เมียนมากับความไม่มั่นคงพลังงานไทย | อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

เมียนมานับเป็นแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติของไทยที่ไร้เสถียรภาพและจะมีผลต่อการส่งก๊าซธรรมชาติให้ไทย

นับตั้งแต่ 2 ปีหลังจากรัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ 2021 เมียนมายังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ลึกมาก ด้วยเศรษฐกิจย่ำแย่และผู้คนเป็นล้านต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

แม้ว่ากำลังทหารรัฐบาลใช้ความป่าเถื่อนและกดขี่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล แต่การต่อต้านของประชาชนขยายตัวในวงกว้างต่อไป ทั้งไม่ใช้ความรุนแรงและใช้ความรุนแรงทั่วประเทศ

ความขัดแย้งยังเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ณ ที่อาศัยของกองกำลังชนกลุ่มน้อย

และในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ยังไม่มีแนวทางที่เป็นจริง เรื่องการส่งกลับประเทศคนโรฮิงญามากกว่าล้านคนที่ได้รับความรุนแรงในรัฐยะไข่และต้องลี้ภัยไปบังกลาเทศ

การศึกษานี้พบว่าตัวชี้วัดมหภาคแสดงว่า1 เศรษฐกิจเมียนมามีเสถียรภาพเพียง 20% อัตราความยากจนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมเลวร้ายมาก ระบบสาธารณสุขและการศึกษายังอลหม่าน คนมากกว่า 1.5 ล้านคนถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยเนื่องจากความขัดแย้งหลังรัฐประหาร

 

สหภาพยุโรปมีมาตรการแซงก์ชั่นเมียนมาเข้มข้น กล่าวคือ

1. สหภาพยุโรปและชาติสมาชิกแสดงจุดยืนชัดเจนไม่ให้เครดิตการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น2 หรือความชอบธรรมที่มาจากการใช้ความรุนแรง บรรยากาศแห่งความกลัวจากระบอบการเมืองทหาร

สหภาพยุโรปถือว่า การเลือกตั้งถูกจัดขึ้นโดยทหารกลุ่มเดิมในปี 2020 ความจริงคือ มีการจับกุมหรือสังหารผู้นำ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกของพรรคที่ชนะการเลือกตั้ง

สหภาพยุโรปและชาติสมาชิกกระตุ้นพันธมิตรนานาชาติให้ผูกพัน รวมทั้งทำงานร่วมกับอาเซียนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สร้างฉันทานุมัตินานาชาติและร่วมมือส่งสัญญาณเหมือนๆ กัน การขาดแผนการออกจากวิกฤตอย่างชัดเจนของเมียนมา มีความเสี่ยงสูงสำหรับบางรัฐบาลในเอเชีย

2. สหภาพยุโรปและชาติสมาชิกมีแรงคัดง้างจำกัดกับพวกนายพลเมียนมา ดังนั้น พวกเขาควรทำงานใกล้ชิดกับประเทศอื่นๆ เพื่อให้มีสถานภาพดีขึ้น ในบรรดาผู้เล่นที่มีอิทธิพลมากกว่า ได้แก่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อาเซียน อินเดีย ญี่ปุ่นและจีน

3. สหภาพยุโรปดำเนินการพัฒนากรอบการแซงชั่นเมียนมา โดยเน้นผลประโยชน์ของทหารและธุรกิจของทหาร สหภาพยุโรปควรขยายเป้าหมายการแซงก์ชั่นไปที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารที่รับผิดชอบการกดขี่และบีบบังคับหลังการรัฐประหาร รวมถึงความสัมพันธ์กับบริษัทที่ทหารเป็นเจ้าของหรือที่ทหารเกี่ยวข้อง

4. สหภาพยุโรปและชาติสมาชิกควรหลีกเลี่ยงการรับรองความชอบธรรมต่อระบอบการเมืองหลังรัฐประหาร ในขณะที่รักษาความผูกพันกับผู้เล่นสำคัญกลุ่มต่างๆ ที่มีบทบาทเปลี่ยนแปลงภายในประเทศ

พวกเขาควรผูกพันกับ National Unity Government และผู้เล่นคนสำคัญ รวมทั้งคนกลุ่มน้อยติดอาวุธ และตัวแทนประชาสังคมมากขึ้น

ควรสนับสนุนบทบาทของอาเซียนต่อไป และผู้แทนพิเศษองค์การสหประชาชาติ แล้วติดตามเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อสามารถตอบโต้สถานกาณ์อย่างทันท่วงที และเรียกร้องข้อริเริ่มทางการทูต

สรุป กรอบการแซงก์ชั่นของสหภาพยุโรปและชาติสมาชิกจะกระทบการผลิตและส่งออกพลังงานคือ ก๊าซธรรมชาติให้ไทยโดยตรง และจะกระทบต่อไปตราบเท่าที่เมียนมายังถูกปกครองด้วยทหาร

 

12 ธันวาคม 2023 สหภาพยุโรปดำเนินการแซงก์ชั่นบุคคลสำคัญของรัฐบาลเมียนมาคือ Lieutenant General Nyo Saw ที่ปรึกษา พลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย (Min Aung Hlaing)

