ใส่บ่าแบกหาม / พรพิมล ลิ่มเจริญ / The Report

ใส่บ่าแบกหาม/พรพิมล ลิ่มเจริญ

 

The Report

 

เธอจ๊ะ

The Report มาจากชื่อเต็มว่า The Torture Report

เวลาเขียนคำว่า Torture เขาขีดฆ่าสีดำแบบหนาเป็นปื้นปิดไว้ให้อ่านไม่ออก มันเป็นการตรวจต้นฉบับวิธีหนึ่ง เวลาอ่านแล้ว ผู้ตรวจไม่ต้องการให้มีเนื้อหานั้นๆ เผยแพร่ต่อไป ก็เอาปากกาเมจิกปากกว้างสีดำขีดลากยาวทับไปไม่ให้อ่านได้ ที่เรียกว่า redaction

หนังมีเนื้อหาอัดแน่น เพราะเป็นเรื่องที่มีการสอบหาข้อเท็จจริงใน Central Intelligence Agency หรือหน่วยข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกา หรือซีไอเอ เรื่องการทรมานคนที่ถูกจับมากักขัง (detainee)

detainee ต่างจาก prisoner ตรงที่ detainee หมายถึง คนที่ถูกจับมาขังคุกแม้ว่าจะไม่มีความผิด แบบโดนจับโดยใช้เหตุผลทางการเมืองมาบอกว่าเขาผิด แต่ prisoner คือ คนที่ทำผิดจึงต้องถูกลิดรอนเสรีภาพ

หนังเขาสร้างโดยใช้ข้อมูลเนื้อหาจากรายงานของคณะกรรมาธิการข่าวกรอง (Senate Select Committee on Intelligence) จำนวน 6,700 หน้า

และใช้เนื้อหาบทความชื่อ “Rorschach and Awe” เขียนโดย Katherine Eban ที่เล่าเรื่องการทรมานคนที่ไปจับมาขังใน “คุกลับ” หรือ Black Site ที่ซีไอเอไปตั้งไว้ในต่างแดน

คุกลับนี้ไงที่เขาบอกว่ามาตั้งที่ประเทศไทยด้วย แต่ความที่เขาก็เป็นหน่วยงานทำเรื่องลับๆ ไง เราผู้ซึ่งอยู่ที่นี่ยังไม่รู้เลยว่าคุกอยู่ที่ไหนกัน

คณะกรรมาธิการนี้ก็จะประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจากทั้งสองพรรค อันได้แก่ พรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน มาดำเนินการสืบหาข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ อย่างนโยบายสภาพอากาศ สุขภาพ เป็นต้น

 

เรื่องก็เริ่มที่ Daniel Jones ผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจเรื่องการสืบเสาะข้อเท็จจริงของหน่วยข่าวกรอง ที่พี่แดนเขามุ่งมั่นตั้งใจมาทำงานแขนงนี้

My second day of grad school was September 11th.

I was headed to a lecture, and everything just… stopped.

The next day, I changed all my classes to national security.

วันที่สองของการเรียนปริญญาโทคือวันที่ 11 กันยายน

ผมกำลังจะไปฟังบรรยาย แล้วทุกสิ่งก็…หยุด

วันรุ่งขึ้น ผมเปลี่ยนวิชาเรียนทั้งหมดไปความมั่นคงของชาติ

เหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน มันรุนแรงจนเปลี่ยนแปลงวิถีการมองโลกของผู้คนมากมาย

จะเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้นได้ อย่างหนึ่งคือเข้าสู่วงการการเมือง เพื่อจะได้ไปบริหารประเทศ เมื่อนั้นจะได้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลง

พี่แดนอยากเป็นคณะทำงานให้สมาชิกวุฒิสภา แต่เขาก็ยังไม่รับ เขาแนะนำให้ไปหาประสบการณ์จริงมาก่อน แบบไปทำงานด้านการต่อต้านผู้ก่อการร้าย ด้านนโยบายต่างประเทศ หรือไม่ก็ไปทำงานในหน่วยงานซีไอเอหรือเอฟบีไอ ให้ได้ฝึกปรือและหาความรู้จากสถานการณ์จริงก่อน

พี่แดนก็ไปทำงานที่เอฟบีไอมาสี่ปี จนมาได้งานนี้สมใจ

อยู่มาวันหนึ่ง หนังสือนิวยอร์กไทม์สก็ลงข่าว

The CIA destroyed tapes of interrogations

of Al Qaeda detainees.

ซีไอเอทำลายเทปบันทึกภาพ

การสอบผู้ที่จับกุมกลุ่มอัลกออิดะห์

เป็นใครใครก็ต้องสงสัยว่า ทำลายทำไม? มันมีอะไรอยู่ในนั้น?

 

เทปบันทึกภาพร่วมหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา มันต้องมีจำนวนเยอะมาก ข่าวถึงได้รั่วออกมาถึงหูหนังสือพิมพ์ได้ และเป็นเหตุให้ชวนสงสัยได้ เหล่าสมาชิกวุฒิสภาจึงเห็นควรต้องสืบหาข้อเท็จจริง

They’re saying they have written records.

Thousands of pages. Let’s see about that.

เขาว่าเขามีเอกสารลายลักษณ์อักษร

หลายพันหน้า ไปดูก่อนแล้วค่อยมาว่ากัน

Let’s see about that. เป็นสำนวนพูด หมายถึงตอนพูดยังมีข้อมูลเพียงพอ รับไว้พิจารณาเฉยๆ มีนัยยะว่าไปศึกษาหาข้อมูลมาก่อน แล้วค่อยมาสรุปกันอีกทีภายหลัง ยังไม่ตัดสินใจอะไรในตอนนี้

แล้วสองปีก็ผ่านไป

This report on the destruction of tapes by the CIA

has been two years in the making. – Thank you.

