดว่า อิบนุ ค็อลดูน ได้กล่าวถึงความรุ่งโรจน์สูงสุดของคณิตศาสตร์ ความรุ่งโรจน์สูงสุดของการแพทย์ และความสูงสุดของปรัชญา ตามความเห็นของอิบนุ ค็อลดูน แม้แต่ไวยากรณ์อาหรับก็คิดค้นขึ้นโดยซิบาวัยฮ์ (Sibawayh) นักวิชาการชาวเปอร์เซีย เนื่องจากว่าเมื่อสองสามร้อยปีหลังการมีตำราต่างๆ หลังจากการวิวรณ์ลงมา หลังจากมุฮัมมัด ชาวเปอร์เซีย ชาวอินเดีย ชาวแอฟริกาเหนือ ต่างก็กล่าวว่าพวกเราจะได้จิตวิญญาณจากตำราต่างๆ ได้อย่างไรหากว่าพวกเราไม่รู้จักไวยากรณ์ หากพวกเราไม่รู้ภาษาที่ถูกวิวรณ์ลงมา

ด้วยเหตุนี้ ซิบาวัยฮ์ ชาวเปอร์เซีย จึงมาพร้อมกับไวยากรณ์อาหรับ

 

ผมขอเสนอต่อท่านว่า ชาวมุสลิม 1.5 พันล้านคนควรจะรักษาสิทธินี้ไว้ นั่นคือสิทธิที่จะแสวงหาคำตอบซึ่งอุมมะฮ์ (ประชาชาติมุสลิม) กำลังเผชิญอยู่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวของมนุษย์อีกมากกว่า 6 พันล้านคน

เพราะหากว่าท่านยกเลิก หากว่าท่านปฏิเสธความรับผิดชอบในสิ่งที่มีอยู่ในตำรา หนังสือ ที่มีอยู่ในจารีตและปิดความคิดของท่านแล้ว ประตูของอิจญ์ติฮาด (การใช้เหตุผล) ก็จะปิดลงด้วย นับเวลาจากนี้ไปพวกท่านก็ปฏิบัติตาม แต่ไม่ได้ใช้ความคิด ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นทั่วภูมิภาค การพูดที่นำไปสู่ความเกลียดชัง นี่ท่าน นี่ผม ทรรศนะในการแบ่งแยกนี้ ชนิดของการแยกตัวในเวลานี้ นี่พวกเราและพวกเขา นี่ผม นี่ท่าน มิได้ได้ขยายตัวออกไปเท่านั้น แต่ยังท้าทายพวกเราทุกคนในทะเลอันกว้างใหญ่ที่เรียกกันว่า Asean อีกด้วย

ASEAN นั้นมีความหลากหลายอยู่อย่างมหาศาล เพียงแต่แค่เปิดใจให้แก่การเคารพกันและกัน ร่วมมือซึ่งกันและกัน พยายามเข้าใจกัน เพื่อจะเริ่มต้นสิ่งเหล่านี้ ท่านไม่อาจจะยึดชุดความคิดที่ตายตัวได้ หรือไม่อาจสัมผัสได้อีกต่อไป

สุลต่านยะโฮร์ (Yahore) กล่าวว่า หากว่าผมจะจับมือกับสตรีมันก็เป็นเรื่องของผม อย่ามาบอกผมว่าหะรอม (ต้องห้าม) ผมหมายถึงว่าสิ่งเหล่านี้ด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง บางครั้งมันแสดงถึงการปรับให้เหมาะสม และความเป็นสายกลาง สิ่งเหล่านี้คือการปรับตัวเองเข้าหากันและกันที่มีมาแล้วหลายชั่วอายุคน

เราต้องอยู่กับมัน

 

ผมขอทิ้งระเบิดอีกลูกคือ เมื่อท่านใช้ความสุดโต่งในทางการเมือง เศรษฐกิจ การปกครองและสังคมของท่าน เมื่อท่านรู้จักแต่การใช้อำนาจ เมื่อรัฐบาลและรัฐให้ทุกอย่าง ท่านก็ไม่ต้องการจะถามแต่เรารู้ว่าท่านต้องการอะไร เมื่อเราพอเพียงเมื่อถูกให้ ถูกเอาใจ เราก็ไม่ต้องต่อสู้