เขาเป็นประธานพิจารณาการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย ประเทศผู้ขายอาวุธให้เมียนมา

เขาเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของครองครัว มิน อ่อง ลาย ถูกขนานนามว่า คนที่ไว้วางใจของครอบครัว มิน อ่อง ลาย พร้อมแซงก์ชั่นบริษัท Star Sapphire Group of Companies และ Royal Shune Let Co. Ltd ซึ่งถูกกล่าวหาว่าหารายได้จากการค้าอาวุธและอุปกรณ์ให้กับทหาร สหภาพยุโรปประกาศห้ามการเดินทางไปยุโรปและยึดทรัพย์สินของบุคคลที่อยู่ในสหภาพยุโรป

ปัจจุบันสหภาพยุโรปแซงก์ชั่นผู้นำเมียนมา 103 คน และ 12 หน่วยงาน3

มาตรการเหล่านี้ย่อมกระทบการผลิตและขนส่งพลังงานไปต่างประเทศ รวมทั้งต่อไทยด้วย

ในเวลาเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ออกมาตรการแซงก์ชั่นเข้มงวดต่อเมียนมา 31 ตุลาคม 2023 เป็นครั้งแรกที่สหรัฐอเมริกาแซงก์ชั่นตรงไปที่เมียนมา4

สหรัฐอเมริกาโดย Treasury’s Office of Foreign Asset Control ร่วมมือกับแคนาดาและสหราชอาณาจักรประกาศมาตรการแซงก์ชั่นเมียนมาตรงไปที่ Myanmar Oil and Gas Enterprise-MOGE ซึ่งเป็นบริษัทรัฐบาลสำคัญที่ลงทุนและค้าขายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

โดยห้ามบริษัทอเมริกันส่งออกหรือ reexport การบริการทางการเงิน ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ/หรือสำหรับผลประโยชน์ของ MOGE โดยให้มีผลนับตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2023

กระทรวงการคลังสหรัฐถือว่า MOGE ใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐที่เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศทุกปี แล้วรัฐบาลทหารเมียนมานำไปซื้ออาวุธและอุปกรณ์ทางทหารจากต่างประเทศ5 มาใช้สังหารฝ่ายต่อต้าน ชนกลุ่มน้อยและประชาชน

 

การแซงก์ชั่นนี้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงพลังงานของทั้งไทยและจีน

เมียนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติทั้งหมดจากแหล่งผลิตหลักนอกชายฝั่ง แหล่ง Yanada, Yetagun และ Zawtika เป็นก๊าซธรรมชาติราว 2 ใน 3 ของไทย และอันดับ 3 ในมณฑลตอนใต้ของจีน6

เมื่อเกิดรัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ 2021 ข้อมูลจาก SPGLOBAL ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติราว 32.2% ประกอบด้วยมาจากท่อส่งก๊าซธรรมชาติเมียนมา 15% และ 18% เป็น LNG จากการขนส่งทางทะเล

ปี 2022 ไทยพึ่งพา LNG เพิ่มขึ้นเป็น 22% และก๊าซธรรมชาติจากเมียนมา 16% ตามข้อมูลกระทรวงพลังงานของไทย

นี่เป็นปริมาณทั้งหมดของไทยใช้ผสมเพื่อผลิตพลังงานในประเทศ7

ประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและสิงคโปร์ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและด้านพลังงานในเมียนมาก่อนเกิดรัฐประหารกุมภาพันธ์ 2021 โครงการต้นน้ำออกแบบมาช่วยเมียนมาผลิตและส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นรายได้เข้าประเทศ

แต่ตอนนี้นักลงทุนหนีออกจากเมียนมาหมดแล้ว และการแซงก์ชั่นล่าสุดของสหรัฐอเมริกาปิดหนทางลงทุนโครงการน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอนาคต8

 

รัฐประหารเมียนมา
กับจุดจบพลังงานก๊าซของไทย

ท่ามกลางความต้องการก๊าซธรรมชาติจากเมียนมามากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของไทย ถึงแม้ชาติมหาอำนาจคือ สหรัฐอเมริกา สหภายยุโรปและพันธมิตรจะไม่ใช้มาตรการแซงก์ชั่นเมียนมา แต่การรัฐประหารกุมภาพันธ์ 2021 ได้ลดทอนความสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติทั้งเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าและเพื่อการส่งออกมาไทยและมณฑลยูนนาน ของจีน อันเป็นรายได้สำคัญของเมียนมาลดลงอย่างรวดเร็ว

เท่ากับว่าไทยไม่สามารถพึ่งพิงแหล่งก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาได้อีกแล้ว แล้วยังส่งผลการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

การต่อต้านรัฐบาลของฝ่ายค้านและกองกำลังชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ในเมียนมาเป็นภัยคุกคามต่อรัฐบาลทหารด้านพลังงานและความชอบธรรมทางการเมืองด้วย

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากมณฑลยูนนาน จีนเข้าเมียนมามากขึ้นหลายเท่า ตามรายงานของธนาคารโลก รัฐบาลทหารเมียนมากำลังผลักดันการเจรจาทำ grid ส่งกระแสไฟฟ้ากับรัฐบาลจีนและ สปป.ลาว

