มองไทยใหม่ : การใช้รูปวรรณยุกต์ในภาษาไทย-มาตรฐานเขียนคำในภาษาท้องถิ่น

วรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นและภาษาท้องถิ่น (๓)

ย้อนอ่าน ตอน ๒  ตอน ๑

เมื่อคราวก่อนได้กล่าวถึงการใช้รูปวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานเขียนคำในภาษาไทยถิ่น ซึ่งมีระดับเสียงไม่ตรงกับภาษาไทยมาตรฐานมาแล้ว

คราวนี้จะได้กล่าวถึงการใช้รูปวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานเขียนคำในภาษาท้องถิ่นบ้าง

ภาษาท้องถิ่นที่ว่านี้ก็คือภาษาที่ใช้ในกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ ได้สรุปไว้ในหนังสือ แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยว่า มีภาษาดังกล่าวอยู่ ๗๐ ภาษาที่อยู่ในภาวะวิกฤต ด้วยเหตุผลต่างๆ รวมทั้งเรื่องการไม่มีตัวเขียนเพื่อจดบันทึกเรื่องราวของตนเองด้วย

ราชบัณฑิตยสถาน/สภาได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทยขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อทำหน้าที่สร้างระบบเขียนให้แก่ภาษาดังกล่าวโดยใช้อักษรไทย

คอลัมน์ “มองไทยใหม่” ได้เคยให้ความเห็นไว้ในเรื่อง “หาก ก ถึง ฮ มีลักษณะสากล” ไปแล้ว (มติชนสุดสัปดาห์ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๘) โดยชี้ให้เห็นว่า ระบบการเขียนภาษาไทยในปัจจุบัน “ใช้ได้เฉพาะกับภาษาไทยถิ่นที่ได้พัฒนาขึ้นเป็นภาษากลางหรือภาษามาตรฐานเท่านั้น หาได้ใช้กับภาษาไทยถิ่นทั่วประเทศไม่ เพราะไม่มีสัญลักษณ์ใดที่ใช้เป็นตัวแทนของเสียงบางเสียงของภาษาถิ่นได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ในภาษามาตรฐานนั้นมีเสียงวรรณยุกต์ ๕ ระดับ คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา และมีเครื่องหมายใช้ ๔ เครื่องหมายคือ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา อักขรวิธีของภาษาไทยมาตรฐานจึงมีลักษณะเฉพาะที่ต้องเรียนรู้ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ชุดตัวอักษรไทยมี ค่าเสียง เฉพาะสำหรับภาษาไทยมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งต่างจากชุดอักษรโรมันที่มีการกำหนด ค่าเสียง ไปตามภาษาต่างๆ ที่นำไปใช้ ในแง่นี้ชุดอักษรโรมันจึงมีลักษณะเป็นสากล แต่ชุดอักษรไทยไม่มีลักษณะสากล”

 

ภาษาเขมรถิ่นไทยอักษรไทย ใช้จุดร่วมกับเครื่องหมายสระ โดยจุดจะกำกับอยู่ใต้พยัญชนะ เช่น กฺ “เขา” เครื่องหมายจุดที่ใช้ร่วมกับสระอีแสดงว่าเสียงนี้เป็นเสียงระหว่างสระอีกับสระเอ

ภาษาทั้ง ๓ ภาษาที่ยกตัวอย่างข้างต้นนี้ล้วนแต่เป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ จึงเลือกใช้แต่อักษรกลางและอักษรต่ำมาเป็นตัวแทน โดยไม่คำนึงถึงการกำหนดเสียงสูงต่ำในพยัญชนะตามที่กำหนดเป็นอักษร ๓ หมู่ในภาษาไทยมาตรฐาน

 

ตัวอย่างของภาษาที่ใช้ระบบดังกล่าวก็คือ ภาษาบีซู ซึ่งใช้ในเชียงราย

วิธีนี้ทำให้เด็กบีซูสามารถเรียนรู้ระบบเขียนของตนได้อย่างรวดเร็ว ดังที่ Dr.Kirk Person แห่งมหาวิทยาลัยพายัพ ได้รายงานไว้ในบทความเรื่อง “Orthography Creation and Revision in Bisu : A Drama in Three Acts” และยังให้ข้อมูลต่อมาอีกว่า เมื่อเด็กบีซูเริ่มเรียนภาษาไทยมาตรฐานก็จะมีพื้นฐานเรื่องระบบวรรณยุกต์ระบบเดียวมาก่อนแล้ว และสามารถต่อยอดไปเรียนระบบวรรณยุกต์ ๓ ระบบของภาษาไทยมาตรฐานได้โดยง่าย ซึ่งตรงกับหลักการเรียนรู้ว่า เรียนจากสิ่งง่ายไปหาสิ่งที่ยากกว่า

เพราะฉะนั้น ระดับเสียงวรรณยุกต์และเครื่องหมายวรรณยุกต์จึงเป็นเรื่องของการกำหนดใช้ให้เหมาะสมในแต่ละภาษาเท่านั้น หาใช่สิ่งที่มีความหมายตายตัวไม่