รายงานพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ /กองทัพสหรัฐลงทุนกว่า $72 ล้าน เพิ่มความมั่นคงด้านการทหาร พัฒนาขีดความสามารถด้าน AI เตรียมพร้อมสงครามในอนาคต

รายงานพิเศษ / โชคชัย บุณยะกลัมพ  https://www.facebook.com/ChokCyberAIEntertainment/

กองทัพสหรัฐลงทุนกว่า $72 ล้าน

เพิ่มความมั่นคงด้านการทหาร

พัฒนาขีดความสามารถด้าน AI

เตรียมพร้อมสงครามในอนาคต

 

พัฒนาการการใช้ปัญญาประดิษฐ์ มีความก้าวหน้าไปมาก และเข้ามามีอิทธิพลแทบทุกวงการแล้ว

การนำโซลูชั่นที่ขับเคลื่อนผ่านแพลตฟอร์มแบบครบวงจรจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับมืออาชีพ ธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม

พร้อมทั้งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้แม่นยำ เนื่องจากปัจจุบันบริษัท ที่เก็บข้อมูล BIG DATA จำนวนมาก รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ระหว่างประเทศด้วยกันได้อย่างละเอียด อาทิ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ พฤติกรรมลูกค้า อื่นๆ

ดังนั้น การแสดงผลโฆษณาแต่ละครั้งหรือการแก้ไขปัญหาองค์กรต่างๆ จึงสามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ

เมื่อมีการแข่งขันความเป็นผู้นำด้านการทหารในโลกอนาคต ด้วยการเน้นหนักที่จะนำเทคโนโลยี AI ในการสงครามยุคปัญญาประดิษฐ์ โลกก็มิอาจปิดกั้น

ถึงแม้ว่าปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จะเพิ่งอยู่ในขั้นต้น แต่ก็ส่งจะผลกระทบสูงต่อการสงครามในอนาคต ว่าจะเป็นอะไร กระทั่งมีผลชี้ขาดว่าใครจะแพ้หรือชนะ

ดังนั้น การเปรียบดุลกำลังทางทหารแบบเดิม เช่น กำลังพล จำนวนรถถัง จำนวนเครื่องรบชนิดต่างๆ จำนวนเหล่านี้ย่อมไม่พอเพียงต่อการรบ หรือล้าสมัยไป

ประเด็นเปรียบเทียบที่สำคัญจะเปลี่ยนไป เป็นเรื่องใครจะชนะในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มากกว่า

 

การสงครามในยุคปัญญาประดิษฐ์ ก่อให้เกิดการถกเถียงอื่นอีกมาก ได้แก่ การพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ผ่านมา ทำให้สงครามมีความรุนแรงและอำนาจทำลายล้างสูงขึ้น เมื่อเอ่ยถึงอาวุธนิวเคลียร์ก็น่าสุดสยดสยอง หากผสมกับปัญญาประดิษฐ์ก็ยิ่งเพิ่มอำนาจการทำลายล้างอย่างคาดไม่ถึง

เฉพาะปัญญาประดิษฐ์ก็มีอันตรายที่ลึกซึ้งมากกว่าอาวุธเดิมๆ ที่เป็นศัสตราวุธหรือระเบิดแบบต่างๆ มันเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ตั้งตัวเป็นอริกับมนุษย์ สามารถควบคุมการทำงานของสมองมนุษย์ได้

ปัญญาประดิษฐ์ได้ก่อแนวโน้มการใช้เครื่องจักรฉลาดหรือหุ่นยนต์ทหารในการรบแทนทหารมนุษย์และกองกำลังต่างๆ จนกระทั่งกลายเป็นกำลังหลัก

ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหุ่นยนต์ทหารมีประสิทธิภาพกว่า จากความแข็งแรง อดทน ความแม่นยำ ความหลากหลาย และอื่นๆ สามารถลดกำลังทหารมนุษย์ลงได้

นอกจากนี้ หุ่นยนต์ทหารยังมีราคาถูกกว่า ในการสร้าง การใช้และบำรุงรักษา ทหารมนุษย์เมื่อได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ ก็ต้องเยียวยารักษาไปตลอดชีวิต

และท้ายสุดเนื่องจากหวั่นเกรงว่าถ้าตนไม่ทำ ชาติที่เป็นศัตรูคู่แข่งก็อาจพัฒนาก่อน

 

ดังนั้น แม้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางในด้านจริยธรรมและอันตรายอันเกิดจากการสร้างเครื่องจักรฉลาดให้สามารถตัดสินใจสังหารมนุษย์ได้ แต่ในที่สุดชาติต่างๆ ก็จะพัฒนาและใช้ทหารหุ่นยนต์และโดรนกันอย่างเต็มที่

“ปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีพลิกโลก ส่งผลต่อสงคราม การปกครอง เศรษฐกิจ การประกอบการ ระบบ ตลาด ไปจนถึงสังคม ชีวิตความเป็นอยู่ และความรู้สึกนึกคิดของผู้คนทั้งหลาย ประเทศต่างๆ รับเทคโนโลยีนี้มากน้อย ตามระดับและลักษณะการพัฒนาทางเศรษฐกิจ-การเมือง

