โลกหมุนเร็ว/เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง/ ไก่รองบ่อน

โลกหมุนเร็ว/เพ็ญศรี เผ่าเหลืองทอง

 ไก่รองบ่อน

 

หลายคนอาจจะเคยดูภาพที่ส่งกันมาในไลน์เกี่ยวกับทีมแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับโลกซึ่งมีอารมณ์เย้ยหยันพอสมควร มีพาดหัวเขียนไว้ว่า ทีมอเมริกันดีใจมากที่เอาชนะทีมชาติจีนได้

แต่ในภาพนั้นทีมอเมริกันเป็นคนจีนทั้งหมด

คนจีนที่เข้าแข่งในนามทีมชาติอเมริกัน

ย้อนหลังไปประมาณ 7 ปี ผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์หมายเลขสองของโลกคือเอเอ็มดี (แน่นอน หมายเลขหนึ่งคืออินเทล) ได้รับสตรีจีนผู้หนึ่งเข้ามาเป็นซีอีโอ เธอชื่อลิซ่า ซู

ลิซ่า ซู ซีอีโอของเอเอ็มดีถือกำเนิดในไต้หวัน ตอนนี้เธออายุ 50 ปี สนใจ mechanics มาตั้งแต่เด็ก เข้าเรียน MIT ที่อเมริกา

ขณะอยู่ที่ MIT เธอตัดสินใจเลือกเรียนระหว่าง Computor Sciences กับ Electrical Engineering แต่ในที่สุดก็เลือกเรียนวิศวกรรมไฟฟ้า

เมื่อจบการศึกษาเธอเข้าทำงานกับ Texas Instrument แล้วย้ายไปทำงานกับ IBM ในแผนกวิจัย ได้ทำงานกับ Lou Gerstner ในยุคพลิกฟื้น IBM ในตำแหน่ง Director of Emerging Projects

ลิซ่า ซู บอกว่าเธอทำงานแบบไม่มีหัวหน้า มีอิสระในการทำงานเต็มที่

และในที่สุดก็ตั้งบริษัทที่เป็นอิสระภายใต้ IBM มีพนักงาน 10 คน ค้นคว้าและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไมโครโปรเซสเซอร์ซึ่งมีอายุแบตเตอรี่ยาวนานใช้ในโทรศัพท์และอุปกรณ์มือถือต่างๆ

ปี 2012 เธอเข้าร่วมงานกับเอเอ็มดีในตำแหน่ง Senior Vice President แล้วในปี 2014 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น CEO แทน Rory Reed

ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของเอเอ็มดีที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบรรดานักวิเคราะห์ เพราะเชื่อมั่นในภูมิหลังของเธอว่าแข็งแกร่ง

 

สําหรับบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ไม่ธรรมดาเลยที่จะมีผู้บริหารเป็นหญิง และยิ่งเธอไม่ใช่คนอเมริกันด้วย เธอน่าจะเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ด้วยประสบการณ์อันมากมายและผลงานที่เป็นประกัน

กล่าวถึงเอเอ็มดี ก่อนหน้าที่ลิซ่าจะเข้ามาบริหาร เรียกได้ว่าเป็นไก่รองบ่อน เพราะว่าอินเทลเจ้าตลาดทิ้งไปไกลแบบไม่เห็นฝุ่น

อินเทลมีกลยุทธ์ในการทำการตลาดที่ดี ใช้คำว่า Intel Inside ทำให้คนเชื่อมั่นว่าต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีชิพของอินเทลเท่านั้น

ส่วนเอเอ็มดีเจ้ากรรมมีชื่อเสียงว่าความร้อนสูง แม้มีราคาย่อมเยากว่าอินเทลก็ไม่มีคนอยากจะซื้อ

ในช่วงหนึ่งเอเอ็มดีในประเทศไทยต้องทำการทดลองยาวนานถึง 1 เดือนโดยเปิดเครื่องทิ้งไว้ตลอดเวลาเพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องไม่น็อก ยังทำงานปกติ

เท่าที่ทราบเอเอ็มดีในประเทศไทยมีการทำงานกับสื่อแบบกันเอง ผิดกับอินเทลที่มีพิธีรีตองมากทำให้สื่อให้การตอบรับที่ดี เมื่อมีการนำสินค้าไปทดสอบ สื่อก็สนใจเขียนรายงานให้เต็มที่ เมื่อเอเอ็มดีออกสินค้าใหม่ สื่อถึงกับแย่งกันขอเป็นเจ้าแรกหรือเจ้าแรกๆ ที่ทดสอบและรายงานผล สินค้าใหม่สำหรับทดสอบบางครั้งมีเพียงชิ้นเดียว บางครั้งมีน้อย ก็ต้องมีการจัดสรรกันให้ดีไม่ให้ขุ่นข้องหมองใจกัน

ชิพเอเอ็มดีพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ การทดสอบสินค้าให้ผลดีขึ้นเรื่อยๆ และพีซีที่ใช้ชิพเอ็มดีก็ตั้งราคาได้สูงขึ้นเนื่องจากมีอายุแบตเตอรี่ที่ยาวนาน และประมวลผลได้รวดเร็ว ปัจจุบันนี้แบรนด์พีซีใหญ่ๆ ที่เคยใช้แต่ชิพอินเทลก็หันมาใช้ชิพเอเอ็มดีกันเพื่อบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น

ผลวิจัยจาก Mercury Research ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านไอทีบอกว่าในปี 2015 อินเทลมีส่วนแบ่งตลาดซีพียูถึง 92.4% ในตลาดเดสก์ท็อปและแล็ปท็อป ส่วนตลาดเซิร์ฟเวอร์อินเทลมีส่วนแบ่งถึง 99.2%

แต่ทุกวันนี้ Mercury รายงานว่าในตลาดเดสก์ท็อปและเซิร์ฟเวอร์เอเอ็มดีมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 14.7% และเริ่มเติบโตเล็กน้อยในตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็น 3.1% คือโต 5 เท่าจากสองปีที่แล้ว

เอเอ็มดีต้องสู้ศึกสองด้าน สำหรับซีพียูต้องจิกเข้าไปในตลาดที่อินเทลครองอยู่ ส่วนจีพียูต้องแข่งกับ Nvidia ที่ครองตลาดกราฟิกการ์ดอยู่

 

พร้อมๆ กับที่เธอได้รับการว่าจ้างจากเอเอ็มดีในปี 2012 ลิซ่าได้เชิญ Jim Keller ซึ่งในวงการนับถือว่าเป็นกระบี่มือหนึ่งด้านออกแบบกราฟิกการ์ดซึ่งออกจากเอเอ็มดีไปอยู่แอปเปิ้ล ในที่สุดในปี 2017 เอเอ็มดีก็เผยโฉม Zen กราฟิกการ์ดที่ฮือฮากันในวงการว่า “แซบหลาย” ด้วยการประมวลผลที่รวดเร็วแต่ยังคงคุมราคาให้ต่ำอยู่ได้

วงการวิจารณ์ว่าดีกว่าแซบกว่าอินเทลเสียอีก

ส่วนชิพเซิร์ฟเวอร์ของเอเอ็มดีนั้นประสิทธิภาพสูงกว่าของอินเทลในหลายๆ หน้าที่

ที่สำคัญราคาประหยัดกว่าของอินเทลถึงเท่าตัว

และใช่ว่าผู้ผลิตแบรนด์ต่างๆ จะไม่รู้ ทั้งไมโครซอฟท์และโซนี่ต่างก็ใช้กราฟิกการ์ดของเอเอ็มดีในเกมคอนโซลของตน รวมทั้งดาต้าเซ็นเตอร์ของกูเกิล และซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ Cray และยังมีแบรนด์อื่นๆ อีกที่ให้ความไว้วางใจเอเอ็มดี

จากการทำงานในเชิงกลยุทธ์ของคู่ดูโอ ลิซ่า ซู และ Jim Keller ทำให้เกิดเป็นผลประกอบการที่น่าชื่นใจ ไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ผลประกอบการของเอเอ็มดีคือ 18,000 ล้านเหรียญ  สูงสุดในรอบ 5 ปี และในไตรมาสหน้าก็คาดว่าจะดีเด่นไม่แพ้กัน ที่สำคัญโตกว่าปีที่ผ่านมา 48% และมูลค่าหุ้นกระโดดพรวดพราด 15 เท่านับจากปี 2015

แม้ว่าปัจจุบันนี้ Jim Keller จะถูกซื้อตัวไปอยู่ Tesla ซึ่งเป็นบริษัทที่เซ็กซี่ในปัจจุบัน แต่ผลงาน Zen ก็ยังคงเหมือนห่านทองคำที่สร้างผลกำไรให้กับเอเอ็มดี

ข้อได้เปรียบของเอเอ็มดีก็ยังคงเป็นการมีผลิตภัณฑ์ในสองตลาดคือซีพียูและจีพียู นอกจากนี้ อานิสงค์จากการเติมโตของธุรกิจ gaming ยังกลายเป็นโอกาสของเอเอ็มดี เพราะเอเอ็มดีพัฒนา GPU หรือกราฟิกการ์ดที่ใช้ในการเล่นเกมอย่างสม่ำเสมอและโดดเด่น ทำให้เอเอ็มดีมีแหล่งรายได้ถึง 2 ขา จาก ซีพียู และจีพียู ยิ่งเกมมิ่งโตเอาๆ เอเอ็มดีก็ยิ่งได้เปรียบ

วันนี้คือวันของไก่รองบ่อนเอเอ็มดี วันหน้าจะเป็นอย่างไรก็ต้องติดตามกันต่อไป

 

 

amd is more important to the chip business than its diminutive stature suggests. It provides the only meaningful competition to not one but two Goliaths in two important parts of the semiconductor industry. Its cpus-the general-purpose chips at the heart of modern laptops, desktops and data centres-compete with those from Intel, whose $71bn of revenue in 2018 made it the world’s second-biggest chipmaker. Its gpus-which provide 3d graphics for video games and, increasingly, the computational grunt for trendy machine-learning algorithms-go up against those from Nvidia, whose revenues last year of $11.7bn were nearly twice those of amd.

เอเอ็มดีในยุคที่ลิซ่า ซู บริหารยังใช้กลยุทธ์ diversify ธุรกิจ