เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง : ประเทศไทยใน CommunicAsia 2016

การก้าวสู่เวทีโลกและเวทีภูมิภาคเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการค้าและการพัฒนาประเทศ

ประเทศไทยเลือกเวทีหลายเวทีพื่อแสดงศักยภาพ

และหนึ่งในนั้นคืองาน CommunicAsia 2016 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2016

งานนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานแสดงด้านเทคโนโลยีสื่อสารที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

เป็นการรวม 3 งานไว้ด้วยกัน คือ CommunicAsia2016, EnterpriseIT2016 และ BroadcastAsia2016 จัดที่ศูนย์ประชุมที่มีชื่อเสียงของสิงคโปร์คือ Marina Bay Sands ซึ่งตั้งอยู่ริมอ่าว มีทัศนียภาพสวยงามทันสมัย

งานนี้มีองค์กรธุรกิจ นักพัฒนาทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ซัพพลายเออร์ ด้านเทคโนโลยีสื่อสาร มารวมตัวกันอยู่มากมาย

แต่ละคนก็มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงสินค้า พบปะเจรจากับผู้ซื้อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยี

ภาพจาก https://www.facebook.com/CommunicAsia/
ภาพจาก https://www.facebook.com/CommunicAsia/

เราต้องยอมรับว่าโลกได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคแห่งดิจิตอลอย่างรวดเร็ว

ดิจิตอลกำลังเปลี่ยนโลกและเปลี่ยนชีวิตของเราอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ผู้ที่เล่นในเกมของดิจิตอลเท่านั้นจึงจะอยู่รอดและเติบโต

เทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ แมนิเฟสเทชั่นส์ และโลกเสมือนจริง (virtual reality) (VR) จะเป็นหมุดหมายของการเชื่อมโยงโลกในวันนี้และต่อจากนี้ไป

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานนี้ในฐานะสื่อ และได้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งหมด 4 เรื่องด้วยกัน หัวข้อเปิดสัมมนาในงาน CommunicAsia 2016 ที่ได้เข้าร่วมฟังคือ Connecting the Unconnected : How NBN is Breaking Down the Digital Divide in Australia บริษัท NBN เป็นบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ระดับโลกและมีเครือข่ายในออสเตรเลีย

เขาพูดเรื่องจะเชื่อมคนออสเตรเลียด้วย LTE และบรอดแบนด์ได้อย่างไร สำหรับผู้ฟังที่ตั้งใจมาฟังด้านเทคนิคก็จะได้ความรู้เรื่องการวางโครงข่ายโทรคมนาคมอย่างไรในประเทศที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ไพศาล เป้าหมาย และการเอาชนะอุปสรรคต่างๆ

สำหรับผู้เขียนได้เห็นภาพใหญ่ของการที่คนทั้งทวีปจะเชื่อมโยงกันได้ครบทุกคน และความจำเป็นของการที่ไม่มีใครจะถูกทิ้งให้กลายเป็น “คนหลังเขา” อีกต่อไป


20160531_142144หัวข้ออื่นๆ ที่ไม่มีโอกาสเข้าฟังล้วนแล้วแต่ว่าด้วยการเชื่อมโยงโลกและผู้คนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมแบบมีสายหรือไร้สาย อย่างเช่น “Delivering Inexpensive and Reliable Internet Access to Billions” หรือ “Broadband Regulatory Trends in APAC”

เป็นที่น่าสังเกตว่าครึ่งหนึ่งของผู้พูดบนเวทีเป็นตัวแทนจากภาครัฐ และอีกครึ่งหนึ่งมาจากภาคเอกชน

ด้วยเหตุว่าภาครัฐคือผู้วางกฎระเบียบในขณะที่ภาคเอกชนคือผู้จัดหาฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ต่างๆ การเชื่อมโยงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากภาครัฐไม่เป็นผู้ออกกฎหมายรองรับ และในบางกรณีเป็นผู้นำเทคโนโลยีไปใช้เอง

อีกหัวข้อที่ได้เข้าฟังคือเรื่อง Smart Cities หัวข้อที่ได้ฟังคือ Building Sustainable Smart cities in Asia : From Concept to Realisation ผู้พูดมาจาก Intel

ในช่วงอภิปรายเรื่อง Smart Cities หนึ่งในผู้ขึ้นเวทีมาจากภาครัฐอินโดนีเซีย เขามีตำแหน่งเป็น Head of Jakarta Smart city Management Unit, Jakarta Capital city Government เท่าที่ทราบอินโดนีเซียตื่นตัวเรื่อง Smart City กันมาก มีโครงการประกวด Smart City เพื่อผลักดันการก้าวสู่การเป็นเมืองที่มีการเชื่อมโยง ผู้อภิปรายเล่าว่าการทำจาการ์ตาให้เป็นเมืองที่เชื่อมโยงได้ก้าวหน้าไปมาก และบอกว่าหนึ่งในวิธีที่จะทำให้สามารถเดินไปสู่เป้าหมายคือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มี customer oriented mind ในเรื่องการตอบคำถามใน call center ที่สามารถลดเวลาในการตอบจาก

ส่วนผู้พูดจากสิงคโปร์ก็บอกว่าขณะนี้สิงคโปร์เป็น Smart City แล้ว ก้าวต่อไปก็คือการเป็น Smart Nation ซึ่งหมายรวมถึงการเชื่อมโยงด้านการดูแลสุขภาพอนามัยด้วย

ภาพจาก https://www.facebook.com/CommunicAsia/
ภาพจาก https://www.facebook.com/CommunicAsia/

จากการฟังนี้ทำให้ได้รู้ว่าผู้คนในโลกของดิจิตอลเขานิยามคำว่า Smart ว่า หมายถึง การเชื่อมโยง (connect)

