การวิจัยพัฒนาและสนับสนุนกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตสุขภาพที่ 3

พัฒนาและสนับสนุนกิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  เขตสุขภาพที่ 3

ผู้รายงาน        นางวิราวรรณ  โพธิ์งาม

การวิจัยนี้ เป็น การวิจัยนี้เป็นวิจัยพัฒนาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายและผลลัพธ์ทางสุขภาพ ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตสุขภาพที่ 3 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์อนามัยที่ 3 พัฒนากระบวนการสนับสนุนกิจกรรม    ทางกายในเด็กปฐมวัย และ ประเมินผลลัพธ์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเด็กปฐมวัย การเลือกตัวอย่าง กำหนดพื้นที่วิจัยเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เข้ากระบวนการพัฒนาเด็กเล็ก สูงดี สมส่วน ของเขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดละ 2 แห่งและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศูนย์อนามัยที่ 3 รวมทั้งหมด 11 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตสุขภาพที่ 3 และเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก          ศูนย์อนามัยที่ 3 จำนวนทั้งหมด 566 คน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดกระบวนการพัฒนาแก้ไขปัญหา กระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยใช้โปรแกรมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นเองและผ่านปรับปรุงตามคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำไปใช้ฝึกทักษะการฝึกทักษะการณ์เคลื่อนไหวร่างกาย ด้านความคล่องตัว  ด้านความแข็งแรงกล้ามเนื้อต้นขา สะโพก   ด้านความเร็วที่สัมพันธ์กับระบบประสานการสั่งการ  ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสายตา การตัดสินใจและช่วยกระตุ้นระบบการเผาผลาญพลังงาน มีทั้งหมด 3 โปรแกรมเริ่มจากระดับเบา ปานกลางระยะเวลาในการปฏิบัติทั้งหมด 12 สัปดาห์โดยมีความถี่โปรแกรมละ 2 สัปดาห์ๆละ 5 วันใช้ระยะเวลากิจกรรมละ 50 นาทีต่อวันในการฝึกแต่ละกิจกรรมมีรูปแบบการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 11 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ         ค่าร้อยละ และมีการพัฒนาเครื่องมือ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ เก็บข้อมูลเก็บข้อมูล เด็กปฐมวัยอายุ 2-5 ปี  ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์อนามัยที่ 3 จำนวน 27 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร/หัวหน้างาน และครูพี่เลี้ยงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ ศูนย์อนามัยที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร้อยละการเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย ในรอบ 6 เดือน และ 12 เดือนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ ศูนย์อนามัยที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและผลลัพธ์ทางสุขภาพของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของศูนย์อนามัยที่ 3

ผลการวิจัยพบว่า  เด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 ในปี พ.ศ. 2561 – 2563 พบว่ามีภาวะการเจริญเติบโต  สูงดีสมส่วน เพียงร้อยละ 36.41 58.06 และ 64.48 ตามลำดับ สอดคล้องกับข้อมูลสำรวจสถานการณ์ ระดับประเทศ สูงดี สมส่วน ร้อยละ 38.78  60.04  และ 65.10 ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าการพัฒนากระบวนการในวงรอบที่ 1  และนำไปทดลองขยายผลในเขตสุขภาพที่ 3     ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 11 แห่ง  เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านร่างกายโดยใช้เกณฑ์ประเมินภาวะสูงดี สมส่วน พบว่า  การส่งเสริมกิจกรรมทางกายยังไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร      เมื่อศึกษาดูพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในเขตสุขภาพที่ 3 เด็กอายุ 3-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 51.3 ล่าช้าร้อยละ 48.7 ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ วิธีคลอด ระดับการศึกษาของผู้เลี้ยงดูเด็ก การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การอ่านสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก สถานที่เลี้ยงดูตอนกลางวัน น้ำหนักแรกเกิด อายุเด็ก และส่วนสูงต่ออายุของเด็ก ผู้วิจัยได้ดำเนิน การปรับปรุงการพัฒนาจากกระบวนการเป็นวงรอบที่ 2  เป็นการพัฒนาออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายและส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีประสิทธิผลต่อเด็กปฐมวัย  อายุ    2 – 5 ปี  และนำไปใช้ในการส่งเสริมกิจกรรม ทางกายของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ ผลจากการใช้โปรแกรมการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการส่งเสริมพัฒนาด้านการเจริญเติบโต สูงดี สมส่วน  พบว่าหลังจากการปฏิบัติกิจกรรมทางกายตามโปรแกรมและระยะเวลาที่ กำหนดแล้ว เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต สูงดี สมส่วน ดีขึ้นทุกด้านมากกว่าก่อนการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย  

ข้อเสนอแนะ  การจัดทำแผนกิจกรรมแต่ละช่วงอายุควรเลือกกิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐานจากง่ายไปยากและผสมผสานกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา ความสามารถ และความสนใจของเด็ก

คำสำคัญ: กิจกรรมทางกายเด็กปฐมวัย สูงดีสมส่วน เด็กปฐมวัย