ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง ลพบุรี ซีพีเอฟร่วมอนุรักษ์ …ชุมชนได้พึ่งผืนป่า 

“การที่จะทำให้ป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ มันไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ถ้ามองเรื่องของความยั่งยืน ก็คือ เรื่องของการมีส่วนร่วมกัน”

“พวกผมเป็นคนในชุมชนที่อาศัยอยู่รอบเขาพระยาเดินธง และได้ใช้ประโยชน์จากป่ามาหลายชั่วอายุคนแล้ว ถ้าเป็นที่ชุมชนโคกสลุงที่อยู่กันมารุ่นต่อรุ่นคู่กับเขาพระยาเดินธง รู้ว่าที่นี่มีแหล่งอาหาร แต่ละฤดูกาลมีแหล่งอาหารอะไรที่จะใช้ในการยังชีพได้ ถ้าป่าถูกทำลายไป แหล่งอาหารของชุมชนก็หายไปด้วย แต่วันนี้ เมื่อเรากลับมาช่วยกัน มันทำให้ป่ากลับมาและมีแนวโน้มที่จะอุดมสมบูรณ์ ”  

ลุงประทีป อ่อนสลุง ปราชญ์ชาวบ้าน ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ถ่ายทอดเรื่องราวจากประสบการณ์ของคนในพื้นที่ที่อาศัยอยู่รอบเขาพระยาเดินธง ต.พัฒนานิคม อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  

ลุงประทีป เป็นจิตอาสาที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง มาอย่างต่อเนื่อง  เช่นเดียวกับที่ลุงประทีปไม่พลาดที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  ซึ่งจิตอาสาของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ และชุมชนรอบเขาพระยาเดินธง  300 คน ร่วมกันซ่อมแซมฝายชะลอน้ำในพื้นที่โครงการฯ  เตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูฝน  
     
ลุงประทีป เล่าต่อว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้โครงการปลูกป่ามีความยั่งยืน คือ ชุมชนเห็นคุณค่าและมาช่วยกัน  วันนี้ เป็นจุดเริ่มที่ชุมชนมีโอกาสได้เข้ามาช่วยหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ที่จะทำให้เขาพระยาเดินธงกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง  อีกอย่างที่เห็น คือ  การใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่าย ทางภาคเอกชนก็มีจุดแข็งเรื่องของการบริหารจัดการและการติดตามอย่างเอาจริงเอาจัง ภาครัฐเองก็มีนโยบายที่จะอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ถ้าทำร่วมกันแล้ว  สิ่งที่ทำร่วมกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องและถูก

กฎหมาย และชุมชนก็เข้ามามีส่วนร่วม วันหนึ่งหน่วยงานถอยไป ภาครัฐอาจจะไม่ได้มีคนที่เข้ามาดูแลมาก แต่ถ้าชุมชนรู้สึกว่าป่าตรงนี้  มันเป็นของเค้า ชุมชนเค้าก็จะลุกขึ้นมาดูแล  ผมว่านี่จะนำไปสู่ความยั่งยืน

“การที่จะทำให้ป่ากลับมาอุดมสมบูรณ์ มันไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ถ้ามองเรื่องของความยั่งยืน ก็คือเรื่องของการมีส่วนร่วมกัน” ลุงประทีปกล่าว

“ถนอมพงษ์  สังข์ธูป” หัวหน้าโครงการฟื้นฟูป่าเขาพระยาเดินธง กล่าวว่า กิจกรรมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำเป็นกิจกรรมครั้งแรกของปีนี้ ซึ่งตรงกับช่วงฤดูแล้งพอดี ทำให้เราสามารถเข้าไปดูแลในพื้นที่เพื่อซ่อมแซมฝายได้ เพราะเราทำฝายกันมาตั้งแต่ปี 2559 เป็นฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน   คือ ใช้ตาข่ายหิน ไม้  ตอนนี้ผ่านมาหลายปีแล้ว ฝายชะลอน้ำเริ่มชำรุด  ก็เข้ามาช่วยกันซ่อมแซม โดยเก็บหินในพื้นที่โดยรอบมาเรียงเติมด้านหน้าและด้านหลังของฝายให้แน่นเพื่อให้แข็งแรงและไม่พังทลายได้ง่าย ใช้ปูนยาแนวช่วยชะลอการไหลของน้ำ หรือถ้ามีการทับถมของตะกอนเยอะขึ้น  ก็อาจจะเป็นฝายที่ถาวรในอนาคตได้  