เพียงได้เข้าฟังการสัมนา 4 เรื่องก็รู้สึกว่าเปิดหูเปิดตามากมาย ได้รู้ว่าโลกทั้งใบต้องเชื่อมโยงกัน และจะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร ภาครัฐมีบทบาทอะไร และเอกชนมีบทบาทอะไร

ที่สะท้อนใจคือไม่มีผู้พูดบนเวทีมาจากประเทศไทยแม้แต่คนเดียว…เกิดอะไรขึ้น

ทำไมจึงไม่มี คุณศุภชัย เจียรวนนท์ จาก ทรู ประเทศไทย

ทำไมไม่มีผู้บริหารระดับสูงภาครัฐไปพูดเรื่อง e government หรือ Thailand Digital Economy ทำไมจึงมีผู้พูดจากอินโดนีเซียหลายคน รวมทั้งประเทศอาเซียนอื่นๆ คิดว่าผู้จัดงานคงต้องพยายามมากขึ้น

จากการพูดคุยกับ Victor Wong ซึ่งเป็น Project Director ของ Singapore Exhibition Services ผู้จัดงาน เขาบอกว่าในปีนี้มี Exhibitor จากอาเซียนมาร่วมงานกันคือ จากพม่า 3 ราย เวียดนาม 17 ราย ประเทศไทย 20 ราย และอินโดนีเซีย 36 ราย

ในงานนี้โดยการนำของซอฟต์แวร์พาร์ก และการสนับสนุนของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นักพัฒนาไทย 13 รายได้มีโอกาสไปแสดงเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมาและอยู่ในระดับที่มีศักยภาพพอที่จะขายให้กับผู้ซื้อต่างชาติ ผู้เขียนมีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการที่ทางซอฟต์แวร์พาร์กกำหนดว่าเป็นผู้ประกอบการด้าน Mobile และ Telecom ที่เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวที่น่าสนใจ

รายแรกคือบริษัท Trinity Project Co., Ltd. เป็นเจ้าโปรดักต์ชื่อ Matrix DSLRs Control Suite เขามางานนี้พร้อมด้วยโบรชัวร์ที่เขียนไว้ชัดเจนว่าต้องการมาหา Dealer และคนที่สนใจทำ Franchise เขาทำอะไร สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการก็ออกจะยากสักหน่อยที่จะเข้าใจ คุณบงการ พยัฆวิเชียร ผู้ประกอบการรายนี้บอกว่าเดิมเขาทำงานอีเวนต์ต่างๆ ที่ต้องใช้กล้องถ่ายภาพสร้างสรรค์ภาพ มาวันหนึ่งเขาก็คิดว่าควรก้าวขึ้นมาเป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โซลูชั่นส์ที่ควบคุมกล้องได้ทีละหลายๆ กล้องและทำให้ผู้ที่มีซอฟต์แวร์ตัวนี้สามารถขยายกิจการได้

ถามว่าทำไมเขาถึงเอางานมาโชว์ที่นี่ เขาบอกว่าเพราะเขาประจักษ์ถึงความเปลี่ยนแปลง เขากระหายที่จะเรียนรู้ และไม่ต้องการรับจ้างผลิตเท่านั้นแต่ต้องการเป็นเจ้าของ solutions จึงก้าวออกมาหา customer ใหม่ๆ รวมทั้งพาร์ตเนอร์

ผู้ประกอบการหนุ่มสาวอีกรายนำโปรดักต์ชื่อ Gridsignage มาแสดง ถามว่ามันคืออะไร เขาอธิบายว่ามันคือ Super easy way to CREATE, DEPLOY AND MANAGE digital signage across the world พวกเราคงเคยเห็นป้ายดิจิตอลตามถนนหนทางเพื่อการพาณิชย์มากมาย นั่นละค่ะหนึ่งในผลงานของผู้ประกอบการรายนี้

เหตุผลของการมาร่วมงานที่สิงคโปร์ก็คือ เขาต้องการก้าวออกจากประเทศไทยไปขยายงานในต่างประเทศ

13667784_10157300204360441_2942564031790713961_o
ภาพจาก https://www.facebook.com/CommunicAsia/

ปีที่แล้วจากการนำผู้ประกอบการมาออกบู๊ธ ทางซอฟต์แวร์พาร์กแจ้งว่า ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายเมื่อปีที่แล้ว 53 ล้านบาท สำหรับปีนี้ยังรวบรวมตัวเลขอยู่ ก็นับว่าเป็นก้าวเล็กๆ ของการออกไปสู่เวทีโลกของผู้ประกอบการที่ทำงานด้านดิจิตอลในประเทศไทย

ในความเห็นของผู้เขียน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักพัฒนา ผู้ประกอบการ ผู้ทำการตลาดของแบรนด์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Intel, Google, Uber คุณควรต้องมางานนี้อยู่แล้ว แต่ถ้าคุณเป็นคนธรรมดาล่ะ คุณก็ควรมาเช่นกัน ด้วยเหตุผลเหล่านี้ : เพื่อให้เห็นโลกกว้าง สิงคโปร์คือเวทีโลกของซีกโลกเอเชีย เป็นโลกที่ย่อส่วน และเพื่อมา update ความก้าวหน้าด้าน IT เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าโลกยุคใหม่ connect อย่างไร คนไทยควรกลับไปบอกคนไทยด้วยกันให้มาที่นี่เพื่อฟังสัมนา ดู demo ต่างๆ ดู exhibition ต่างๆ ถ้าตื่นเต้นกับแบรนด์ดังระดับโลกก็มีให้ดู

และถ้ามาดูผู้ประกอบการน้อยน้องใหม่ไฟแรงอย่างที่มาจากประเทศไทยก็มีให้ดูเช่นกัน