33 ปี ชีวิตสีกากี (60) | เหตุแห่งการตาย…ตายผิดธรรมชาติมีอะไรบ้าง

พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์

 

การตรวจบาดแผลคนตาย

1. จำนวนของบาดแผล ทำให้รู้ถึงจิตใจของคนร้าย หรือรุมแทง

2. ตำแหน่งของบาดแผล

– ต่ำกว่าศอก ต่อสู้ป้องกันตัว

– เป็นความถนัดของตนหรือไม่ โดยดูจาก

ก. ทำตนเอง ต้องทำในท่าที่ถนัด

ข. ผู้อื่นทำ ทุกที่หรือทางด้านหลัง

ค. อุบัติเหตุ เป็นอย่างไรก็ได้ ทุกตำแหน่ง

3. รูปร่างของบาดแผล นึกถึงขนาด มีความกว้างยาว ลึก ลักษณะของขอบแผลเรียบหรือไม่เรียบ มีรอยช้ำหรือไม่

4. ชนิดของบาดแผล ฟกช้ำ แผลถูกปืน

5. เศษสิ่งของที่ติดอยู่ในแผล เช่น รอยสีกะเทาะติดอยู่ในแผล เศษดิน ทราย

6. ลักษณะรอยเลือดออกจากแผล

7. การอักเสบของแผล เกิดเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย และอยู่ในภาวะที่แบคทีเรียจะเจริญได้

 

เหตุที่ตายเนื่องจากบาดแผล

1. เสียเลือดมาก

2. ถูกอวัยวะสำคัญ

3. ช็อก

4. โรคแทรกซ้อน (การอักเสบ เช่น เชื้อบาดทะยัก, เชื้อ gas gangrene)

เหตุตายผิดธรรมชาติ

1. ถูกฆ่าตาย

2. ฆ่าตัวเอง

3. อุบัติเหตุ

4. สัตว์กัดตาย

5. ตายไม่ทราบสาเหตุ

 

เหตุตายทางนิติเวชวิทยา

1. บาดแผลต่างๆ

2. ความร้อน ความหนาว ไฟฟ้า ฟ้าผ่า รังสี กัมมันตภาพรังสี

3. ขาดอาหาร

4. ขาดอากาศ ตายในน้ำ

5. ตายจากสารพิษต่างๆ

ตายตามธรรมชาติ ป่วยตาย ไม่ต้องชันสูตรพลิกศพ เว้นแต่ตายในระหว่างควบคุม และกรณีที่ประหารชีวิต ตามคำพิพากษาของศาลก็ไม่ต้องชันสูตรพลิกศพ

– ในกรณีมีหลายแผล ก็ดูว่า ตายจากแผลใด โดยพิจารณาดูจากอวัยวะสำคัญ ซึ่งได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด ตับ หลอดเลือดใหญ่

– แผลที่พบเกิดจากอะไร ดูจากลักษณะและร่องรอยของบาดแผลจากการชันสูตรพลิกศพ เช่น ถูกรถชน ก็อาจมีรอยสีกะเทาะติดอยู่ ถ้าแผลเป็นรอยแฉก ก็อาจถูกเหล็กขูดชาร์ฟก็ได้

– ทำร้ายด้วยอาวุธของกลางนั้นหรือไม่

วิธีดู

– รูปรอย เข้ากับของกลางหรือไม่

– รอยเลือด โดยพิสูจน์ว่าเป็น

ก. รอยเลือดหรือน้ำหมาก

ข. เลือดคนหรือสัตว์

ค. เลือดคนเป็นกรุ๊บใด

– บาดแผลเกิดขึ้นก่อนตายหรือหลังตาย

วิธีดู

1. ดูรอยเลือด ถ้ามีรอยเลือดเป็นฝอยๆ จุดๆ แสดงว่า เกิดก่อนตาย เพราะว่าหลอดเลือดแดงถูกตัดขาด ซึ่งเลือดจะพุ่งตามจังหวะของหัวใจ และจะพุ่งเป็นฝอย แต่ถ้าเป็นรอยเลือดไหลรินธรรมดา ไม่มีจังหวะพุ่ง แสดงว่าหัวใจไม่เต้นและเลือดจะมีสีเข้ม เพราะว่าขาด O2

2. ลักษณะขอบแผล ถ้าขอบแผลย่นยู่ แสดงว่าเกิดก่อนตาย เพราะว่า ผิวหนังคนมีความยืดหยุ่น แต่ถ้าขอบแผลแบะออก แสดงว่าเกิดขึ้นหลังตาย ความยืดหยุ่นหมดไป

3. การอักเสบ ถ้าพบบาดแผลมีการอักเสบ แสดงว่าแผลนั้นเกิดขึ้นก่อนตาย เช่น มีรอยบวมแดง เป็นหนอง

4. รอยแผลเป็นหรือการหายของแผล ถ้าพบแสดงว่าเกิดก่อนตาย

– แผลนี้ตายทันทีหรือไม่

ดูตำแหน่งของแผล เช่น ที่ศีรษะ หัวใจ น่าจะตายทันที แต่ก็มีข้อยกเว้น แผลนี้…พูดได้ไหม ดูจากตำแหน่งบาดแผล เช่น ถูกเชือดคอ

