E-DUANG : การทวงคืน อำนาจ ประชาชน ผ่านข้อเสนอ เลือกตั้ง “ผู้ว่าฯ”

คิดหรือว่าปรากฎการณ์ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะส่งผลสะเทือนเพียงต่อภาพลักษณ์ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ถามว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงอยู่ในสถานะอะไร ใน เมื่อคำตอบคือ “ผู้ว่าราชการ”

ในเมื่อฐานที่มาในตำแหน่ง”ผู้ว่าฯกทม.”ของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง งอกมาจากอำนาจแห่ง”มาตรา 44”อันเป็นเครื่องมือสำ คัญของคณะรัฐประหาร

สถานะของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง จึงเป็นสถานะของตำ แหน่งอันมาจาก”การแต่งตั้ง” ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับการแต่งตั้ง “ผู้ว่าราชการจังหวัด”

การดำรงอยู่ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เมื่อมีรากฐานมาจาก

“การเลือกตั้ง”ของประชาชน สถานะ”ผู้ว่าฯกทม.”จึงท้าทายโดยตรงไปยังทุก”ผู้ว่าราชการจังหวัด”ที่มาจาก”การแต่งตั้ง”

คำถามจาก”ทำงาน ทำงาน ทำงาน”ของ นายชัชชาติ สิทธิ

พันธุ์ ไม่ว่าในกทม. ไม่ว่าที่ซีแอ้ตเติ้ล จึงกลายเป็นคำถามไปยังทุก”ผู้ว่าราชการจังหวัด”ในขอบเขตทั่วประเทศ

มิได้จำกัดแต่เพียง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เท่านั้น

 

ความน่าสนใจเป็นอย่างสูงตรงที่ในขณะนี้ได้มีการเคลื่อนไหว 2 การเคลื่อนไหวอันมีเป้าหมายตรงกัน นั่นก็คือ ต้องการให้มีการ ปรับเปลี่ยนในเรื่องการบริหาร”ท้องถิ่น”

โดยเรียกร้องให้มี”การเลือกตั้ง”ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเรียกร้องให้เพิ่มอำนาจกับ”จังหวัด”มากยิ่งขึ้น

ความหมายก็คือ ให้อำนาจประชาชนในการเลือกตั้ง

ความหมายโดยพื้นฐานก็คือ เป็นการเคลื่อนไหวที่แอบอิงอยู่กับสภาพการณ์ทางสังคม 2 สภาพการณ์ ได้แก่ สภาพการณ์จาก การเลือกตั้ง”ผู้ว่าฯกทม.”

และสภาพการณ์จากผลสะเทือนบนแนวทาง”ทำงาน ทำงาน

ทำงาน”ของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันก่อให้เกิดการเปรียบเทียบที่แหลมคมยิ่งในขอบเขตทั่วประเทศ

กลายเป็น”คำถาม”ต่อรัฐบาล และต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ไม่ว่าการเคลื่อนไหวนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ประสบความ สำเร็จ แต่ก็ได้เปิดให้เกิด”คำถาม”ในทางความคิดและในทางการ เมืองที่แหลมคมอย่างที่สุด

เป้าหมายคือ วิพากษ์โครงสร้างแห่ง”รัฐราชการรวมศูนย์”

ชี้ให้เห็นว่านับแต่ปฏิรูปราชการเมื่อเดือนเมษายน 2436 เป็น ต้นมาโครงสร้างนั้นก็ดำรงอยู่กระทั่งในเดือนมิถุนายน 2565

นี่คือกระแสที่ปลุกเร้าการสังเคราะห์อันทรงความหมายยิ่ง