5 ปี (ปี 2559-2563) ภายใต้ความร่วมมือโดยกรมป่าไม้ ซีพีเอฟ และชุมชน ร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้  ในโครงการ”ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง” ระยะที่ 1 (ปี2559-2563) ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ประเทศ 5,971 ไร่  ซีพีเอฟต่อยอดสร้างอาชีพและส่งเสริมสุขภาพที่ดีสู่ชุมชนด้วยการทำโครงการ “ปลูกผักปลอดสาร” สนับสนุนชุมชนในพื้นที่โครงการฯปลูกผักพื้นบ้านไว้บริโภคและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ขยายพันธุ์ในรูปแบบธนาคารเมล็ดพันธุ์  ทำให้ชุมชน

รอบป่าสามารถพึ่งพิงตนเองได้  โดยขณะนี้มีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารจาก 5 หมู่บ้าน  จำนวน 40 คน และจะเพิ่มจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง 

ลุงน้อย   สลุงอยู่   ชาวบ้านหมู่ 9 ต.โคกสลุง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี   เล่าความรู้สึกจากการเข้าร่วมกิจกรรมซ่อมฝายชะลอน้ำและปลูกป่าว่า  คนในชุมชนอยากเห็นป่าที่มีความชุ่มชื้น เป็นป่าสมบูรณ์  เป็นโอกาสดีที่พื้นที่ป่าบริเวณนี้ กลับมาเป็นป่าอีกครั้ง  ทำให้คนในชุมชนได้มาอาศัยผืนป่า สิ่งที่ได้ คือ   ชุมชนมีแหล่งอาหาร  ที่สำคัญ คือ เกิดความสามัคคีของชุมชนรอบพื้นที่ ได้มาร่วมใจกันปลูกป่า  ขอบคุณซีพีเอฟที่เข้ามาชักชวนคนในชุมชนให้กลับมาดูแลป่า และซีพีเอฟยังได้ส่งเสริมชุมชนปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเอง นำผลผลิตมาใช้แบ่งปันกัน และหากมีผลผลิตจำนวนมากสามารถกระจายผ่านระบบตลาดของชุมชน

ป้าเฉลียว ครองใจ วัย 72 ปี ชาวบ้านหมู่ 3 บ้านห้วยบง ต.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี  เข้าร่วมกิจกรรมซ่อมแซมฝายชะลอน้ำ  นอกจากนี้ ป้าเฉลียวยังเป็นสมาชิกในโครงการปลูกผักปลอดสาร ซึ่งเป็นโครงการที่ซีพีเอฟส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักปลอดสารไว้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดี โดยซีพีเอฟสนับสนุนอุปกรณ์ให้ เช่น ถังเก็บน้ำ สายยางทำสายน้ำหยด ฯลฯ ป้าเฉลียวบอกว่า ผักที่ปลูกไว้ มีทั้งมะเขือ ฟักทอง มะระ ต้นหอม ผักชี  รวมทั้ง บวบงู บวบเหลี่่ยม สายพันธุ์บวบที่เกษตรกรนิยมปลูก  ฯลฯ  โดยหลังจากที่เข้าโครงการของซีพีเอฟ สามารถนำผักที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นมาขายเป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ

ซีพีเอฟมุ่งมั่นขยายผลการดำเนินโครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์ นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง”  เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่าของประเทศไทย สร้างแหล่งอาหารของชุมชน ที่สำคัญ คือ สร้างความตระหนักให้ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลรักษาป่าให้คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป