มวลชนอันไพศาล จะต้านเผด็จการได้หรือไม่? / หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว

มุกดา สุวรรณชาติ

หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว

มุกดา สุวรรณชาติ

 

มวลชนอันไพศาล

จะต้านเผด็จการได้หรือไม่?

 

การจะเป็นเผด็จการปกครองประเทศใดประเทศหนึ่งไม่ใช่เป็นกันง่ายๆ ถ้าอยากจะอยู่ในอำนาจนานๆ ต้องมีคุณสมบัติหลายประการ

1.ต้องโกหกหน้าตาย 2.ด้านได้…อาย…อด 3.ใช้อำนาจโหดให้คนกลัว 4.ทำชั่วให้เคยชิน 5.ไม่ได้ยินความยุติธรรม

คณะผู้นำเผด็จการทหารพม่าทุกยุคมีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน และยังมีวิธีเปลี่ยนถ่ายอำนาจต่อรุ่นมาได้เรื่อยๆ

สถานการณ์วันนี้การต่อต้านการรัฐประหารดำเนินมาได้เกินสัปดาห์แล้ว แต่จะไปรอดหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาก็เคยทำได้อยู่ในระดับที่มีคนร่วมเป็นแสน เป็นล้าน แต่ฝ่ายเผด็จการก็มีวิธีที่จะรักษาอำนาจไว้ได้

เรามาลองศึกษาประวัติการต่อสู้ของเผด็จการและฝ่ายที่แสวงหาประชาธิปไตยในพม่ากันดู

 

เปิดประเทศแล้ว

ทำไมกลับมาทำรัฐประหารอีก

พล.อ.มิน อ่อง ลาย มีอำนาจมาตั้งแต่ปี 2553 ภายใต้การเลือกตั้งปลอม

ระบบรัฐสภาของพม่าครั้งนั้นเหมือนกับไม่มีฝ่ายค้าน พรรค NLD ประท้วงไม่ลงเลือกตั้ง ดังนั้น ตลอด 5 ปีผู้นำทหารพม่าที่ปกครองอยู่จึงไม่ได้เรียนรู้ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

ต่อมาเกิดแรงบีบทางเศรษฐกิจและแรงกดดันของต่างประเทศ ในปี 2555 และ 2556 ผู้นำทหารพม่าเหมือนอยากจะทดลองว่าในการเลือกตั้งจริงภายใต้รัฐธรรมนูญที่พวกเขาได้เปรียบ (มีเสียงทหารอยู่ 25% ในรัฐสภา) เขาจะอยู่ได้หรือไม่ อย่างไร

และจะมีปัญหาอะไรที่ต้องแก้บ้าง จะมีผลประโยชน์อะไรที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง

ดังนั้น การเลือกตั้งปี 2558 จึงเกิดขึ้น แต่พรรค NLD ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ได้เป็นรัฐบาล ผู้นำทหารจึงรู้ว่า ที่เคยทำอะไรได้ตามที่ปรารถนาไม่สามารถจะทำได้เหมือนเก่า

ทั้งการใช้อำนาจและการหาผลประโยชน์

แต่ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ภาพของออง ซาน ซูจี ก็ไม่ได้สวยงามเปี่ยมบารมีเหมือนเมื่อก่อน เมื่อลงมาบริหารจริง รัฐบาล NLD ก็มีสิ่งที่ทำให้ประชาชนผิดหวัง หลายเรื่องผู้นำทหารคิดว่าในการเลือกตั้งปี 2563 เสียงของพรรค NLD น่าจะลดลง

แต่การเลือกตั้งจริงกลับกลายเป็นว่า NLD ที่เสียงเพิ่มขึ้นเพราะถึงอย่างไรประชาชนก็ไม่อยากให้ทหารกลับมามีอำนาจ จึงเทคะแนนเสียงให้มากกว่า 80% ผลการ เลือกตั้งครั้งล่าสุด ดูแล้วอิทธิพลและความเชื่อถือต่อออง ซาน ซูจี ที่สั่นคลอนไปบ้างไม่มีผลให้คะแนนเสียงลดลง

ผู้นำทหารสรุปว่า

1. โอกาสที่พวกเขาจะชนะการเลือกตั้งระยะ 10-20 ปีนี้ คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้

2. คาดการณ์ว่ากลุ่มตนเองจะสูญเสียอำนาจการปกครองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ถ้าปล่อยให้พรรค NDL เข้ามาเป็นรัฐบาลและบริหารประเทศอีกครั้ง

3. จำนวน ส.ส. และ ส.ว.ของพรรค NDL เกิน 80% ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย แม้จะยังเหลือที่นั่งในสภา เหลือแค่บางส่วนไว้ให้ทหาร แต่ก็จะไม่สามารถมีอำนาจในการปกครองคุ้มครองผลประโยชน์ที่กลุ่มทหารสร้างสมติดต่อกันมานานถึง 50 ปีได้อีกต่อไป

4. การรัฐประหารเป็นทางออกทางเดียวที่พวกเขาคิดได้ เมื่อศึกษาบทเรียนจากประเทศไทย ผู้นำทหารที่ทำรัฐประหารก็ยังอยู่ได้ และมีแนวโน้มที่จะสืบทอดอำนาจ ต่อไปได้ แม้มีผู้มาปะท้วงขับไล่อยู่ตลอดปี 2563

(ในการเลือกตั้งของประเทศไทย พ.ศ.2548 ไทยรักไทยได้เสียงประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ และปีต่อมาก็ถูกรัฐประหาร ส่วนการเลือกตั้งในปี 2554 เพื่อไทยชนะเลือกตั้ง ได้คะแนนเสียง 53 เปอร์เซ็นต์ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร บริหารได้ 2 ปีกว่าๆ ในปี 2557 ก็ถูกรัฐประหารเช่นกัน)

 

การเคลื่อนไหว

ต่อต้านเผด็จการทหารพม่า

จะทำได้สำเร็จหรือไม่

เกือบ 60 ปีที่พม่ามีการปกครองแบบเผด็จการทหาร

ย้อนดูตามประวัติศาสตร์การเมืองการเคลื่อนไหวต่อต้านระบบเผด็จการมีมาตลอดและปราบปรามจับกุมคุมขัง เข่นฆ่าตายไปนับไม่ถ้วน

 

ลองย้อนดูประวัติการต่อสู้ของนักศึกษา-ประชาชน

การต่อสู้ภาคแรก ต้านรัฐประหาร 2505

เริ่มตอนที่ Union Party ชนะเลือกตั้งปี พ.ศ.2503 เดือนเมษายน อูนุก็ได้กลับมาเป็นนายกฯ เวลาผ่านไปไม่ทันถึงสองปี พอเดือนมีนาคม 2505 พล.อ.เนวินก็ทำรัฐประหาร ล้มรัฐสภา ฉีกรัฐธรรมนูญ ตั้งสภาคณะปฏิวัติขึ้นแทน โดยมีเนวินเป็นประธาน

นักศึกษาและพระสงฆ์สมัยนั้น เริ่มประท้วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2505 แล้วเริ่มลุกลามขยายใหญ่ พอถึงวันที่ 7 กรกฎาคม รัฐบาลก็สั่งปราบ นักศึกษาถูกยิงตายทันที 16 คน กำลังติดอาวุธฝ่ายรัฐบาลบุกเข้าไประเบิดตึกกิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง แล้วสั่งปิดมหาวิทยาลัย

ครั้งนั้นว่ากันว่ามีนักศึกษาถูกฆ่าตายถึง 200 คน

ปีต่อมาถึงจะเปิดเรียน แต่นักศึกษาก็เริ่มต่อต้านอีก จึงปิดมหาวิทยาลัยต่อไปถึงปี 2507

