เยอรมนีมองโลก

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

“…รัสเซียนั้นคือพายุ ส่วนจีนเป็นสภาวะโลกร้อน…”

วาทะจากหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับภายในประเทศ นักการเมืองคนสำคัญคนหนึ่งของรัฐบาลเยอรมนีของนายกรัฐมนตรี Olaf Scholz

เยอรมนีชาติมหาอำนาจที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป อีกทั้งยังมีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์อันทันสมัย ยังไม่รวมถึงเทคโนโลยีล้ำหน้าและพัฒนาตลอดเวลา

ยิ่งคุณภาพและความสามารถของคนเยอรมันด้วยแล้ว ประวัติศาสตร์ยังบอกอนาคตด้วยว่า เยอรมนีเป็นชาติมหาอำนาจของโลกในหลากหลายมิติ

ดังนั้น เราจึงควรศึกษาและเรียนรู้การมองโลกในปัจจุบันและอนาคตของผู้นำเยอรมนี

ทั้งนี้ ด้วยวาระครบรอบความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี 170 ปี จึงขอเริ่มต้นด้วยคำโปรยของผู้นำเยอรมนีถึงรัสเซียและจีนเป็นเบื้องต้น

 

เยอรมนี
ท่ามกลางความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศ

มีบางประเทศเท่านั้นให้คำมั่นสัญญาต่อปฏิสัมพันธ์หลังสงครามเย็นเท่ากับเยอรมนี ทำให้ประเทศทั้งหลายถูกทำลายได้ในปัจจุบัน ปฏิสัมพันธ์ (interdependence) อย่างไร? และกับใคร? เยอรมนีถักทอความผูกพันต่างๆ อีกครั้ง เพื่อไปข้างหน้า สร้างตนเองเป็นรัฐที่เป็นแกน เผชิญกับระเบียบโลกที่แยกกันอยู่ต่อไป

เยอรมนียังยึดติดกับสหภาพยุโรป เยอรมนีพึ่งพิงสหรัฐอเมริกาด้านความมั่นคง สัมพันธ์กับรัสเซียด้านพลังงานราคาถูก หล่อเลี้ยงอุตสาหกรรมของตน และมองจีนเป็นตลาดหลักของเศรษฐกิจเพื่อการส่งออกที่สร้างความรุ่งเรืองให้เศรษฐกิจเยอรมนี

แต่นับจากกุมภาพันธ์ปีที่แล้วเมื่อรัสเซียรุกรานยูเครน เยอรมนีเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันประเทศมากกว่า 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เยอรมนียอมรับโดยเปิดเผยอย่างที่นายกรัฐมนตรีฟินแลนด์ Saana Marine ว่าไว้

“…ยุโรปไม่เข้มแข็งเพียงพอตอนนี้ เราจะมีปัญหามากหากไม่ได้เกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกาในสงครามในยูเครน ดังนั้น ยุโรปยอมรับว่า มันกลายเป็นพึ่งพาด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริกาน้อยไป ในอะไรที่กลายเป็นเพื่อนบ้านที่น่ากลัว…”

เยอรมนีรีบเร่งเปลี่ยนแปลงที่มาของการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย เป็นนอร์เวย์ กลุ่มประเทศเบเนลัก และฝรั่งเศส

ปรับทิศทางของปฏิสัมพันธ์เพื่อความมั่นคงทางดินแดนมากกว่าเดิม

แม้แต่ในพรรคกรีน (Green Party) ในรัฐบาลผสม ภายใต้สถานการณ์ต่างๆ พวกเขายังยอมรับการเปิดอีกครั้งของเหมืองถ่านหินที่ปิดตัวไปแล้ว และเลื่อนกำหนดการปิดอุตสาหกรรมนิวเคลียร์

ที่ไม่เปลี่ยนมากคือ การพึ่งพาเสาที่ 3 ของเยอรมนี คือ ความสัมพันธ์กับจีน นี่เป็นการหันเหจากยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกาที่ให้ชาติตะวันตกทำทุกอย่างปิดล้อมจีนและขัดขวางการทะยานขึ้นของจีน นี่คือ นโยบาย German’s Chinapolitik ที่ Nathan Gardels บรรณาธิการวารสาร Naema Magazine ใช้อธิบาย1

