ย้อนข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ปี 54 แถลงการณ์ ล้างผลพวงรัฐประหาร ชงโละ-รธน.-คปค.-คตส.

หมายเหตุ : งานนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปี ของคณะนิติราษฎร์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นวันที่ 19 ก.ย. 2553 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)

 

วันที่ 18 ก.ย. 2554  ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “คณะนิติราษฎร์” กลุ่มอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จำนวน 7 คน ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ,นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา, นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล, นายธีระ สุธีวรางกูร, น.ส.สาวิตรี สุขศรี, นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง “5 ปี รัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์” โดยมีข้อเสนอ 4 ประเด็น คือ

ประเด็นที่ 1 การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 เป็นการทำผิดกฎหมายทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จึงขอเสนอลบล้างผลพวงของรัฐประหาร โดยให้ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลรัฐประหารเสียเปล่า ไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลทางกฎหมาย ครอบคลุม ดังนี้

1. ประกาศรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 และการกระทำใตๆ ที่มุ่งผลทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 – 30 ก.ย.2549

2. รัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2549 มาตรา 36 และ 37 ให้เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมาย

3. คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้คำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาศัยอำนาจตาม คปค. และมีผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 โดยเฉพาะคำวินิขฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) และประกาศให้เรื่องเริ่มเรื่องโดยคตส. ให้ยุติลง

การประกาศความเสียเปล่าของกระบวนการข้างต้น ไม่ใช่การนิรโทษกรรม หรืออภัยโทษ หรือล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิด หากจะดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ สามารถทำได้ตามกระบวนการกฎหมายตามปกติ

ทั้งนี้ เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย คณะนิติราษฎร์ เสนอให้นำข้อเสนอข้างต้นจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้ประชาชนออกเสียงประชามติ

 (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

ประเด็นที่ 2  เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เนื่องจากมีปัญหาทั้งแง่ตัวกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์ ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่มีการศึกษาและอภิปรายในวงกว้าง โดยเฉพาะเรื่องความสมดุสระหว่างความร้ายแรงของการกระทำความผิดกับโทษที่ควรได้รับ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักความสมควรแก่ เหตุที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 29

ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายควรรับฟังความเห็นจากประชาชนเพื่อเสนอต่อครม.ต่อไป ตามพ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ.2553 มาตรา 19 (3)

 (Photo by MIKE CLARKE / AFP)

ประเด็นที่ 3 เสนอให้กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหา หรือจำเลย และเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ภายหลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ซึ่งหลังจากรัฐประหาร ส่งผลให้อยู่ในสถานการณ์ขัดแย้งเรื่อยมา มีการชุมนุมของฝ่ายต่างๆ ใช้ความรุนแรง มีผู้ถูกกล่าวหาทำผิด มีผู้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน จึงควรแก้ไข เยียวยาอย่างเร่งด่วนและเป็นรูปธรรม

ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ควรได้ประกันตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม ขณะที่การเรียกประกันหรือหลักประกันต้องไม่เกินความจำเป็นแก่กรณี ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 110 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดต้องปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 ครม.ควรออกมติให้ความช่วยเหลือหรือจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้ใด้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแข็งทางการเมืองที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร โดยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดขเฉพาะ ให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ อัตราค่าทดแทน อาศัยตามแพวทางกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.ค่ตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลยคคีอาญา พ.ศ.2544 หรือ พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจาการช่วยเหลือราชการการปฏิบัติงานของชาติหรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ.2543

นอกจากนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรตรวจสอบการกระทำ หรือการละเลยการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหา จำเลย

(Photo by MIKE CLARKE / AFP)

ประเด็นที่ 4 เสนอให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เนื่องจากฉบับ 2550 เป็นผลต่อเนื่องจากการรัฐประหาร 2549 แม้จะผ่านการทำประชามติมาแล้วก็ตาม เพราะกระบวนการยกร่างและการจัดออกเสียงประชามติ ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย

จึงเสนอให้ ครม.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้ใช้ พ.ร.บ. ธรรมนูญการปกครองแผ่นตินสยามชั่วคราว ปี 2475, รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญปี 2540 ในส่วนการประกันสิทธิและ เสรีภาพตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญมาเป็นแนวทางยกร่าง พร้อมเสพอให้จัดทำคำประกาศ ว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบบเสรีประชาธิปไตย เพื่อไม่ให้การทำรัฐประหารทำลายรากฐานของนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งนี้ หากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขแล้ว จัดให้ออกเสียงประชามติเพื่อให้ออก เสียงเห็นชอบต่อไป