บาดแผลกระดูกหัก ใช้เวลารักษาเกินกว่า 20 วัน

 

พ.ต.อ.นพ.ประเวศน์ คุ้มภัย ได้บรรยายหัวใจของวิชานิติเวชวิทยา พนักงานสอบสวนจะต้องมีความเข้าใจให้ได้

บาดแผลกระสุนปืน

สิ่งที่ออกจากปากกระบอกปืน เมื่อยิงปืน

1. ลูกปืน

2. เขม่า, ควัน, กากดินที่เผาไหม้ไม่หมด, หมอนกระสุน (ปืนลูกซอง), เศษโลหะ ตะกั่ว พลวง (แอนติโมนี)—ส่วนผสมของปลอกกระสุนทำให้มันแข็ง

3. gas แรงอัด

4. เปลวไฟความร้อน

ทั้งหมดจะไปติดที่แผลกระสุนปืนเข้า จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ

– ระยะปากกระบอกห่างเป้า

ปืนสั้นห่างตั้งแต่ 5-30 ซ.ม. ทั้ง 4 อย่างจะติดอยู่

– ถ้ายิงที่ศีรษะ แผลกระสุนปืนเข้า จะโตกว่าแผลกระสุนปืนออก

แผลกระสุนปืนเข้า โดยทั่วๆ ไปจะเล็กกว่าแผลกระสุนปืนออก ยกเว้นแผลที่ยิงระยะประชิด บริเวณที่มีกระดูกรองรับ แผลกระสุนปืนเข้าจะใหญ่กว่าแผลกระสุนปืนออกเพราะแรงดันของ gas จะทำให้แผลฉีกออกไป และเปลวไฟจะทำให้มีรอยไหม้

ส่วนสิ่งต่างๆ ที่ออกมา จะมีปรากฏมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะยิงโดยใช้ Atomic Absorbtion ตรวจบาดแผล โดยคนที่มีชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 ช.ม. ส่วนคนที่เสียชีวิตไม่เกิน 24 ช.ม.จะตรวจได้

สิ่งที่จะไปติดอยู่ที่แผลกระสุนปืนเข้า จะพบเมื่อปืนยาวยิงในระยะไม่เกิน 18-24 นิ้ว จะพบทั้ง 4 อย่างติดอยู่

แผลกระสุนปืนเข้า อาจใหญ่กว่าแผลกระสุนปืนออกได้ เพราะแรงดัน gas ที่ออกจากปากกระบอกปืน ทำให้แผลฉีกออกไป ตรงบริเวณแผลกระสุนปืนเข้าจะมีรอยจุดๆ รอบๆ แผล ซึ่งเกิดจากกากดินที่ยังเผาไหม้ไม่หมด และเศษโลหะ แต่บางรายเห็นดำเป็นปื้นไปเลย ซึ่งรอยดำปื้นที่เกิดขึ้นนี้ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินปืน ซึ่งมี 3 ชนิด คือ

– ดินดำ Black powder จะมีเศษดินดำมาก

– ดินควันน้อย Smokeless (ดินควันน้อยหรือกึ่งควันน้อย จะมากหรือน้อยต่างกันโดยอาศัยการสันนิษฐาน)

– ดินกึ่งควันน้อย Semi Smokeless

ถ้าจ่อยิงประชิด จะมีรอยปากกระบอกปืนเป็นรอยขอบช้ำ

ถ้าปากกระบอกปืนตั้งฉากกับลำตัว กับปากกระบอกปืนเฉียงจะต่างกันที่รูปรอยกับรอยที่บริเวณขอบแผล

ลักษณะการใช้ปืนยิง สังเกตได้จาก

– รูปรอย

– ลักษณะขอบแผล

ถ้ายิงเข้าแขน แล้วมาทะลุตัว แผลของแขนด้านในกับตัวด้านนอกจะคล้ายคลึงกัน

แผลกระสุนปืนลูกซองเข้า

จะมีกลุ่มกระสุนปืน อาจมีหมอนกระสุนเป็นรอยกระทบ เป็นรอยช้ำ ถ้าจ่อชิดเลยจะปรากฏเป็นรอยทะลุ ซึ่งเม็ดกระสุนและหมอนกระสุนจะเข้าไป ขอบจะช้ำ วิธีดู ก็นับเม็ดจากรูเข้า หารัศมีของกลุ่มกระสุน ทำให้รู้ชนิดปืน และนำไปยิงทดสอบระยะได้

เม็ดกระสุนและหมอนกระสุนเข้าไปในแผล

การตรวจแผลกระสุนปืน

1. จำนวนแผล มีกี่รู มากเท่าไร

2. ตำแหน่งของแผล

3. รูปร่างและขนาดของแผล

– แผลเข้า…ยิง

– แผลออก

– ระยะยิง

4. ทิศทาง

เป็นตำรวจฝ่ายสอบสวนและสืบสวน จะต้องรู้วิชาการเกี่ยวกับนิติเวชให้มากๆ จะทำให้ทำงานสะดวก มีความเข้าใจ และใช้คาดการณ์ ตั้งสมมุติฐานการก่อเหตุของคนร้ายได้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง