กฎหมาย pdpa หรือพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่งผลดีกับเราด้านใด?

หากใครที่กำลังเฝ้าคอยกับกฎหมาย pdpa คงต้องบอกว่าอีกไม่นานเกินรอ เราก็จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายฉบับนี้กันแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า pdpa พรบ. คืออะไร และจะช่วยคุ้มครองเราได้อย่างไร มารวมตัวกันตรงนี้เลย เพราะเราจะขออธิบายแบบคร่าวๆ เพื่อสร้างความเข้ากันสักนิด

สำหรับ pdpa นั้นคือพรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือย่อมาจาก (Personal Data Protection Act) ที่มีการเริ่มต้นกันมาตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะข้อมูลส่วนตัว ซึ่งหากมีการจัดเก็บหรือมีการนำไปใช้โดยที่ไม่มีการแจ้ง หรือได้รับการอนุญาตจากเจ้าของ ผู้กระทำการเหล่านั้นถือว่ามีความผิด ซึ่งข้อดีของการที่กฎหมาย pdpa ได้ถูกนำมาใช้นั้น ยังมีอีกหลากหลายเรื่อง ที่เราขอยกตัวอย่างเป็นข้อๆ ตามด้านล่างนี้เลย

  1. ข้อมูลส่วนตัวของเรา ใครนำไปใช้ให้กฎหมายจัดการ

ไม่ว่าคุณจะเคยกรอกข้อมูลส่วนตัวเอาไว้ในเว็บไซต์ใดเพื่อสมัครสมาชิก หรือจะเคยไปเขียนใบสมัครงาน พร้อมยื่นเอกสารต่างๆ ไป แต่สุดท้ายหากข้อมูลเหล่านั้นของคุณรั่วไหล หรือถูกนำไปใช้ในทางไม่ดี และคุณได้รับผลกระทบโดยตรง คุณสามารถเอาผิดบุคคลเหล่านั้นได้ตามกฎหมาย เพราะ pdpa พรบ. ฉบับนี้ได้ให้ความคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน

  1. สบายใจกับการท่องโลกอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น

ในบางครั้งขณะที่เราเข้าไปในเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง และเว็บไซต์นั้นๆ ได้มีการเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเราผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการเก็บข้อมูลของเราเอาไว้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำได้อีกต่อไป หากกฎหมาย pdpa หรือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกบังคับใช้ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า การจัดเก็บข้อมูลของบรรดาเว็บไซต์เหล่านั้น จะถูกนำไปใช้อะไรบ้าง  สำหรับในส่วนนี้ เหล่าผู้ให้บริการเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องมีการระบุให้ชัดเจน หรือควรมีการขึ้นข้อมูลให้ผู้เข้าใช้ได้รู้และทำความเข้าใจว่า จะมีการจัดเก็บข้อมูลเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะมีการให้กดยินยอม หรือ ไม่ยินยอม ก็จะถือว่าได้ทำการแจ้งให้ผู้ใช้งานได้รับรู้แล้วนั่นเอง

  1. อาจช่วยให้ปัญหาด้านการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ลดลง

อีกหนึ่งข้อดีนั้นที่หลายๆ คนคาดหวังว่าจะเกิดขึ้น หากกฎหมาย pdpa หรือ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีการบังคับใช้ก็คือ ปัญหาที่มีคนโทรมาเพื่อหลอกลวง เพื่อหวังเงินของเราอาจจะลดลงไปได้บ้าง เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ใช้ช่องว่างในเรื่องนี้เข้ามาทำให้ผู้บริโภคต้องเสียทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการอ้างตัวว่าเป็นตำรวจ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวที่สามารถทำให้เข้าถึงบัญชีธนาคาร รวมถึงการหลอกลวงในด้านอื่นๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล ซึ่งหากมีบทลงโทษที่ครอบคลุมก็หวังว่าจะสามารถช่วยลดปัญหาเหล่านี้ไปได้บ้าง