 

เยอรมนีกับหลักการ
อยู่ได้ด้วยตัวเอง (Autonomous)

ดังนั้น จึงมีการวิเคราะห์เยอรมนีว่า เยอรมนีเป็นตู้ใส่สินค้า (container) แทนที่จะปิดล้อม (containment) จีน

พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเยอรมนี Olaf Scholz เป็นผู้นำ G-7 คนแรกที่เดินทางไปพบประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนที่ปักกิ่งนับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19

เขาได้เดินทางร่วมกับซีอีโอระดับท็อปจาก Volkswagen ผู้ขายรถยนต์ในจีนราว 40% ประธานกลุ่มบริษัท Siemen และกลุ่มบริษัทด้านเคมี BASF ที่เป็นบริษัทของราว 46% ของเยอรมนีที่ซื้อสินค้าขั้นกลางจากจีน

นายกรัฐมนตรี Scholz ยังเกี่ยวอย่างลึกกับจีนด้วยการผลักดัน การซื้อบางส่วนในกลุ่มบริษัท Hamburg ที่ทำธุรกิจด้าน ตู้บรรจุสินค้า แม้รัฐวิสาหกิจจีน Cosco เจรจาลดการถือหุ้นในกิจการของบริษัท จาก 35% เหลือ 25%

นายกรัฐมนตรี Scholz เผชิญหน้าการต่อต้านไม่ใช่แค่จากสหรัฐอเมริกา แต่มาจากสมาชิกคนสำคัญในรัฐบาลของเขาเองด้วย

มีการประท้วงการซื้อสินค้าจีนที่ไม่เหมาะสม ทำให้เพิ่มอิทธิพลสำคัญของจีนต่อเยอรมนีและต่อโครงสร้างการขนส่งของยุโรป2

หัวหน้าหน่วยสืบราชการลับภายในของเยอรมนีวิจารณ์ว่า จีนเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศในระยะยาวมากกว่ารัสเซีย

ท่ามกลางการคัดค้านนโยบายของรัฐบาลเยอรมนีต่อจีน นายกรัฐมนตรี Scholz รับรู้ว่าการแยกตัวออกจากจีนจะมีผลต่อเศรษฐกิจเยอรมนี ในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่ต้องปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ในขณะที่ผ่านความวุ่นวายมากมายในปัจจุบัน นายกรัฐมนตรีไม่สามารถมองโลกแบบดำและขาว เขาทำความชัดเจนว่าที่ไหนควร ตีจากกลุ่มคลั่งไคล้อเมริกัน การทะยานขึ้นของจีนไม่รับประกันการโดดเดี่ยวจีน (Isolation) หรือร่วมมือกับจีนอย่างควบคุม

เขาลงมือเขียนบทความเรื่อง The Global Zeitenwende : How to avoid a New Cold War in a Multipolar Era3

Zeitenwende หลักการภาษาเยอรมันนี้ นายกรัฐมนตรี Scholz อธิบายแล้วผู้เขียนสรุปได้เป็น 2 หลักการสำคัญ กล่าวคือ

Zeitenwende ตีความหมายถึงจีน นายกรัฐมนตรี Scholz เขียนในบทความนี้ว่า

“…โลกกำลังเผชิญ Zeitenwende อันเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างความเปลี่ยนแปลง สงครามรัสเซียก้าวร้าวต่อยูเครนทำให้ยุคสมัยสิ้นสุด ตอนนี้อำนาจใหม่ต่างๆ ก่อตัวหรือก่อตัวใหม่อีกครั้ง ทั้งยังเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และยืนยันอย่างมั่นใจทางการเมืองต่อจีน ในโลกหลายขั้วใหม่ (new Multipolar) ประเทศที่มีความแตกต่างและมีรูปแบบรัฐบาลต่างๆ กำลังแข่งขันเพื่ออำนาจและอิทธิพล…”4

เขายังอธิบายต่อไปว่า Zeitenwende ข้ามพ้นสงครามยูเครน และข้ามพ้นประเด็นความมั่นคงของยุโรป คำถามกลางคือ เราสามารถอย่างไรในฐานะคนยุโรปและสหภาพยุโรป เรายังคงเป็นผู้เล่นอิสระในโลกหลายขั้วมากขึ้นได้อย่างไร?

