Spotify ‘บริษัทกำจัดชนชั้น’ ชนะเลิศ ‘องค์กรน่าทำงานที่สุด’ แห่งยุค/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

บทความพิเศษ

จักรกฤษณ์ สิริริน

 

Spotify ‘บริษัทกำจัดชนชั้น’

ชนะเลิศ ‘องค์กรน่าทำงานที่สุด’ แห่งยุค

 

นิตยสาร Newsweek รายงานผลการสำรวจ “บริษัทน่าทำงานมากที่สุด” ประจำปี ค.ศ.2021

ปรากฏว่า Spotify เจ้าของธุรกิจ Music Streaming ชื่อดังก้องโลก สัญชาติ Sweden มาเป็นอันดับ 1

เพราะยุคปัจจุบัน นอกจากจะปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาทองของ Music Streaming แล้ว

ต้องบอกว่า Spotify นั้น “ยืนหนึ่ง” ในหมู่ Platform การฟังเพลง Online ซึ่งได้รับความนิยมจากคน Generation ใหม่ในยุค Music Streaming อีกด้วย

Music Streaming หมายถึง บริการเผยแพร่ผลงานเพลงผ่านระบบ Internet ซึ่งถือเป็น Trend สำคัญของคน Generation ใหม่อย่างแท้จริง

ในฐานะดัชนีชี้วัดความนิยม ทั้งตัวศิลปิน และผลงาน ซึ่งมาแทนที่ Chart เพลงต่างๆ บนหน้าปัดวิทยุเกือบทุกประเทศในเวลานี้

Spotify ก่อตั้งโดย Daniel Ek หนุ่มใหญ่วัย 40 ผู้เป็นเจ้าของกิจการ In trend ระดับโลกมูลค่ากว่า 400 ล้านดอลลาร์!

เบื้องหลังความสำเร็จของ Spotify นอกจาก Lifestyle ของ Daniel Ek ที่เป็นคนรักดนตรี และพากเพียรพยายามเรียนรู้แทบจะทุกองค์ประกอบของโลกดนตรีมาตั้งแต่เด็ก

ไม่ว่าจะเป็น Vinyl (แผ่นเสียง), Cassette Tape (เทป), CD, MP3 และแน่นอน Music Streaming จนกลายมาเป็น Spotify เจ้าของธุรกิจให้บริการเผยแพร่ผลงานเพลงผ่านระบบ Internet นั่นเอง

เบื้องหลังสำคัญที่ทำให้ Spotify ประสบความสำเร็จก็คือ การนำแนวคิด Agile มาใช้ในการบริหารองค์กรอย่างเข้มแข็ง

Agile เป็นทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นมากว่า 20 ปีแล้วโดยกลุ่มนักพัฒนา Software จำนวน 17 คน ภายใต้แนวคิดลดขั้นตอนการทำงาน และมุ่งเน้นการสื่อสารภายในทีม

โดยมี Agile Manifesto เป็นแกนกลาง ประกอบด้วย

1. มองภาพใหญ่ร่วมกัน ไม่ยึดติดเครื่องมือ และขั้นตอนการทำงาน เน้นการสื่อสารพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สมาชิกรู้ว่า ใครกำลังทำอะไร ถึงขั้นตอนไหน

2. ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ที่นำไปใช้ได้จริง มากกว่าการทำงานผ่านเอกสาร

3. สร้างความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผ่านความร่วมมือ มากกว่าการต่อรองผ่านเอกสารสัญญา

4. เตรียมพร้อมรับมือความเปลี่ยนแปลง เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ยึดติดแผนงาน เน้นกระจายอำนาจ และเสริมพลังให้สมาชิก

จาก Agile Manifesto มาสู่ Agile Mindset ที่มี 3 องค์ประกอบ กล่าวคือ

1. Instability หมายถึง โลกนี้เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน

2. Unpredictability หมายถึง การสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิก ว่าทุกอย่างอาจไม่เป็นไปตามแผน

3. Collaboration หมายถึง การสร้างความร่วมมือ ช่วยกันแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน

จาก Agile Manifesto และ Agile Mindset มาสู่ Agile Mindset Adaptation

Agile Mindset Adaptation คือบทสรุปของ Agile ที่ประกอบด้วย 2 เรื่องหลัก นั่นคือ

1. การทำงานร่วมกัน (Interaction)

2. การมองภาพใหญ่ร่วมกัน (Visualization)

 

การที่นิตยสาร Newsweek ให้คะแนน Spotify มาอันดับ 1 ในหมู่ “บริษัทที่น่าทำงานมากที่สุด” ประจำปี ค.ศ.2021 ได้นั้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่า แนวคิด Agile คือหนึ่งในเคล็ดลับ และเป็นเบื้องหลังความสำเร็จที่สำคัญของ Spotify อย่างแท้จริง

เหตุผลก็คือ Spotify เน้นหนักที่

1. การทำงานร่วมกัน (Interaction)

2. การมองภาพใหญ่ร่วมกัน (Visualization)

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวใจสำคัญก็คือ Daniel Ek ผู้ก่อตั้ง และ CEO ของ Spotify ได้วางผังโครงสร้างการบริหารงาน ให้กับพนักงาน Spotify กว่า 5,000 คนทั่วโลก “แบบไม่มีลำดับชั้น”

ด้วยการนำเสนอกระบวนการทำงานแนวใหม่ โดยแบ่งระบบการบริหารงานออกเป็น Squads, Tribes, Chapters และ Guilds

หรือที่ Daniel Ek เรียกว่า การทำงานแบบ Scaling Agile

 

Scaling Agile เริ่มต้นจาก Squad ซึ่งเปรียบได้กับ Scoop Squad Ice Cream หรือ “ไอศกรีมโคนหนึ่งลูก”

