กกต.สรุปจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตทั้งในและต่างประเทศกว่า 2.7 ล้านคน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ มีรายงานว่า เฟซบุ๊ก “ จับตาโกงเลือกตั้ง keep eye on “ โพสต์ข้อความ ระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยสำนักประชาสัมพันธ์แจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งสรุปจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนก่อนวันเลือกดั้ง นอกเขตเลือกตั้ง- นอกราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 28 มกราคม – 19 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้

นอกเขตเลือกตั้ง มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนน จำนวน 2,632,935 คน โดยเป็นการลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตจำนวน 2,318,548 คน และสำนักทะเบียน จำนวน 314,387 คน จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนมากที่สุด 1 – 10 อันดับแรก
1. กรุงเทพมหานคร จำนวน 928,789 คน
2. ชลบุรี จำนวน 221,541 คน
3. สมุทรปราการ จำนวน 164,575 คน
4. ปทุมธานี จำนวน 134,783 คน
5. นนทบุรี จำนวน 97,321 คน
6. เชียงใหม่ จำนวน 85,716 คน
7. ระยอง จำนวน 81,827 คน
8. สมุทรสาคร จำนวน 55,358 คน
9. ภูเก็ต จำนวน 48,980 คน
10. นครราชสีมา จำนวน 45,185 คน

จังหวัดที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนน้อยที่สุด
1. อำนาจเจริญ จำนวน 2,181 คน
2. สิงห์บุรี จำนวน 2,198 คน
3. หนองบัวลำภู จำนวน 2,211 คน
4. สตูล จำนวน 2,545 คน
5. มุกดาหาร จำนวน 2,566 คน
6. ระนอง จำนวน 2,625 คน
7. ชัยนาท จำนวน 2,776 คน
8. บึงกาฬ จำนวน 2,821 คน
9. ยโสธร จำนวน 2,831 คน
10. อุทัยธานี จำนวน 2,848 คน

นอกราชอาณาจักร โดยมีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธินอกราชอาณาจักร จำนวน 119,184 คน ใน 67 ประเทศ 94 สถานเอกอัครราชทูต-สถานกงสุลใหญ่ ดังนี้

ประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนมากที่สุด
1. ประเทศออสเตรเลีย จำนวน 16,183 คน
2. ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 15,010 คน
3. สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 10,996 คน
4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,926 คน
5. ประเทศญีปุ่น จำนวน 7,758 คน
6. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จำนวน 5,748 คน
7. ประเทศมาเลเซีย จำนวน 5,183 คน
8. ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 4,918 คน
9. สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 2,960 คน
10. สาธารณรัฐฝรั่งเศส จำนวน 2,614 คน

ประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนน้อยที่สุด
1. สาธารณรัฐเซเนกัล จำนวน 10 คน
2. สาธารณรัฐเปรู จำนวน 25 คน
3. สาธารณรัฐอาร์เจนตินา จำนวน 27 คน
4. สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต จำนวน 30 คน
5. สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล จำนวน 31 คน
6. สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล จำนวน 36 คน
7. ประเทศโรมาเนีย จำนวน 62 คน
8. สาธารณรัฐชิลี จำนวน 66 คน
9. ประเทศเม็กซิโก จำนวน 68 คน
10. สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย และ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา จำนวน 84 คน

 

มติชนออนไลน์