อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ : ข้อมูลเศรษฐกิจ

อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์

เกาเหลาพรรคร่วมรัฐบาลมีอยู่จริง แต่สถานะทางเศรษฐกิจของไทยเป็นจริงกว่า

หากมีแต่ภาพฝันอันสวยหรูจากรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องประหลาดใจที่เห็นรัฐบาลพูดออกมาอย่างสม่ำเสมอถึงข่าวเศรษฐกิจดี พวกเขาอ้างว่ามีโรงงานเปิดมากกว่าปิด และได้สร้างงานมากขึ้น

หรือพูดว่ารัฐบาลมั่นใจเศรษฐกิจได้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว และเศรษฐกิจที่สดใสกว่าวางเอาไว้ในปีหน้าแล้ว

นี่เป็นงานสร้างความหวัง ในขณะที่เราควรมองภาพจริงทางเศรษฐกิจ

ขอเสนอข้อมูลทางเศรษฐกิจบางส่วนดังนี้

 

โรงงาน

การจดทะเบียนใหม่โรงงานอาจเพิ่มมากขึ้น แต่ความจริงคือ โรงงานต่างๆ ทำการผลิตน้อยและน้อยลง

ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ดัชนีการผลิตหัตถอุตสาหกรรม โรงงานในไทยผลิตที่ 1.2%, 2.5% และ 4.3 % น้อยกว่าในไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

ยิ่งไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการใช้ของโรงงานดิ่งลงจาก 69.9% ที่เคยใช้ในปี 2018 ลดเหลือ 63.7% ในเดือนตุลาคม กระทรวงอุตสาหกรรมอาจพูดถูกที่มีโรงงานเปิดใหม่เกิดขึ้น แต่มีโรงงานว่างเปล่าที่รอการปิดตัวมากกว่า

ดังนั้น ความหวังให้มีการจ้างงานเกิดขึ้นจะไม่เกิด (1)

 

เศรษฐกิจปีหน้า ความฝัน

ความคาดหวังถึงเศรษฐกิจอันสดใสในปีหน้าเป็นเพียงความฝันของรัฐบาลเท่านั้น ดังที่ตัวชี้วัดสำคัญบ่งบอกเอาไว้ได้แก่

ตัวชี้วัดแรกคือ การลงทุน ตรรกะง่ายๆ การลงทุนนำมาซึ่งการผลิตที่มากขึ้น การผลิตที่มากขึ้นนำมาสู่การบริโภคที่มากขึ้น

การบริโภคมากขึ้นหมายความว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น

ถ้าใช้ตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย ตัวชี้การลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Indicator) หดตัวลงเหลือ 1% ในไตรมาสที่ 1 ลดลง 3.2% ในไตรมาสที่ 2 และลดลง 3.1 % ในไตรมาสที่ 3

การที่มีการลงทุนน้อยลงและน้อยลงไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าการลงทุนโตขึ้น 3.5% ในปี 2018 เราก็มีเศรษฐกิจย่ำแย่ในปีนี้ ดังที่การเติบโตของ GDP คาดว่าเติบโตน้อยกว่า 2.4% และอัตราการลงทุนโดยเฉลี่ยติดลบ 2.4% ใน 3 ไตรมาสแรกปีนี้

ทำไมตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจตกลงไตรมาสแล้วไตรมาสเล่า

เราอาจวิเคราะห์ได้ว่า นี่เป็นวงจรอันชั่วร้าย ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ วงจรนี้เป็นดังนี้

มีตลาด 3 ตลาดที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันในระบบเศรษฐกิจคือ ตลาดเงิน ตลาดการผลิตและตลาดแรงงาน

ตลาดเงินอำนวยให้เงินทุนเข้าสู่ผู้ผลิตเพื่อทำการผลิตและผู้บริโภคได้บริโภค

เมื่อผู้ผลิตได้เงินทุนที่จำเป็นและเขาก็แน่ใจว่าผู้บริโภคมีเงินซื้อสินค้าและบริการของพวกเขา

การผลิตสินค้าและบริการที่มีระดับสูงขึ้นมีผลให้อัตราการเติบโตของ GDP สูงขึ้น

ปัจจุบันส่วนที่เป็นวงจรสุดท้ายและมีความสำคัญที่สุดคือ ตลาดแรงงาน

โดยธรรมชาติ การผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทต้องการแรงงาน ระดับการผลิตที่เพิ่มขึ้นหมายถึง แรงงานมีรายได้สูงขึ้น รายได้ของแรงงานสูงขึ้นอัดฉีดเข้าสู่ระบบการออมเข้าสู่วงจรแรกคือ ตลาดเงิน และด้วยแต่ละตลาดมีสภาวะที่ดี วงจรทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างราบรื่นและประชาชนมีความสุข

ในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสมัยใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจที่สำคัญเกิดขึ้นในตลาดเงิน ตัวอย่างสำคัญคือ วิกฤตต้มยำกุ้งของไทยในปี 1997 วิกฤตการเงินทำลายวงจรทางเศรษฐกิจของภาคเศรษฐกิจ 3 ภาคที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันและสุดท้ายระบบเศรษฐกิจไทยก็ล่มสลาย

วิกฤต Lehman Brother ในปี 2008 ซึ่งทำลายเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลกด้วย ถ้าความทรุดโทรมนั้นไม่หยุดยั้ง เพื่อรักษาปกป้องตลาดเงิน ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve Board) อัดฉีดเงิน 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปในตลาดภายใน 1 ปีและจัดให้อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมภายในอยู่ระดับต่ำระหว่าง 5% ถึงเกือบ 0%

เครื่องมือซึ่งรักษาตลาดเงินสหรัฐคือ Quantitative Easing (QE) ซึ่งต้องนำมาใช้ 3 ครั้งก่อนที่จะไปสู่วงจรเศรษฐกิจล่มสลาย

 

สําหรับประเทศไทยปัจจุบัน วิกฤตดูเหมือนเริ่มต้นที่ตลาดเงิน แต่ไม่ใช่ตลาดเงินแบบที่เกิดขึ้นในปี 1997 หากจำกันได้วิกฤตปี 1997 ไม่มีความปั่นป่วนของการเติบโตของ GDP ความจริงก่อนปี 1997 ไทยมีความพอใจกับการเติบโตของ GDP ซึ่งเติบโตเกิน 7% จนถึงปีที่เกิดวิกฤต

นั่นเพราะว่า วิกฤตครั้งนั้นไม่ได้เริ่มต้นในภาคการผลิตจึงไม่มีสัญญาณหยุดยั้ง GDP ที่เหมือนกัน เราไม่เห็นสัญญาณต่างๆ ของปัญหาในภาคการเงิน ธนาคารยังคงทำกำไรทีเดียว เงินทุนยังมีล้นเหลือ หนี้เสียยังคงจัดการได้ ดังนั้น ธนาคารกลางมีความสุข

แต่ตอนนี้มีสัญญาณชัดเจนจากการต่อสู้ในตลาดการผลิต ที่ภาคการผลิตยังคงผลิตสินค้าและบริการได้น้อยลง ผู้ประกอบหัตถอุตสาหกรรมไม่มีความสุข

ภาคเศรษฐกิจทั้ง 3 การเงิน การผลิตและแรงงานซึ่งเชื่อมโยงซี่งกันและกันอันก่อรูปเป็นวงจรเศรษฐกิจ เมื่อตลาดหนึ่งล้มลง เศรษฐกิจอื่นๆ ก็ล่มสลายไปด้วย ก่อนที่ตลาดเงินพัฒนาไปสู่วิกฤตได้แก่ ภัยแล้ง น้ำท่วม ฤดูหนาวที่ยาวนาน หรือเกิดโรคระบาดได้โจมตีตลาดการผลิตเป็นอันดับแรก

ตัวอย่างอันใกล้ของการล่มสลายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากวิกฤตภาคการผลิตคือ วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศเวเนซุเอลา

 

ผมขอเสนออีกครั้งว่า หากผู้อ่านเชื่อในตัวเลขทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่เรื่องเล่าต่างๆ ที่วาดอย่างสวยหรูในขณะนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า วงจรอุบาทว์เกิดขึ้นแล้วในภาคหัตถอุตสาหกรรม ในไม่ช้าความปั่นป่วนทางการผลิตจะขยายตัวไปภาคเกษตรกรรมผ่านภัยแล้ง

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะทำลายสถานการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สดใส ภาคย่อยทั้ง 3 ของภาคการผลิต คือเกษตรกรรม หัตถอุตสาหกรรมและบริการจะเข้าสู่วิกฤต การผลิตสินค้าและบริการน้อยหมายความว่าความต้องการแรงงานน้อย ตลาดแรงงานจะเปลี่ยนโฉมไปสู่วิกฤตอันเกิดจากปัญหาการว่างงานและการมีรายได้น้อย

เกษตรกรและแรงงานเหล่านี้คือ ผู้บริโภค ถ้ามีเงินน้อยก็จะไปสู่ภาคการเงิน ตลาดเงินจะขาดเงินออม แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาหลักสำหรับภาคการเงิน ตอนนี้ภาคการเงินมีเงินล้นเหลือและมีสภาพคล่องมากเกิน

ปัญหาสำคัญคือ ความเสื่อมถอยลงของคุณภาพเงินกู้ เงินกู้เน่านำมาสู่วิกฤตภาคการเงินเหมือนกรณีวิกฤต Lehman Brother ของสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันไทยมีครบแล้ว น้ำท่วม ภัยแล้ง อากาศหนาวผิดฤดูกาล ภัยโรคระบาด แถมยังมีมือบริหารเศรษฐกิจที่ไม่เอาไหนด้วย

เกาเหลาพรรคร่วมรัฐบาลมีอยู่จริงในรัฐบาลผสมทุกยุคทุกสมัย แต่หากในรัฐบาลที่บริหารเศรษฐกิจไม่เอาไหนยิ่งน่าเศร้า ข้อมูลเศรษฐกิจเป็นของจริงกว่า ข้อมูลเหล่านี้ส่งสัญญาณชัดเจนแล้ว อย่าบอกว่าอั๊วไม่เกี่ยว เศรษฐกิจโลกอยู่เหนือการควบคุม หรือโทษสื่อโซเชียลว่าเอาแต่ด่า

คนสร้างวงจรอุบาทว์ทางเศรษฐกิจ คนนั้นต้องรับผิดชอบ

———————————————————————————————————
(1)ดู Chartchai Parasuk, ” The vicious economic cycle has begun” Bangkok Post 5 December 2019.