เป็นที่สังเกตว่าสหรัฐเป็นประเทศที่นำหน้าในการวิจัยและพัฒนา เห็นได้จากมีบริษัททางด้านคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเครื่องจักรฉลาดจนเอาชนะแชมป์โลกทางด้านหมากรุกและหมากล้อมได้

ดังนั้น การสงครามในโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นอย่างมาก เป็นสงครามที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เห็นได้ชัดจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ปี 1990 ใช้กำลังทหารปฏิบัติเพียง 2,000 นาย พร้อมอาวุธไฮเทคตาม ยุทธศาสตร์-ยุทธวิธีการรบ รูปแบบของดอน สตารี่ เปิดฉากสงครามอ่าวกับอิรัก ที่มีการนำอาวุธเทคโนโลยีสูงมาใช้มากที่สุด

เช่น เครื่องบินรบล่องหน ระเบิดที่มีความฉลาด ขีปนาวุธร่อนที่ติดระบบแสงเลเซอร์นำทาง ระบบดาวเทียมสอดส่อง เครื่องขยายแสง อาวุธเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับสหภาพโซเวียต แต่นำมาทดลองใช้กับประเทศเล็กๆ ก่อน

ในหลายประเทศได้นำงบประมาณทางทหารมาพัฒนาความเป็นอัจฉริยะทางด้าน AI เพื่อประโยชน์ของทุกวงการที่ไม่จำกัดเฉพาะด้านความมั่นคงเท่านั้นเพื่อความได้เปรียบเสียเปรียบในอนาคต

 

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา กองทัพสหรัฐประกาศถึงการลงทุนมูลค่า 72 ล้านเหรียญ (ประมาณ 2,288 ล้านบาทไทย) ในโครงการวิจัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ระยะเวลา 5 ปี เพื่อเพิ่มความพร้อมให้กับทหารในช่วงศึกสงคราม

Combat Capabilities Development Command Army Research Laboratory (ARL) ซึ่งเป็นห้องแล็บของกองทัพสหรัฐได้ประกาศถึงโครงการความร่วมมือระหว่างหลายสถาบันการศึกษา นำโดย Carnegie Mellon University และแล็บของกองทัพในการเร่งวิจัยและพัฒนาอัลกอริธึ่มขั้นสูง เทคโนโลยีอัตโนมัติ และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มความมั่นคงและขีดความสามารถในการป้องกันตัวเองของสหรัฐ

เป็นที่เชื่อกันว่าขีดความสามารถด้าน AI ของกองทัพนั้นจะเป็นปัจจัยที่สามารถชี้ถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในการศึกสงครามในอนาคต Andrew Ladas หัวหน้า Army Artificial Intelligence Innovation Institute (A2I2) ของ ARL เชื่อว่าสงครามในอนาคตนั้นจะซับซ้อนและมีกลยุทธ์ในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน อาจประกอบไปด้วยสิ่งรบกวน (Noise) และกลวิธีต่างๆ เพื่อปั่นป่วนและหลอกล่อการทำงานของ AI

“ความสำเร็จในสนามประลอง Battlefield Intelligence นี้จะเกิดขึ้นผ่านการมีขีดความสามารถด้าน AI ที่มากขึ้น รวมไปถึงการคิดค้นวิธีการที่แตกต่างและทรงประสิทธิภาพในการนำ AI ไปใช้ร่วมกับความรู้และความฉลาดของทหาร”

แม้การนำ AI มาใช้ในกิจกรรมทางทหารนั้นได้รับการต่อต้านและวิจารณ์อย่างมากเช่นกรณีการเรียกร้องให้บอยคอตสถาบัน KAIST ของเกาหลีใต้ที่ต้องสงสัยว่ามีการร่วมพัฒนา AI กับบริษัททางการทหารท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา หรือกรณี Project Maven ของ Google ทว่ากองทัพในหลายประเทศทั่วโลก เช่น อินเดีย จีน และรัสเซีย ก็ยังคงมีการวิจัยและพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง

โดยรายงานที่ Office of the Director of National Intelligence ได้ว่าจ้างให้องค์กรภายนอกศึกษา ที่สรุปไว้ว่านานาประเทศจะสร้างระบบอาวุธอัตโนมัติขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะ AI นั้นมีศักยภาพในการเพิ่มพลังของกองทัพอย่างมหาศาล

นับจากนี้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์อาจจะพลิกโฉมการสงครามในอนาคตก็เป็นได้ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาบุคลากรให้พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะหมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้ว

แต่พูดง่ายๆ ว่า ใครพัฒนาได้เร็วกว่า คนนั้นชนะ

 

ที่มา

http://mil-embedded.com/news/advancing-ai-solutions-is-part-of-carnegie-mellon-arl-72-million-research-agreement/