ตรงนี้แหละที่ผู้นำเยอรมนีท่านนี้อธิบายเชื่อมโยง หมายถึงนโยบายของเยอรมนี อยู่ได้ด้วยตัวเอง (Autonomous) อย่างไร?

นายกรัฐมนตรี Scholz เขียนว่า

“…ความซับซ้อนในวันนี้ โลกหลายขั้วทำให้งานนี้กำลังท้าทายมากขึ้น เพื่อให้เยอรมนี และพันธมิตรในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา G-7 และองค์การนาโต ต้องปกป้องสังคมเปิดของเรา ยืนอยู่เพื่อคุณค่าประชาธิปไตยของเรา และสร้างความแข็งแกร่งให้กับพันธมิตรและหุ้นส่วนของเรา แต่เราต้องหลีกเลี่ยงอารมณ์หุนหันพลันแล่น แบ่งแยกโลกเข้าสู่ ‘ค่ายต่างๆ’ อีก นี่หมายความถึง ทำทุกวิถีทางสร้างหุ้นส่วนใหม่ ทำสิ่งที่ปฏิบัติได้ และไม่มีความสนุกสนานทางอุดมการณ์ ในวันนี้ โลกเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างแน่นหนา เป้าหมายสันติภาพที่ก้าวหน้า ความรุ่งเรือง และเสรีของความแตกต่างทางความคิด และเครื่องมือที่แตกต่าง”

“การพัฒนาความคิดและเครื่องมือเหล่านี้คือ อะไรที่ Zeitenwende เป็นทั้งหมด…”5

 

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เยอรมนีแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่อย่างรวดเร็ว

เยอรมนีเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอาวุธ

เยอรมนีให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป พัฒนาความร่วมมือทางการเมืองและการทหารกับสหรัฐอเมริกาและองค์การนาโต

แล้วนายกรัฐมนตรีก็มุ่งไปหาจีนที่เป็นตลาดใหญ่ เป็นฐานการลงทุนทางอุตสาหกรรมหลักและแห่งชาติของเยอรมนีคือ อุตสาหกรรมรถยนต์

การย้ำอีกครั้งในบทความของเขา6 ว่า การทะยานขึ้นของจีนไม่ได้รับรองปักกิ่งหรือควบคุมความร่วมมือ ตรงนี้เป็นทั้งการยอมรับโลกหลายขั้ว สร้างพันธมิตร ผูกพันหุ้นส่วนของเยอรมนี

นี่คือ นโยบายอยู่ได้ด้วยตัวเอง ของเยอรมนี

โลกหลายขั้วที่เยอรมนีมองเห็น เผชิญหน้า เป็นหนึ่งในอำนาจหลัก คงช่วยให้เราเรียนรู้การวางตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ อย่าใช้แต่การทูตเงียบๆ


1Noema Magazine 6 January 2023, : 1.

2“Germany struggles with its dependency on China” Financial Times, 2 February 2023.

3ตีพิมพ์ในวารสารด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Foreign Affairs, ฉบับ January/February 2023. วารสารอเมริกันทั้งเก่าแก่ร่วมศตวรรษและทรงพลังชนิดที่มีเรื่องเล่าขานว่า หากทางรัสเซียอยากล่วงรู้ความคิดเห็นของชนชั้นนำทางนโยบายต่างประเทศ หรือประเด็นลึกแบบวงใน (inside) ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร ผู้นำรัสเซีย (และชาติอื่นๆ) จะอ่านบทความในวารสารนี้

4Olaf Scholz, “The Global Zeitenwende : How to avoid a New Cold War in a Multipolar Era” Foreign Affairs, January/February 2023. : 3.

5Ibid., 6.

6Ibid.,