ด้วยการขยายวงกว้างของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทางตอนเหนือของรัฐ Shan รัฐบาลต้องส่งทหารเข้าไปในพื้นที่ที่กว้างมากและคอยคุ้มครองการค้าชายแดนตอนเหนือที่ติดกับจีน จนต้องมีการนำเข้าดีเซลมาใช้เพื่อปฏิบัติการทหาร เกิดการขาดแคลนดีเซล ทำให้เกิดวิกฤตกาณ์พลังงาน9

ตอนนี้ปั๊มน้ำมันในเมืองย่างกุ้งน้ำมันหมด บางที่ต้องต่อคิวยาวจึงจะได้น้ำมัน

หลังรัฐประหารรัฐบาลทหารขึ้นค่าไฟฟ้าเพิ่ม 8-10 ครั้ง แสดงว่าการผลิตก๊าซธรรมชาติลดลง และรัฐบาลทหารกักตุนดีเซล

ทั้งจีนและ สปป.ลาวได้ส่งออกพลังงานเข้าเมียนมามากขึ้น ก่อนการรัฐประหารเมียนมาเคยเป็นประเทศใช้ภาษีพลังงานต่ำสุดในโลกเพื่อรายได้จากการส่งก๊าซธรรมชาติไปไทยและจีนอันเป็นรายได้สำคัญของรัฐบาล10

ตอนนี้รัฐบาลทหารขาดความสามารถในการปฏิบัติการทหาร รวมทั้งการจัดซื้ออาวุธ แล้วครึ่งหนึ่งของการผลิตกระแสไฟฟ้ามาจากก๊าซธรรมชาติ และการส่งออกก๊าซธรรมชาติเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้ประเทศ

ช่วงก่อนรัฐประหารเมียนมาผลิตกระแสไฟฟ้า 4,000 MG ไม่กี่เดือนที่ผ่านมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียง 2,500 และ 2,600 MG ที่แย่ที่สุด นักลงทุนรายใหญ่ที่พัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ TOTAL ของฝรั่งเศส Woodside ของออสเตรเลียได้ถอนตัวออกจากโครงการ11

ผลผลิตก๊าซธรรมชาติของแหล่ง Yanada ตกลง นับจากกลางปี 2022

แหล่งก๊าซธรรมชาติด้านตะวันตกของเมียนมา Rakhie Shwe คาดว่าผลผลิตตกลงในปี 2026 มีผลต่อการส่งออกก๊าซธรรมชาติไปไทยและมณฑลยูนนานของจีน การผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่ง Yanada และแหล่ง Zawtihat Shwe คาดว่าลดลงอย่างรวดเร็วระหว่างปี 2025-2023 บริษัท PTT Exploration and Production เป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Yanada และ Zawtihat ส่วนแหล่ง Shwe บริหารโดย Posco International ของเกาหลีใต้12

เท่ากับว่า ช่วงบูมของก๊าซเมียนมานับตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 ถึงต้นทศวรรษ 2000 กำลังสิ้นสุดลง ที่สำคัญแหล่งรายได้หลายๆ หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เมียนมาและรัฐบาลตอนนี้ที่ยาวนาน 25 ปีสิ้นสุดลงด้วย

ที่สำคัญสำหรับไทย ก๊าซธรรมชาติเมียนมาแหล่งพลังงานหลักของพลังงานไทยสิ้นสุดลงด้วย ความมั่นคงพลังงานไทยไม่มั่นคงอีกแล้ว

 


1Crisis Group Watch list 2023, “Myanmar : Post Coup Crisis and Flawed Election” 31 January 2023, : 1-2.

2พลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย หัวหน้าคณะรัฐประหารประกาศจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป กลางปี 2023 เพื่อให้เมียนมากลับสู่รัฐบาลพลเรือน

3″EU Adds Myanmar Junta Chiefs Business Supromo to Sanction list” The Irrawady, 12 December 2023, _1-2.

421 มิถุนายน 2023 กระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาออกมาตรการแซงก์ชั่น MOGR และ Myanmar Foreign Trade Bank-MFTB อ้างว่ากระทรวงกลาโหมเมียนมานำเข้าสินค้าและวัสดุมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐนับตั้งแต่รัฐประหารกุมภาพันธ์ 2023 อ้างจาก “Treasury Sanctions Burma’s Ministry of Defense and Regime Controlled Financial Institution” Treasury News Press Release, 21 June 2023

5“US sanctions on Myanmar pose hurdles for gas exports to Thailand, China” SPGLOBAL,7 November 2023

6Ibid, 1, “US imposes sanctions lucrative Myanmar state oil firm” Bangkok Post 1 November 2023

7“US imposes sanctions lucrative Myanmar state oil firm” Bangkok Post 1 November 2023.

8Ibid.,

9Thompson Chau, “For Myanmar’s general’s, energy crisis threaten shaky grip on power” Aljazeera, 11 December 2023, : 1.

10Ibid., 2

11Ibid., 3

12Ibid.,