แต่ในทันทีที่พวกเขาต้องเผชิญกับการเปิดกว้างและมีความยากลำบากมากที่จะเข้าใจความหลากหลายที่มีอยู่ที่นั่น ซึ่งมันไม่เหมือนกับสิ่งที่เราคุ้นเคยอยู่ ดังนั้น ความรู้สึกห่างเหิน ความรู้สึกว่าไม่ค่อยมีที่มา ไม่ค่อยมั่นคง ไม่ค่อยสะดวกสบายจนกว่าท่านจะทำให้เหมือนกับเรา และเชื่อเหมือนกัน ปฏิเสธเหมือนกัน จนกระทั่งยอมรับเอาการตีความของเราไปด้วย

ครั้งหนึ่งผมในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศนี้เดินทางไปเยือนอิหร่าน และพิธีการทูตก็คือรัฐมนตรีต่างประเทศจะได้รับมิตรไมตรีจากผู้นำรัฐผู้เป็นประธานาธิบดี

ผู้นำรัฐในตอนนั้นเป็นมุฮัมมัด คอตอมี (Muhammad Khatami) ซึ่งเป็นผู้ที่เสนอให้สหประชาชาติควรมีการเสวนาในหมู่วัฒนธรรมก่อนเหตุการณ์ 9/11 หนึ่งปี

ตามที่ผมรู้ เขาศึกษาปรัชญาในอิหร่านก่อนจะออกจากประเทศไป เขาไปเยอรมนี เขาได้ปริญญาเอกจากที่นั่น ผมคิดว่าจาก Humboldt และผมถามเขาถึงคำถามนี้

ในการประชุมคณะรัฐมนตรีของเขา เพื่อนของผมอย่างฏอริก เราะมะฎอน (Tariq Ramadan) อาจจะไม่เห็นด้วย อย่างเช่น เมื่อเขาพูดว่าชาวมุสลิมในยุโรปจะต้องหาบ้านของพวกเขาในยุโรป พยายามสร้างความรู้สึกที่มีต่อสิ่งแวดล้อม สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวัฒนธรรมของยุโรป

ท่านไม่สามารถอยู่ในยุโรปด้วยความปรารถนาที่จะมีสิ่งแวดล้อมที่เหมือนกับแอฟริกาเหนือและสร้างการเป็นอยู่ของตัวเองในบริบทของยุโรป ซึ่งจำเป็นต้องมีสิ่งที่อิบนุ ค็อลดูนเรียกว่าอุปนิสัยของความสามารถในการเรียนรู้และใช้เหตุผล (Habit of Intellection)

ในงานวิจัยที่ท่านต้องการจะทำกับนักวิชาการเพื่อสันติ (Schoolars for peace) ดะโต๊ะผมขอขอบคุณท่านในฐานะเอกอัครราชทูตที่ได้สนับสนุนความพยายามนี้

พวกเราแต่ละคนในฐานะที่เป็นประชาคมด้วย หาทางที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมนี้เอาไว้ นั่นคือพหุนิยมอันเป็นลักษณะของโลกาภิวัตน์และเป็นเรื่องของโลกสมัยใหม่อย่างแท้จริง

 

มีพวกเราอยู่ 1.2 พันล้านคน ผมมิได้พูดถึงชาวมุสลิมจากจำนวน 7.4 พันล้านผู้เป็นนักท่องเที่ยวอยู่รอบโลกและในหมู่คนเหล่านี้จำนวนมากที่เป็นชาวมุสลิม

ราว 100 ล้านคนเป็นผู้อพยพ ราว 300 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัย และผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม หนีจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เราต้องตอบคำถามว่าทำไมเรากำลังทำให้ผู้อพยพเหล่านั้นเผชิญกับอันตราย จะด้วยเหตุผลใดก็ตามเราก็ไม่อยากจะถาม อย่างไรก็ดี การกลับบ้านก็ไม่มีใครปกป้อง ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีความมั่นใจ

ดังนั้น เมื่อท่านเคลื่อนตัว เราก็เคลื่อนตัว และประชาชนที่เราพบเจอก็คือผู้ที่มีความแตกต่างกัน ความหลากหลายเป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ แต่เราต้องทำให้ความหลากหลายมีความหมาย

ไม่เป็นการเพียงพอที่จะกล่าวว่าใช่แล้ว มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาจากหนึ่งคู่ อาดัมและฮาวา ดังนั้น เราจึงเป็นพี่น้องกัน

นั่นเป็นสาร แต่เราเข้าใจจิตวิญญาณของสารนั้นแล้วเราทำให้สารนั้นมีชีวิตต่อไป?

แล้วเรานำมันมาใช้และทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราหรือไม่?

แล้วเราเคารพท่าน ท่านเคารพเราหรือไม่ ไปด้วยกันเพื่อการประนีประนอม และเราต้องการสันติภาพความปรองดองในประชาชนของเรา ในประเทศของเรา และในสังคมของเรา