รายงานเรื่องการทำลายเทปของซีไอเอ

สองปีแล้วแต่ยังทำอยู่

in the making หมายถึง ยังทำอยู่ต่อไป บ่งบอกความหมายว่า งานมันยากลำบากและต้องใช้เวลา เวลาใช้ก็จะมีเวลามานำหน้า several years in the making, months in the making

ซีไอเอจัดห้องให้พี่แดนและทีมงานรวม 6 คน ห้องอยู่ใต้ดิน ไม่มีหน้าต่าง เปิดประตูไป มีแต่โต๊ะทำงานและเก้าอี้พร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์

Paper has a way of getting people

in trouble at our place.

ที่ทำงานเรา กระดาษมันมีหนทาง

ทำให้คนเดือดร้อน

อีกทั้งซีไอเอก็ไม่ได้ให้ดูเอกสารทั้งหมดในคราวเดียว

Well, we got to vet it first.

เราต้องตรวจคัดเอกสารก่อน

vet เป็นคำกริยา หมายถึง ตรวจตราพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

แปลว่า ซีไอเอจะให้ดูเฉพาะเอกสารที่อยากให้ดูก็ได้ จะเก็บงำบางส่วนก็ได้ แม้สัญญาระหว่างคณะกรรมาธิการบอกว่าขอดูเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าซีไอเอเห็นว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็ไม่ให้ดูสินะ

At our place…

paper’s how we keep track of laws.

ที่ทำงานผม กระดาษทำให้เรา

เฝ้าติดตามกฎหมาย

keep track of (something) หมายถึง คอยตามเรื่องจะได้รู้เรื่องราวนั้นๆ โดยตลอด ไม่ตกไม่หล่น

 

ซีไอเอจ้างนักจิตวิทยาสองคนดำเนินการโครงการ SERE ที่ย่อมาจาก Survival, Evasion, Resistance and Escape การทรมานเริ่มจากแก้ผ้าขังในห้องหนาวเย็น จับกระแทกฝาผนัง เอาโซ่ล่ามในรูปแบบต่างๆ จับขึงพืด ขังไว้ในห้องที่เปิดไฟสว่าง เปิดเพลงดังๆ ไม่ให้หลับไม่ให้นอน จับลงโลงใส่แมลงลงไป และ waterboarding คือการเอาผ้าขนหนูปิดหน้า กรอกน้ำใส่ปาก ทำให้อยู่ในสภาวะเกือบจมน้ำตาย แต่ก็ทำให้ตายได้จริง

ซีไอเอทำแบบนี้นานร่วมทศวรรษ ไม่คำนึงถึง Geneva Conventions การปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ถึงได้ต้องมี “คุกลับ” นั่นไง เพราะมันผิดกฎหมายถ้าทำในประเทศตัวเอง

You may not realize, but we were trying

to protect this country from people

who want to destroy

everything we believe in.

คุณไม่คิดละสิ เราต้องป้องกันประเทศ

จากคนที่จะมาทำลายทุกสิ่งที่เราเชื่อ

เพราะ “เพื่อชาติ” เอามาอ้างใช้ได้ในทุกกรณีแบบไม่มีข้อแม้เลยหรือ? เหตุการณ์นี้ตอบว่าไม่ใช่ อีกทั้งสิ่งที่นักจิตวิทยาสองคนนั้นใช้ ก็ไม่ได้นำมาซึ่งความจริง

แต่ก็ยังทำต่อไป

 

รายงานที่พี่แดนเขียนก็ใช้เวลา 5 ปีเต็มๆ แต่สุดท้าย ก็เหมือนจะโดนเก็บไว้ในลิ้นชัก ต้องมีการฝ่าฟันให้คนได้รับรู้ แต่สิ่งที่สาธารณชนได้รู้ก็ได้จากเวอร์ชั่นสรุปย่อ ที่มีการขีดสีดำลบข้อความในทุกๆ หน้า ส่วนฉบับเต็มก็ยังคงเป็นความลับของทางราชการต่อไปจวบจนทุกวันนี้

สมาชิกวุฒิสภาเขาทำหน้าที่กันแบบนี้ สำรวจตรวจตราการทำหน้าที่ของรัฐบาล

ส่วนรัฐนั้น เมื่อทำผิดก็ควรต้องกล้าหาญพอจะยอมรับในความผิดนั้น เพื่อให้โลกและเราเองได้เห็นว่าเรายังอยู่สังคมที่มีคุณค่า เที่ยงธรรมและยุติธรรม หนังเขาบอกไว้

Mike Pompeo อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองซีไอเอนี้ แกไม่ชอบหนังเรื่องนี้ แกบอกว่าเป็นเรื่องแต่งขึ้น ก็แล้วแต่! หากจะว่าไป ใครเลยจะชอบ โดนเผยความผิด

ส่วน Gina Haspel ผู้ซึ่งดำเนินการคุมคุกลับเหล่านั้นมาก่อน ตอนนี้ปูนบำเหน็จมาเป็นผู้อำนวยการคนปัจจุบันของซีไอเอ ไม่มีใครไปขอความเห็นแก อยากรู้ว่าแกจะว่าไง แกจะเพื่อชาติด้วยไหม? ร่วมมือปรองดองสองมาตรฐาน? หรืออย่าทะเลาะกัน?!!

ฉันเอง