ขอเวลาเพียงไม่นาน… ย้อน Top 5 ผู้นำของสหราชอาณาจักร นั่งเก้าอี้นายกฯ แสนสั้นที่สุด กี่วัน ?

อังกฤษเพิ่งมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นามว่า ‘ริชี ซูแน็ก’ มีอายุแค่ 42 ปี และเพิ่งชนะเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแค่ 3 สมัยในปี 2558, 2560 และ 2562 ได้เป็นนายกฯ หลังจากเข้าสภามาแค่ 7 ปี

อังกฤษถือเป็นสัญลักษณ์ของระบอบการปกครองที่มีเสถียรภาพอย่างน่าประหลาดใจ หลังจากในประเทศเพิ่งเผชิญสถานการณ์สวรรคตของกษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานมากกว่า 70ปี และมีการลาออกของนายกรัฐมนตรีถึง 2 คนภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือนเศษ

แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้ว “นายกฯ”(อังกฤษ) คนไหน อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน ทีมงานของพาไปสำรวจ Top 5 ผู้นำของสหราชอาณาจักร นั่งเก้าอี้นายกฯ แสนสั้นที่สุด (กี่วัน) ?

หลังจากการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักของ นางลิซ ทรัสส์ ขณะที่เธอดำรงตำแหน่งนากยรัฐมนตรีเพียง 45 วัน สาเหตุไม่ว่าจะมาจากแรงกดดัน จากสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม หลายคนที่มองว่า ถึงเวลาแล้วที่ นางลิซ ทรัสส์ ต้องลงจากตำแหน่ง เพราะ นางลิซ ทรัสส์ และ นายกวาร์เทง ซึ่งเป็นเพื่อนสนิททางการเมือง ร่วมงานกันมากว่า 10 ปี เป็นผู้ร่วมร่างแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล การปลด นายกวาร์เทง ออกจากตำแหน่งคือการหักหลังทางการเมือง ที่คนในพรรคอนุรักษ์นิยมมอง หรือสาเหตุอีกประการหนึ่ง ณ ขณะนี้คือปัญหาใหญ่ของสหราชอาณาจักร คือปัญหาด้านเศรษฐกิจ ที่หลายคนมองว่า รัฐบาล นางลิซ ทรัสส์ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ปัญหาจากภายนอกคือ พรรคฝ่ายค้านหลักคือพรรคแรงงาน เรียกร้องให้ยุบสภา และให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ ทำให้ นางลิซ ทรัสส์ ได้รับการกดดัน ทั้งจากภายในพรรค ภายนอกพรรค นำไปสู่การที่ นางลิซ ทรัสส์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด และได้สร้างสถิติ เป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ที่อยู่ในเก้าอี้ระยะเวลาสั้นที่สุด หลายคนอาจสงสัยว่า นางลิส ทรัสส์ ล้มสถิติ ใครกัน และก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร มีใครที่ดำรงตำแหน่งแสนสั้นมาแล้วบ้าง วันนี้ เรามีคำตอบ และจะพาไปรู้จักพวกเขาเหล่านั้นกัน

 

ลำดับที่ 5 วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุกที่ 4 แห่งเดวอนเชอร์ เจ้าของสถิติอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร 225 วัน นายกรัฐมนตรีจากพรรควิก ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ.1756-1757 เขาดำรงตำแหน่งภายหลังจากเหตุการณ์ The Forty-Five เจ้าชายชาลส์ เอดเวิร์ด สจวต ได้เคลื่อนทัพจากฝรั่งเศส ข้ามฝั่งมาที่สหราชอาณาจักร มาขึ้นฝั่งที่สกอตแลนด์ และได้รับแรงสนับสนุนจากชาวสกอตแลนด์ ในการต่อสู่กับรัฐบาลกลางของสหราชอาณาจักร เพื่อหาทางยึดอำนาจจากราชวงศ์แฮโนเวอร์ ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองสหราชอาณาจักร ณ ขณะนั้น ขณะเดียวกัน พรรควิก เป็นพรรครัฐบาลมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งกษัตริย์ของสหราชอาณาจักร นามว่าพระเจ้าจอร์จ ที่ 3 ประสงค์ทำลายอำนาจของพรรควิก โดยทรงเปลี่ยนอัครเสนาบดี (นายกรัฐมนตรี) 7 ครั้ง วิลเลียม คาเว็นดิช ดยุกที่ 4 แห่งเดวอนเชอร์ จึงพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย กลายเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ที่อยู่ตำแหน่งเพียง 225 วันเท่านั้น

ลำดับที่ 4 แอนดรู โบนาร์ ลอว์ เจ้าของสถิติอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร 209 วัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยม ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ.1922-1923 เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ที่ไม่ได้เกิดบนแผ่นดินแม่ของสหราชอาณาจักร เพราะเขาเติบโตที่แคนนาดา ซึ่ง ขณะนั้นเป็นหนึ่งในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร เขาเข้าดำรงตำแหน่ง ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเหตุการณ์โลก คือ ดำรงตำแหน่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1ซึ่ง ณ ขณะนั้นทั่วทุกมุมโลกได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ลอยด์ จอร์จ นายกรัฐมนตรีก่อนหน้าเขาจำเป็นต้องลาออก แอนดรู โบนาร์ ลอว์ จึงเข้ารับตำแหน่งแทน แต่เขาก็ดำรงตำแหน่งเพียงสั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากปัญหาสุภาพ เขาจึงลาออกจากตำแหน่งนากยกรัฐมนตรี ทำให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในเก้าอี้เพียง 209 วันเท่านั้น

