เพื่อไทย ไทยรักษาชาติ ประชาชาติ “ยุทธวิธี” ต่าง “ยุทธศาสตร์” เดียวกัน

ไม่ว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง ไม่ว่า นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ล้วนจาก พรรคเพื่อไทยมาด้วยดี
ความรัก ความผูกพัน ยังดำรงคงอยู่เหมือนเดิม

“ผมไม่ได้ลาออกจากพรรคเพื่อไทยเพราะขัดแย้งกับแกนนำ หรือใครในพรรค ไม่มีปัญหาความแตกต่างทางอุดมการณ์หรือนโยบาย

โจทย์ของเรา คือ จะหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจได้อย่างไร”
เป็นคำยืนยันจาก นายจาตุรนต์ ฉายแสง อันเท่ากับเป็นการพูดแทนคนอื่นๆที่ออกจากพรรคเพื่อไทยไปอยู่กับพรรคไทยรักษา ชาติ

นี่เป็นเรื่องในทาง”ยุทธวิธี”ขณะที่”ยุทธศาสตร์”ยังคงเดิม

เหตุใดทั้ง นายจาตุรนต์ ฉายแสง ทั้ง นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ และรวมถึงทั้ง นายสุธรรม แสงประทุม และ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญ กุล จึงเน้นย้ำเหตุผลอย่างเดียวกัน

1 เพราะมีการการโหมประโคมก่อนหน้านี้ว่าพรรคเพื่อไทยระ ส่ำระสาย
เพราะพลานุภาพแห่ง”พลังดูด”

เพราะความขัดแย้งในทางความคิด ในทางการเมืองระหว่าง บางคน บางฝ่าย

ขณะเดียวกัน 1 เมื่อเห็นการไปพบและอำลาของ นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ กับหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรคและกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยย่อมทำให้เสียงร่ำลือที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ยุติลงโดยพื้นฐาน

ยิ่งเมื่อหลายคนในพรรคพลังประชารัฐออกมาประสานเสียงเดียวกันว่า “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560″เป็นการยกร่างมาเพื่อ”พวกเขา” ยิ่งทำให้มีความจำเป็นต้องเปิด”กลยุทธ์”ตอบโต้

นั่นก็คือ ทำอย่างไรให้ตีฝ่าออกจาก”กับดัก”ที่ดำรงอยู่ภายใน “รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560″นี้ให้ได้

การแยกและแตกตัวจากพรรคเพื่อไทยไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยรักษาชาติ ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาชาติ หรือแม้

กระทั่งพรรคเพื่อชาติ จึงมีความจำเป็นเพื่อบอกให้รู้ว่า รู้เท่าทัน และมิได้อยู่นิ่งเฉย

ทั้งหมดนี้เสมอเป็นเพียง “ยุทธวิธี”เพื่อบรรลุ”ยุทธศาสตร์”ต่อกรกับความพยายามสืบทอดอำนาจของคสช.

รู้เขา รู้เรา ร้อยศึกก็บ่พ่าย