อภิญญา ตะวันออก / ชัยวรมันที่ 7 : นัยยะแห่งพระไภษัชยคุรุ

อภิญญา ตะวันออก

ต่อคำกล่าวว่า คือพระโพธิสัตว์ผู้บริบาลที่แพร่หลายมากในจีน ญี่ปุ่น และทิเบต พระไภษัชยคุรุ (เภสัชคุรุ) จึงเปรียบเสมือนพระโพธิสัตว์ที่กลับชาติมาเกิด ที่ทรงเปล่งปราณทาน 12 ครั้งสำหรับรักษาโรคทั่วๆ ไป และอีก 2 บทพิเศษสำหรับโรคกายและจิต

แต่ความจริงหลักฐานอัตลักษณ์ในพระไภษัชยคุรุยุคชัยวรมันที่ 7 ย้อนถึงหลักฐานบนจารึกบริเวณโคปุระอโรคยาศาลาของปราสาทบายนของหลุยส์ ฟิโนต์ คือพระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาตถาคต (vaiduryaprabharaja) ถูกขนาบข้างด้วยพระโพธิสัตว์สุริยะไวโรจนาจันทโรศ (Suryavairocanacandarocis) และจันทรไวโรจนาโรหินิจ (Candravairocanarohinica)

นอกจากนี้ บนจารึกนั้นยังระบุนามพระไภษัชยคุรุ 9 ครั้ง

1 ในนั้นระบุร่วมกับพระโพธิสัตว์สุริยะไวโรจนาจันทโรศิ-จันทรไวโรจนาโรหินิจ

อีกยังระบุว่า เพียงเอ่ยหรือได้ยินนามของพระองค์เท่านั้น โรคทางกายและจิตก็มีอันปลาส และยืนยันความหมายสัจจาปราณทานบทที่ 6 และ 7 ที่ระบุในพระสูตรพระไภษัชยคุรุ ที่เมืองไจลกิต และอาจเป็นที่รู้จักในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ของสมัยเมืองพระนครแล้ว แม้จะพบว่าพระสูตรนี้ไม่ถึงกับมีเนื้อความที่เหมือนกันเสียทีเดียว (สิกขาจักร : 77)

อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏอัตลักษณ์พระไภษัชยคุรุในจารึกอโรคยาศาลาหลักดังกล่าว ดาเก็นส์เองก็ระบุว่ามีฐานชุกชี ทว่าไม่พบประติมากรรมพระโพธิสัตว์ทั้งสาม รวมทั้งพระไภษัชยคุรุสมัยพระนคร (1991)

บัวสลิเยร์เองเคยกล่าวถึงพระพิมพ์ชิ้นหนึ่งถึงสมัยบายนชิ้นหนึ่งประกอบด้วย พระพุทธรูปประธานปางสมาธิ ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าประทับซ้ายขวา ทว่าเช่นเดิม บัวสลิเยร์ก็มิได้สันนิษฐานว่าจารึกชิ้นนี้มีความหมายว่าอะไร

อย่างไรก็ตาม พระพิมพ์แผ่นนั้นนำไปสู่ศิลปะยุคปาละของอินเดีย บนเนื้องานพุทธศิลป์แบบเขมรของยุคบายน

 

พระไภสัสยาคุรุ

สมมติฐานของคีธ ฤทธี เฌ็ม ยังกล่าวว่า เชื่อมโยงด้วยหลักฐานทางโศลก วรรณคดี จารึก และจำหลักประติมากรรมอันอาจเชื่อว่าคือพระไภษัชยคุรุสมัยเมืองพระนคร และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากนักวิทูหลายท่าน

เฌ็มศึกษา (อ้างจากบัวสลิเยร์และกาโรว์) พบว่า มีภาพสลักพระไภษัชยคุรุปางต่างๆ ทั้งปางสมาธิประทับนั่งและยืน แต่ไม่มีปางใดที่ให้ชื่อว่าพระไภษัชยคุรุและปางต่างๆ อาทิ ปางถือจอกยา อุ้มบาตร ดอกบัว เครื่องประดับ สถูป สมอยา โถยาในหัตถ์ซ้าย-กิ่งสมอหัตถ์ขวา ซึ่งผลสมอนี้เป็นตำรับของอินเดียและทิเบต และพบในเมืองนครธมมาตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12

ที่กล่าวมานั้น แม้จะอยู่ในข่ายที่อาจถือว่าเป็นพระไภษัชยคุรุ แต่ไม่มีปางใดเลยที่ใกล้เคียงกับประติมากรรมที่ปรากฏบนศิลาจารึกอโรคยาศาลา ซึ่งมีทั้งหุ่นปั้นหินและสำริดจำนวนมาก

ในจำนวนนั้นคือ มีองค์กลางในท่าปางสมาธิมีนาคปรก หัตถ์ขวาถือจอก 1 หรือหัตถ์ซ้ายถือไม้ผล 1 ที่สันนิษฐานว่าอาจคือพระไภษัชยคุรุ

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ประติมากรรมพระพุทธรูป พระอวโลกิเตศวรและพระปรัชญาปารมิตาในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่พบในเสียมเรียบ พระตะบองและโพธิสัตว์ ซึ่งพบว่าอยู่ในสมัยเดียวกัน กระนั้นก็ไม่ตรงตามข้อความที่จารไว้บนศิลาจารึกอโรคยาศาลา

ส่วนประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ 1 พระอวโลกิเตศวร 1 และพระปรัชญาปารมิตา 1 คือตัวแทนพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนานิกายมหายาน

อันเป็นหลักฐานหนึ่งซึ่งทำให้เชื่อว่าสมัยเมืองพระนครธมนั้น เคยมีกระบวนตำรับแพทย์ของคุรุ “วากภักตะ” ผู้นับถือพระไภสัสยาคุรุเสมือนเทพ

 

วากภักตะคุรุ ผู้สร้างกระบวนวิธีรักษาแบบ อัษฎางคหฤตยสังหิตะ 1 (อัษฎางค์หฤทัยสังหิตา) อัษฎางคสังครหะ 1 (อัษฎางค์สังครหา) และรสรตนสมุจจยะ 1 (รสรัตนสมุจจัย)

ตำรับทั้งสามช่วยคลี่คลายถึงกระบวนรักษาพยาบาลเมื่อ 800 ปีก่อน มีการใช้สารปรอทเพื่อนำไปแปร “รัษวิธา” (กระบวนเล่นแร่แปรธาตุ) หรือ “รสรัตนสมุจจัย”

โดยทราบกันว่า วากภักตะคือคุรุแพทย์ชาวพุทธผู้นับถือพระไภษัชยคุรุ พระอวโลกิเตศวร และพระธารา (ปรัชญาปารมิตา) อย่างไรก็ตาม ในกระบวนรักษา 3 ตำรับนี้ ไม่ปรากฏในพระสูตตะสังหิตา (Susruta Samhita) บนจารึกศตวรรษที่ 9 ของปราสาทลอไลย (Bergaigne : 1893)

ไม่เพียงเท่านั้น แล้วพระพุทธรูปและพระโพธิสัตว์ 3 องค์ ตามจารึกอโรคยาศาลา คือพระไภษัชยคุรุ พระสุริยะไวโรจนาจันทโรศ และพระจันทรไวโรจนาโรหินิจนั้น มีตัวตนอยู่หนใด?

คีธ ฤทธี เฌ็ม สันนิษฐานว่ามีหลักฐานเชื่อมโยงกับจารึกดังกล่าว จากประติมากรรมดังกล่าวจากปราสาทตาพรหมกิล จำหลักชิ้นนี้ แกะสลักเป็นรูปพระพุทธรูปซึ่งมีพระโพธิสัตว์ 2 องค์ประทับเบื้องซ้ายและเบื้องขวาในท่าถวายโถน้ำ และประติมากรรมที่ซุ้มอโรคยาศาลาปราสาทมีอยู่จริง

ปัจจุบันประติมากรรมนูนต่ำชิ้นนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงพนมเปญ

 

กระนั้น ยังมีประติมากรรมอีกชิ้นที่ทรงกระดิ่ง ประดิษฐานบริเวณโถงอโรคยาศาลาฝั่งตะวันออกของปราสาทบายน นักโบราณคดีวิกตอร์ โกลูบิว (1837) ระบุว่า นี่ไม่ใช่พระไภษัชยคุรุ แต่คือพระวัชรธร (Vajradhara) แม้การตีความนี้จะถูกต้อง แต่โกลูบิวก็ไม่แจกแจงว่าพระวัชรธรมีความเกี่ยวกับพระไภสัสยาคุรุอย่างไร?

