เลขาธิการศาล เเจงไทม์ไลน์คดีภาษีโตโยต้า เร่งประสานข้อเท็จจริงทุกมิติ

เลขาธิการศาล เเจงไทม์ไลน์คดีภาษีโตโยต้า เร่งประสานข้อเท็จจริงทุกมิติ เตรียมขอร่วมสังเกตการณ์ไต่สวนที่อเมริกา

วันที่ 4 มิถุนายน  ที่ชั้น 12 สำนักงานศาลยุติธรรม อาคารศาลอาญาถนนรัชดาภิเษก นาย พงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เเถลงข่าวกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวการสอบสวนเกี่ยวกับคดีภาษีของ บริษัท ในเครือโตโยต้าในประเทศสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งมีการกล่าวอ้างถึงชื่อข้าราชการและอดีตข้าราชการตุลาการผู้ใหญ่ว่าอาจมีส่วนพัวพันธ์กับเรื่องนี้

นั้นตนขอเรียนว่าคดีที่มีการอ้างถึงเป็นคดีที่ บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เป็นโจทก์ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐที่จัดเก็บภาษีเป็นจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษามีคำขอให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีฟ้องคดีแรกวันที่ 10 มิถุนายน 2558 ซึ่งศาลภาษีอากรกลางพิจารณาคำฟ้องแล้วมีคำสั่งให้แยกฟ้องโจทก์จึงยื่นฟ้องคดีเข้ามาใหม่อีก 9 คดีในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 และวันที่ 10 มิถุนายน 2559 มีการสืบพยานต่อสู้คดีกันเป็นระยะเวลาปีเศษ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีคำพิพากษาทุกคดีในวันที่ 29 กันยายน 2560 พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผลให้โจทก์ไม่มีความรับผิดทางภาษีอากร

ต่อมาจำเลยได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับคดีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 และต่อมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โดยอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวันที่ 10 มิถุนายน 2562 เป็นผลให้โจทก์ต้องรับผิดชำระภาษีอากรตามการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของหน่วยงานรัฐโจทก์จึงยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาและรับฎีกาของโจทก์ไว้พิจารณาโดยศาลภาษีอากรกลางได้อ่านคำสั่งคดีขออนุญาตฎีกาไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ขณะนี้คดียังอยู่ระหว่างศาลภาษีอากรกลางดำเนินการให้ฝ่ายจำเลยยื่นคำแก้ฎีกา ซึ่งจำเลยขออนุญาตขยายระยะเวลายื่นคำแก้ฎีกาถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 หากยื่นคำแก้ฎีกาแล้วศาลภาษีอากรกลางจะรวบรวมสำนวนส่งคืนศาลฎีกาเพื่อพิจารณาต่อไป

ดังนั้นในคดีนี้ศาลฎีกาจึงยังไม่ได้พิจารณาพิพากษาคดีเพียงพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาเท่านั้นซึ่งการอนุญาตให้ฎีกาเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (.วิ.มาตรา 249 ประกอบพ...จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร .. 2528 มาตรา 26 ที่กำหนดให้ศาลฎีกาพิจารณาอนุญาตให้ฎีกาเมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย

เมื่อคดีนี้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ขัดแย้งกันในสาระสำคัญทั้งเกี่ยวพันกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทยและยังเป็นกรณีที่ไม่มีแนวคำพิพากษาของศาลฎีกามาก่อนศาลฎีกาจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ฎีกาได้โดยพิจารณาเพียงว่าปัญหาที่ ยื่นฎีกานั้นเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาสมควรอนุญาตให้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาหรือไม่ยังไม่ได้มีการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี แต่อย่างใด

เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีภาษีอากรซึ่งเป็นคดีชำนัญพิเศษในการพิจารณาพิพากษาจะมีผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษีอากรตลอดทั้งสายตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนกระทั่งถึงศาลฎีกา

โดยศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีการวางระบบการทำงานในรูปแบบการประชุมคดีที่เข้มข้นขององค์คณะนับตั้งแต่เริ่มเปิดทำการเป็นต้นมาโดยองค์คณะจะร่วมกันพิจารณาคดีมีผู้ช่วยผู้พิพากษาทำหน้าที่เลขานุการคณะในการทำเอกสารสรุปข้อเท็จจริงประเด็นข้อพิพาทในคดีและข้อกฎหมายเมื่อประชุมแล้วท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนก็จะยกร่างคำพิพากษาตามมติการประชุมแล้วจึงส่งร่างคำพิพากษานั้นให้ผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือผู้ช่วยเล็กหลังจากผู้ช่วยเล็กตรวจสำนวนแล้วจะเสนอร่างคำพิพากษาดังกล่าวต่อผู้พิพากษาประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาหรือเรียกว่าผู้ช่วยใหญ่เพื่อตรวจร่างคำพิพากษาอีกครั้งหนึ่งเมื่อตรวจแล้วจะเสนอร่างคำพิพากษาดังกล่าวต่อรองประธานเมื่อเห็นว่าเป็นคดีสำคัญจึงส่งให้ประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษหรือประธานศาลฎีกาแล้วแต่กรณีพิจารณาหากเห็นว่ามีปัญหาข้อกฎหมายสำคัญก็จะสั่งให้นำปัญหานั้นเข้าสู่การพิจารณาโดยที่ประชุมใหญ่ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาทุกท่านในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีประมาณ 70 คนส่วนศาลฎีกามี 176 คน

เมื่อร่างคำพิพากษาผ่านที่ประชุมแล้วจึงจัดทำคำพิพากษาเพื่อส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟังต่อไป

ในส่วนของการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกานั้นแม้จะเป็นเพียงชั้นขออนุญาตฎีกาก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็กำหนดจำนวนองค์คณะไว้อย่างน้อย 4 คนโดยหนึ่งในนั้นต้องเป็นรองประธานศาลฎีกาด้วยสำหรับคดีภาษีอากรนั้นคำร้องขออนุญาตฎีกาก็จะถูกพิจารณาโดยผู้พิพากษาที่อยู่ในแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกาเป็นองค์คณะภายหลังจากองค์คณะพิจารณาแล้วในคดีนี้ได้นำเข้าประชุมแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกาเพื่อให้ผู้พิพากษาในแผนกทุกคนได้ร่วมกันพิจารณาและลงมติก่อนจะที่จะมีการส่งมาให้ศาลภาษีอากรกลางอ่านคำสั่งอนุญาตให้ฎีกา