แผนส่งโรฮิงญากลับพม่าคาดเริ่มปีหน้า หลังล่าช้าหลายเดือน

Myanmar authorities look at a group of Rohingya Muslims walking on a field in Kyauktan township south of Yangon on November 16, 2018 after their boat washed ashore. - A boatload of more than 100 Rohingya Muslims who fled a camp in Myanmar were found November 16 in the south of the country after spending days on the Andaman Sea in a failed attempt to reach Malaysia. (Photo by Myo Kyaw SOE / AFP)

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 แผนการส่งกลับผู้อพยพชาวโรฮิงญาในบังกลาเทศกลับเมียนมา ซึ่งเดิมจะเริ่มต้นกระบวนการส่งกลับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้องประสบกับความล่าช้า โดยคาดว่าจะเริ่มต้นกระบวนการส่งกลับได้จริงในปี 2562 หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งทั่วไปของบังกลาเทศในปลายปีนี้

นายอับดุล คาลัม ผู้รับผิดชอบด้านการบรรเทาทุกข์และการส่งกลับผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศ กล่าวว่า จำเป็นต้องมีการกำหนดการดำเนินการใหม่ในกระบวนการส่งกลับผู้ลี้ภัย โดยนำเอาข้อเรียกร้องใหม่ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญามาประกอบการพิจารณาด้วย อย่างไรก็ดีเขากล่าวภายหลังว่าเรื่องดังกล่าวเป็นแนวคิดส่วนตัวซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวพันใดๆ กับท่าทีของรัฐบาลบังกลาเทศ

ทั้งนี้ มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาราว 720,000 คนที่หนีการกวาดล้างของกองทัพพม่าในรัฐยะไข่ และเข้าไปยังบังกลาเทศนับตั้งแต่ปี 2560 เดิมบังกลาเทศมีแผนการส่งกลับผู้ลี้ภัยกลุ่มแรก 2,200 คนกลับไปยังพม่าเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน แต่ไม่มีใครยอมเดินทางกลับ โดยชาวโรฮีนจาได้เรียกร้องให้เมียนมาให้สัญชาติกับพวกเขา พร้อมทั้งให้ความยุติธรรมและให้โอกาสพวกเขาได้กลับไปยังบ้านเกิดด้วย