เชื่อมโยงสมมติฐาน ศ.จอร์จ เซเดส ผู้ศึกษาประติมากรรมพระวัชรธรของปราสาทบันเตียฉมาร์ และเชื่อว่านี่คือหนึ่งตัวแทนของรูปปั้นพระบาทชัยวรมันที่ 7

โกลูบิวเองก็เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้ และยังตัดทิ้งสมมติฐานที่ว่า พระวัชรธรอาจจะเป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์หรือไม่?

ตามจารึกเขมรหลักหนึ่งเชื่อว่า พระอินทรคือองค์อวตารปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า และเป็นความจริงว่า ในเนปาลอดีตพบว่ามีหนึ่งในองค์อวตารพระอินทรา คือพระวัชรปาณี โพธิสัตว์ผู้ปกปักพระศากยมุนี และร่ายมนตรา “ธารณี” (dharan?) เพื่อปกป้องพระราชา มุขมนตรี พ่อค้าและประชาชนจากภูตผีปีศาจ

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เพื่อยืนยันถึงการมีอยู่ของพระอินทราและพระวัชรปาณี ที่หอปราสาทอโรคยาศาลา ณ ปราสาทบายนและประติมากรรมทั้ง 2 นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “มณฑาล” (เขียนแบบเขมร)

หรือ “มณฏะ” (manฺdฺala) สัญลักษณ์บางอย่างที่เกี่ยวกับตันตระ และพระไภสัสยาคุรุ

 

“๑๐๒”

แต่จากจารึกปราสาทตาพรหมที่ระบุว่า พระบาทชัยวรมันที่ 7 ทรงบัญชาให้มีการสร้างอโรคยาศาลาทั้งสิ้น “๑๐๒” หลังทั่วราชอาณาจักรเพื่อช่วยเหลือประชาราษฎร์ แต่ “ไม่มีความหวังใดๆ ที่จะค้นหาอโรคยาศาลาเหล่านั้นทั้งหมดได้ เพราะไม่เคยมีหลักฐานใดๆ ที่แสดงว่ามีการก่อสร้างอโรคยาศาลาในสมัยของพระองค์” (เซเดส 1941)

อะไรคือความหมายที่เซเดสต้องการบอกไว้ในบทความ เกี่ยวกับสาธารณสุขศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ของชัยวรมันที่ 7 ซึ่งไม่เป็นที่ประจักษ์ รวมทั้งอโรคยาศาลาจำนวน “๑๐๒” หลัง

โคล้ด ฌักส์ นักวิจัยเกี่ยวกับอโรคยาศาลาอีกคนหนึ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “สัญลักษณ์ ๑๐๒” เช่นเดียวกับเซเดส

ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งสองยังเห็นพ้องอีกว่า โอกาสจะค้นพบหลักฐานจารึกอโรคยาศาลา และตำแหน่งจำนวน “๑๐๒” หลังทั่วราชอาณาจักรนั้น ไม่อาจเป็นไปได้

ข้อสันนิษฐานที่สอดคล้องของนักประวัติศาสตร์ 2 ยุคกันนี้ แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังอย่างคีธ ฤทธี เฌ็ม ที่เห็นว่าตัวเลข “๑๐๒” คือสัญลักษณ์พิเศษที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์อันแฝงอยู่ในฮินดูลัทธิพราหมณ์ ที่มีอิทธิพลในสมัยนครธม และสืบทอดมาถึงพุทธมหายานในสมัยชัยวรมันที่ 7

และโลกธาตุวิทยาอันเกี่ยวกับเทวดาและโลกบาล 51 รูป ซึ่งอยู่ใน “มณฏะ” ศาสตร์แห่งตันตระที่แพร่หลายในอินเดียก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12

รวมทั้งรหัสนัยของพระไภสัชยาคุรุและ “๑๐๒”