แล้วพยายามคัดคนหัวอ่อนเข้าไปเรียน มีการควบคุมนักศึกษาอย่างเข้มงวด ทำให้การเคลื่อนไหวเงียบไปนาน

หลังจากไทยโค่นผู้นำเผด็จการของประเทศลงได้ใน 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 พวกนักศึกษาพม่าก็มีกำลังใจขึ้นมาอีก เดือนพฤษภาคม 2517 คนงานบ่อน้ำมันเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม คนงานอุตสาหกรรมแห่งอื่นเอาด้วย พวกนักศึกษาก็สนับสนุนทันที ผลคือถูกปราบอีก มีคนตายไปหลายคน ถูกจับไปอีกเยอะ

พอมาถึงปลายปี 2517 ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ อูถั่น (U Thant) ซึ่งเป็นผู้ที่ชาวพม่านับถือ และมีความคิดขัดแย้งกับเนวิน ได้เสียชีวิตลงที่นิวยอร์ก ศพถูกนำกลับมาประกอบพิธีที่พม่า

นักศึกษาและพระสงฆ์เห็นว่า ผู้นำไม่เพียงไม่ไปรับศพเท่านั้น ยังไม่ยอมประกอบพิธีให้อย่างสมเกียรติด้วย

นักศึกษากับพระสงฆ์จึงแย่งศพท่านอูถั่นไปตั้งในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ในบริเวณตึกกิจกรรมที่เคยถูกระเบิดเมื่อปี 1962 ยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลจัดงานศพแบบ “รัฐพิธี”

ระหว่างนั้นก็มีการประท้วงอยู่ในมหาวิทยาลัยด้วย มีการอภิปรายโจมตีรัฐบาลในปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่น เสรีภาพ เศรษฐกิจตกต่ำ ฯลฯ

คืนวันที่ 11 ธันวาคม 2517 เวลาประมาณตีสอง ทหารตำรวจพังประตูมหาวิทยาลัยเข้าไป บุกเข้าไปในหอประชุม โจมตีนักศึกษา ประชาชนและพระสงฆ์ด้วยแก๊สน้ำตาและอาวุธ

มีคนบาดเจ็บ เสียชีวิต ศพถูกขนขึ้นรถ

พวกที่ถูกจับกุม ถูกส่งตัวไปคุก “อินเส่ง” นอกเมืองย่างกุ้ง จากนั้นรัฐบาลก็สั่งปิดมหาวิทยาลัย 2 แห่ง วิทยาลัย 7 แห่ง เทคโนโลยี 7 แห่ง อาชีวะ 9 แห่ง

การต่อสู้ของขบวนการนักศึกษา-ประชาชนพม่า เงียบหายไปนาน ส่วนทางฝั่งประเทศไทยก็เกิดการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 การปราบหนักให้นักศึกษาหนีเข้าป่าเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ใช้แนวทางต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการอยู่นานประมาณ 5-6 ปี ก็มีการเจรจาวางอาวุธ ยุติการต่อสู้

สภาพทางการเมืองไทยก็มีการปกครองแบบประชาธิปไตยครึ่งใบ

 

การต่อสู้ภาคสอง

พ.ศ.2530-2531

ศึกษาการเดินเกมผู้นำเผด็จการ

กับฝ่ายประชาธิปไตย

การต่อสู้ของนักศึกษาประชาชนครั้งสำคัญที่เรียกว่าวัน 8888 (วันที่ 8 เดือน 8 ปี 1988) ช่วงเวลานานนับเดือน มีคนเข้าร่วมชุมนุม บางวันบางแห่งถึง 5 แสนคนแต่ก็ยังถูกปราบ

แต่นั่นคือ 30 ปีที่แล้ว ถ้าเปลี่ยนมาเป็นยุคปัจจุบัน อะไรจะเกิดขึ้น การย้อนกลับไปศึกษาการประท้วงในเดือนสิงหาคม 1988 อาจจะมองเห็นแนวโน้มสำคัญของการเปลี่ยนแปลง

ในระยะ 30 วันข้างหน้า

 

1.ความขัดแย้งเริ่มจากเรื่องปากท้องชาวบ้าน…

กันยายน 2530 “พล.อ.อาวุโส เนวิน” ได้ประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 100, 75, 35 และ 25 จ๊าด ที่เพิ่งออกใช้ใหม่ และให้ใช้ธนบัตรเพียง 45 และ 90 จ๊าด แต่ไม่มีการชดเชย ในเดือนพฤศจิกายน มีนักศึกษาออกมาประท้วงคว่ำบาตรรัฐบาลที่ประกาศยกเลิกธนบัตรที่ใช้ในตลาด ต่อมามีการประท้วงครั้งใหญ่อีกครั้งในมัณฑะเลย์ โดยพระสงฆ์และกรรมกร มีการเผาอาคาร

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2531 มีนักศึกษาคนหนึ่งชื่อโพน เมาถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ผู้ต้องการประชาธิปไตยโกรธแค้นและได้ขยายเป้าหมายไปสู่การประท้วงการทำงานของรัฐบาล ต้องการให้เนวินลาออกและยกเลิกการปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองเดียว

ตำรวจยิงนักศึกษาเสียชีวิต 2 คน ควบคุมตัวไว้ 141 คน ประกาศปิดมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหลายเดือน

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2531 มีการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม

แต่รัฐบาลสั่งปิดมหาวิทยาลัยในวันที่ 21 มิถุนายน และสั่งให้นักศึกษาจากต่างจังหวัดกลับภูมิลำเนา แต่นักศึกษายังคงประท้วงต่อไป มีนักศึกษาและตำรวจที่เสียชีวิตจากการประท้วงในเดือนนี้ รัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิว

การประท้วงได้กระจายไปเกิดขึ้นในอีกหลายเมืองในพม่า เช่น พะโค มัณฑะเลย์ ทวาย ตองอู ชิตตเว ปกอกกู เมอกุย มินบู และมยิตจีนา เป็นต้น ผู้ประท้วงต้องการให้ใช้ระบอบประชาธิปไตยที่มีหลายพรรคการเมือง

ทำให้เนวินประกาศลาออกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2531 เนวินกล่าวว่า เขาเห็นด้วยกับระบบหลายพรรคการเมือง แต่ต้องให้เป็นหน้าที่ตัดสินใจของเส่ง ลวิน ผู้นำคนใหม่

 

2.เปลี่ยนหัวอำพราง แล้วปราบหนัก

นายพลเส่ง ลวิน รับตําแหน่งประธานาธิบดี และประธานพรรค BSPP (Burma Socialist Programme Party) แต่ก็เหมือนกับหุ่นเชิดของเนวิน ที่มาเพื่อปราบม็อบ 8888 โดยแท้

วันที่ 8 สิงหาคม การประท้วงอย่างหนักเกิดขึ้นทั้งพม่า รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ชาวพุทธและมุสลิม นักศึกษา คนงาน เยาวชน มีการอภิปรายเกี่ยวกับระบบหลายพรรค ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลสั่งให้สลายฝูงชนด้วยอาวุธ 10 สิงหาคม ทหารได้บุกเข้าไปในโรงพยาบาลย่างกุ้ง ฆ่าหมอและพยาบาลที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง วิทยุของรัฐบาลรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุม 1,451 คน ทหารได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิต 95 คน บาดเจ็บ 240 คน

พอเห็นท่าไม่ดี เส่ง ลวิน ก็ลาออกในวันที่ 12 สิงหาคม เรียกว่า รับงานเพียง 20 วัน

ในวันที่ 26 สิงหาคม ออง ซาน ซูจี ได้ออกมาร่วมกับผู้ประท้วงที่พระเจดีย์ชเวดากองซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการกลายเป็นสัญลักษณ์เพื่อการต่อสู้ในพม่า