Squad ของ Spotify เป็น “หน่วยนับ” ทีมย่อย ซึ่งเล็กที่สุด ประกอบด้วยสมาชิก 6-12 คน โดย Daniel Ek กำหนดให้แต่ละคนสมมุติบทบาทตัวเองเป็น Start-up

ทำหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ เสมือนเป็นเจ้าของธุรกิจ Start-up หนึ่งแห่ง

โดยแต่ละ Squad จะมี Mission หรือภารกิจร่วมกัน ที่ตอบโจทย์ใหญ่ Spotify โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้าง Customer Journey หรือฉากผจญภัยของลูกค้า Spotify

นำไปสู่การเป็น Expertise หรือผู้เชี่ยวชาญของ Squad โดยแต่ละ Squad จะมี Office และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นของตัวเอง

 

จาก Squad มาสู่ Tribe หรือ “ชนเผ่า”

Tribe เป็นการรวมแต่ละ Squad เข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ชนเผ่า” หรือกลุ่มชาติพันธุ์ โดยในแต่ละ Tribe จะมีสมาชิกราว 40-50 คน หรือประมาณ 5 Squads

Daniel Ek บอกว่า Tribe ควรมีสมาชิกเท่านี้ เพราะหาก Tribe ใหญ่เกินไป มันจะเริ่มมี “ชนชั้น” นำไปสู่ “การเมือง” และกฎเกณฑ์ที่มองไม่เห็น ซึ่งจะสร้างความขัดแย้ง และสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์

เป้าหมายของ Tribes คือการตอบสนองตัวชี้วัดทางธุรกิจ โดยจะแบ่ง Tribe ออกเป็นด้านใหญ่ๆ เช่น Music Player หรือ Back-End Infrastructure

Daniel Ek กำหนดหน้าที่ของแต่ละ Tribe เปรียบเสมือน “ผู้บ่มเพาะธุรกิจ” ของ Start-up หรือ Incubator อันมี Tribe Leader คอยอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้าน

Tribe Leader มีหน้าที่ดูแลให้แต่ละ Squad ภายใน Tribe ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยจัด Office ให้มีความเชื่อมโยงกัน เพื่อประสานงานกันได้ง่าย และสามารถช่วยกันแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

 

ระหว่าง Squad ของแต่ละ Tribe นั้น Daniel Ek กำหนดให้มี Chapter หรือ “ผู้สร้างเรื่องราว”

Chapter คือการรวมผู้ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และทักษะคล้ายกันๆ ภายใต้ Competency เดียวกัน ซึ่งจะมีการพบปะกันเป็นระยะๆ ในรูปแบบ Forum

Chapter จึงเสมือนสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหา และเป็นเวทีระดมความคิดสร้างสรรค์

โดยแต่ละ Chapter จะมี Chapter Leader ทำหน้าที่ประดุจ Line Manager ในโรงงาน คอยติดตามไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบ

โดย Chapter Leader คือคนใน Squad ใด Squad หนึ่ง ซึ่งต่างก็มีภาระงาน Routine ของตนในแต่ละวันด้วย

ดังนั้น จะว่าไป จะเรียก Chapter Leader ว่าหัวหน้าก็ไม่ใช่ จะเรียก Chapter Leader ว่าผู้นำก็ไม่เชิง เพราะ Chapter Leader เสมือน “พี่ใหญ่” ใน “โครงสร้างการบริหารงาน” แบบ “แนวนอน” มากกว่า

 

โครงสร้างสุดท้ายคือ Guild แปลว่า “ชมรม”

แม้จะดูคล้าย Chapter เพราะเป็น “โครงสร้างการบริหารงาน” แบบ “แนวนอน” เหมือนกัน แต่ Guild ต่างจาก Chapter อย่างแน่นอน

เพราะ Daniel Ek กำหนดให้ Guild เป็นรวมตัวกันเองตามธรรมชาติ พูดอีกแบบก็คือ เป็นการรวมตัวอย่างไม่เป็นทางการ ต่างจาก Chapter

Guild คือการรวมกลุ่มข้าม Tribe ระหว่างสมาชิกที่มีความสนใจ และอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองในประเด็นเดียวกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “งานอดิเรก” ไม่ว่าจะเป็นการทำ Craft Beer ท่องเที่ยว ถ่ายภาพ วาดรูป ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ

Daniel Ek ระบุว่า Guild อาจมีคนใน Chapter เดียวกันมารวมตัวกัน หรือจะเป็นคนต่าง Chapter มารวมตัวกันก็ได้ ไม่มีการบังคับ

เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า Guild หมายถึง “ชมรม” ดังนั้น ใครก็ได้ ในแต่ละ Chapter ก็สามารถเข้าร่วม Guild ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงานของตนได้อย่างเสรี

 

เพราะ Daniel Ek เน้นการบริหารองค์กรแบบให้สมาชิกเจอกันแบบตัวต่อตัว เพื่อ Coaching หรือสอนงานกันแบบสม่ำเสมอ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้เกิดการ Feedback ผลงาน และความคิดเห็นของกันและกัน ระหว่าง Squads, Tribes, Chapters และ Guilds ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม Daniel Ek บอกว่า Spotify จะไม่หยุดอยู่แค่ Squads, Tribes, Chapters และ Guilds

เพราะเขาเชื่อมั่นในทิศทางแบบ Journey in Progress หรือการขับเคลื่อนไปข้างหน้าตลอดเวลา มากกว่าจะมองว่า Journey Completed หรือองค์กรประสบความสำเร็จแล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ดี Daniel Ek ได้เตือนว่า รูปแบบการบริหารแบบ Scaling Agile ของ Spotify ดังกล่าว ไม่ได้เหมาะสมเสมอไปกับทุกองค์กรนะครับ!