ลำดับที่ 3 ไวเคานต์โกดริช เฟรเดอริก จอห์น รอบินสัน เจ้าของสถิติอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร 209 วัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคทอรี ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ.1827 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก จอร์จ แคนนิง ซึ่งถึงแก่อสัญกรรม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาดำรงตำแหน่งเพียงสั้นๆ เพราะเกิดความแตกแยกในคณะรัฐมนตรีอย่างหนัก ไวเคานต์โกดริช เฟรเดอริก จอห์น รอบินสัน รู้ตัว ว่าไม่สามารถควบคุมเสียงในสภา รวมถึงสมานความแตกแยกในคณะรัฐมนตรีได้ เขาจึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในเก้าอี้เพียง 144 วันเท่านั้น

ลำดับที่ 2 จอร์จ แคนนิง เจ้าของสถิติอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร 119 วัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคทอรี ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ.1827 ก่อหน้าที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จอร์จ แคนนิง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในหลายรัฐบาล เช่น รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แนวคิดของเขาในการดำรงตำแหน่งเจ้ากระทรวงต่างประเทศนั้น ค่อนไปในทางไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น เพื่อรักษาแนวทางปกครองของฝ่ายอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญของโลก คือ การประกาศเอกราชของลาตินอเมริกา โดยที่เขาเสนอความร่วมมือกับประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร ของสหรัฐอเมริกา ออกแถลงการณ์ต่อต้านการแทรกแซงของชาติตะวันตกในละตินอเมริกา เพื่อไม่ให้สงครามในละตินอเมริกา ส่งผลกระทบต่อการค้าของอังกฤษ แต่กระนั้นสหรัฐอเมริกา ก็เลือกที่จะแถลงการณ์โดยอิสระ นำไปสู่ กฎบัตรมอนโร ในที่สุด ด้วยความโดดเด่นของเขาภายหัลงจากสงครามนโปเลียน รวมถึงเหตุการณ์ กฎบัตร มอนโร ทำให้ในที่สุด เขาถูกวางตัวดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพรรคทอรี แต่กระนั้นด้วยปัญหาสุขภาพ ทำให้เขาถึงอสัญกรรม ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาจึงถูกจารึกให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด แต่กระนั้นเมื่อ นางลิส ทรัสส์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีขณะดำรงตำแหน่งได้เพียง 45 วัน สถิติของเขาจึงถูกล้ม กลายเป็นนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 2 ที่อยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเพียง 119 วัน

และลำดับที่ 1 เจ้าของสถิตินายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ที่ครองตำแหน่งแสนสั้นลำดับที่ 1 คือ นางลิส ทรัสส์ เจ้าของสถิติอยู่ในเก้าอี้นายกรัฐมนตรีเพียง 45 วัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยม ดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ.2022 นางลิส ทรัสส์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร เรียกได้ว่าเข้ามาช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อเลยทีเดียว เพราะ 1.เข้ามาในช่วงที่สหราชอาณาจักรพึ่งออกจากสหภาพยุโรป ทำให้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอัตราภาษีระหว่างประเทศ ได้รับผลกระทบไปด้วย 2.การเข้ารับตำแหน่งในช่วงเกิดสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้อังกฤษที่มีนโยบายสนับสนุนยูเครน มาตั้งแต่รัฐบาล บอริส จอห์นสัน ได้รับผลกระทบในเรื่องของพลังงาน เพราะรัสเซียทำการขู่ รวมถึงตัดการส่งพลังงานสู่สหราชอาณาจักรและยุโรป ที่อังกฤษและสหภาพยุโรป ต้องพึ่งพารัสเซียมาโดยตลอด 3.จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010-2022 พรรคอนุรักษ์นิยมครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาอย่างยาวนาน 4 สมัย อาจส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่ายของประชาชนในสหราชอาณาจักร ประกอบกับปัญหาการแตกแยกภายในพรรคอนุรักษ์นิยม ทำให้เธอถูกกดดันหลายๆ ด้าน นำไปสู่การลาออกของเธอเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ในที่สุด ขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 45 วันเท่านั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเธอเป็นนายกรัฐมนตรีลำดับสุดท้าย ในรัชสมัย เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร และที่สำคัญเป็นสตรีคนที่ 3 ที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรต่อจาก นางมาร์กาเรต แทตเชอร์ และ นางเทรีซา เมย์

และนี่ก็คือ “Top 5 ผู้นำของสหราชอาณาจักร นั่งเก้าอี้นายกฯ แสนสั้นที่สุด” ที่เราได้พามารู้จักกันครบทุกคน และไม่ว่าจะเป็นอย่างไรต้องจับตาใด้ดีว่า ใครจะได้มาเป็นนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรต่อไป และแน่นอนว่าเราอาจจะได้เห็น บอริส จอห์นสัน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งก็เป็นได้