 

3.ปราบไม่สำเร็จเจรจาต่อรอง

เมื่อการปราบปรามอย่างรุนแรงนี้ก็ไม่สามารถสลายและระงับการประท้วงของประชาชนได้ อีกทั้งการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลง เพราะข้อเสนอฝ่ายประชาชนคือ…รัฐบาล BSPP จะต้องสละอํานาจและให้มีการเลือกตั้งระบบหลายพรรค

แต่รัฐบาล BSPP ไม่ยอมสละอํานาจ หากแต่ขอเปลี่ยนตัวผู้นํารัฐบาลอีกครั้ง โดยเลือกพลเรือนขึ้นมาดํารงตําแหน่งแทนคือ ดร.หม่อง หม่อง (Dr. Maung Maung)

ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีความใกล้ชิดกับนายพลเนวิน

 

4.ประชาชนไม่ไว้วางใจเนติบริกรของรัฐบาลชั่วคราว

ประชาชนมองว่า ดร.หม่อง หม่อง เป็นตัวแทนในการสืบทอดอํานาจของนายพลเนวิน การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลจึงเดินต่อ ขยายไปถึงเมืองต่างๆ ในรัฐของชนกลุ่มน้อยด้วย

เช่น มิตจีนา (Myikyina) ในรัฐคะฉิ่น

เมืองตองยี (Taunggyi) ในรัฐฉาน

ซึ่งในช่วงเวลานี้การประท้วงต่อต้านรัฐบาลได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวถูกปฏิเสธจาก ดร.หม่อง หม่อง และรัฐบาล BSPP

ผู้ประท้วงและนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ได้แก่ นางออง ซาน ซู จี อดีตนายพลออง ยี (Aung Gyi) และอดีตนายพลทิน อู (Tin Oo) ต้องการให้ตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง

 

5.รัฐบาลทหารสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายกว่าเดิม

โดยในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ.1988 รัฐบาลได้ประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกและทหารก็ถูกสั่งให้ถอนตัวออกจากเมืองย่างกุ้ง

จากนั้นไม่กี่วันต่อมานักโทษในเรือนจําทั่วประเทศได้ถูกปล่อยหรือหลบหนีออกมา เป็นการวางแผนของนายพลเนวินและนายทหารระดับสูงในกองทัพเพื่อให้กองทัพมีความชอบธรรมเข้าแทรกแซง

เริ่มมีทหาร ตํารวจและเจ้าหน้าที่รัฐเข้าร่วมในการประท้วงด้วย ภายใต้สภาพการณ์ที่เลวร้ายนี้รัฐบาลอ้างว่าต้องทำให้สงบ

 

6.หลอกไม่ได้… ใช้กำลังรัฐประหาร

นายพลซอ หม่อง รัฐมนตรีกลาโหมและหัวหน้าเสนาธิการกองทัพได้นําคณะทหารภายใต้ชื่อ สภาฟื้นฟูกฎและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC) ประกาศยึดอํานาจในวันที่ 18 กันยายน 2531 เพื่อสร้างระเบียบและความเรียบร้อยให้กับประเทศ แล้วจะให้เลือกตั้งแบบหลายพรรค

(สรุปตั้งแต่ต้นปี 2531 มีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงรัฐบาลเนวินหลายพันคน หรืออาจจะถึง 10,000 คน และมีผู้ที่ถูกควบคุมตัวอีกหลายพันคน นับเป็นเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ที่สุดของพม่า)

 

7.เปิดให้เลือกตั้งจริง แต่พอชนะถูกจับขัง

หลังความรุนแรงผ่านพ้นไป เนวินยังอยู่เบื้องหลังการเมืองพม่าต่อไป แต่รัฐบาลก็ออกมาให้คำมั่นสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งในปี 2533 และจะเปิดโอกาสให้พรรค NLD และพร