จังหวัดชุมพร บึงกาฬ นครปฐม มหาสารคาม มุกดาหาร บุรีรัมย์ และสุพรรณบุรี จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่ช่างทอผ้า

จังหวัดชุมพร บึงกาฬ นครปฐม มหาสารคาม มุกดาหาร บุรีรัมย์ และสุพรรณบุรี จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่ช่างทอผ้า ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ไปถักทอผสมผสานกับลวดลายภูมิปัญญาพื้นถิ่นตามความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันนี้ (14 มี.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้า และผู้ประกอบการผ้าไทย ทุกเทคนิค นำไปสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ณ The Athenee Hotel, a Luxury Collection Hotel แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อมอบให้กับช่างทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค เยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนคนไทยนำไปทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ในห้วงวันที่ 11 – 14 มีนาคม 2567 จังหวัดชุมพร บึงกาฬ นครปฐม มหาสารคาม มุกดาหาร บุรีรัมย์ และสุพรรณบุรี ได้จัดพิธีพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทานให้แก่ส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชิญไปมอบให้ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้า ใช้ในการประกอบอาชีพ ดังนี้

1. จังหวัดชุมพร ที่ห้องประชุมปทุมทิพย์ โรงแรมมรกตทวิน ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ โดยมี นายธนนท์ พรรพีภาส นายวรัตม์ มาประณีต รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายวิทยา เขียวรอด ปลัดจังหวัดชุมพร หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดชุมพร กลุ่มทอและผลิตผ้าจังหวัดชุมพร และผู้ประกอบการงานหัตถกรรม ร่วมพิธี

2. จังหวัดบึงกาฬ ที่ห้องประชุมสิรินธรวัลลี ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่ผู้แทนอำเภอ ทุกอำเภอ นำไปมอบแก่กลุ่มทอผ้า และผู้ผลิตผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค ของจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 30 กลุ่ม โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ รองประธานชมรมแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดบึงกาฬ เหล่ากาชาดจังหวัดบึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ และพัฒนาการอำเภอทุกอำเภอ ร่วมพิธี

3. จังหวัดนครปฐม ที่ห้องประชุมสนามจันทร์ ชั้น 5 (ส่วนต่อขยาย) ศาลากลางจังหวัดนครปฐม นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ โดยมี นางวราภรณ์ เจริญศิริโชติ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครปฐมและประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดนครปฐม นางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายอำเภอทั้ง 7 อำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา กลุ่มทอผ้า และกลุ่มงานหัตถกรรม ร่วมพิธี

4. จังหวัดมหาสารคาม ที่ศาลาปฏิบัติธรรม วัดขุนพรหมดำริ ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมืองมหาสารคาม นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่นายอำเภอ พัฒนาการอำเภอ และช่างทอผ้า ในจังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 13 อำเภอ โดยมี นางสุดารัตน์ แววบัณฑิต ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กร ภาคเอกชน ผู้แทนกลุ่มทอผ้าจังหวัดมหาสารคาม ร่วมพิธี

5. จังหวัดมุกดาหาร ที่ห้องแก้วมุกดา ศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และประธานเครือข่าย OTOP ทุกอำเภอในจังหวัดมุกดาหาร โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอทั้ง 7 อำเภอ ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ประชาสัมพันธ์จังหวัด พัฒนาการจังหวัด ประธานเครือข่าย OTOP ทั้ง 7 อำเภอ และประธานกลุ่มทอผ้าฝ้ายธรรมมือ อำเภอคำชะอี ร่วมพิธี

6. จังหวัดบุรีรัมย์ ที่หอประชุมศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ โดยมี นางวาทิณี โฆษาศิวิไลซ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอและนายกกิ่งกาชาด ทั้ง 23 อำเภอ พัฒนาการจังหวัดบุรีรัมย์ พัฒนาการอำเภอ ประธานคณะกรรมการระดับอำเภอ กลุ่มทอผ้าในจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมพิธี

7. จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานในพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” “ผ้าลายชบาปัตตานี” และเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” ให้แก่หัวหน้าส่วนราชการ ช่างทอผ้า ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าในพื้นที่ โดยมี หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 10 อำเภอ พัฒนาการอำเภอ กลุ่มทอผ้าในจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมพิธี

“นับเป็นพระกรุณาคุณอย่างหาที่สุดมิได้ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดโครงการ Silk Festival 2023 สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พระราชทานเครื่องหมายรับรองสินค้าแฟชั่นและหัตถกรรมพระราชทาน “Sustainable Fashion : แฟชั่นแห่งความยั่งยืน” แก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ ที่สร้างสรรค์ผืนผ้าและหัตถกรรม ด้วยขั้นตอนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้สร้างสรรค์และผู้สวมใส่ ซึ่งเป็นการรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานสากล และเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคใต้ ณ แหล่งสมาคมนายทหารสัญญาบัตร กองบัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายชบาปัตตานี” เพื่อเป็นของขวัญแก่ช่างทอผ้า ช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการชาวจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างอัตลักษณ์ สืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น ให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินไทย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่อไปอีกว่า อีกทั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้น เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรนิทรรศการผ้าทอแบบโบราณ ณ บ้านคำปุน ตำบลคำน้ำแขบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์” ซึ่งเป็นลายที่ได้ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายผืนผ้าจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และทรงนำมาออกแบบลายพระราชทานเนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยพระราชทานแบบตั้งต้นไว้ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทผ้ากาบบัว ประเภทผ้ายก จก บิด แพรวา ประเภทผ้ามัดหมี่ และประเภทผ้าบาติก ซึ่งสามารถนำลายพระราชทานหลัก ทั้ง 4 ประเภทนี้ไปถักทอผสมผสานกับลวดลายภูมิปัญญาพื้นถิ่นตามความคิดสร้างสรรค์ต่อไป

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในตอนท้ายว่า ในขณะนี้กระทรวงมหาดไทย นำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัดและสมาคมแม่บ้านมหาดไทยได้ดำเนินการและขยายผลโครงการตามแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ไปยังทั่วภูมิภาคของประเทศ เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ช่างทอผ้าช่างหัตถกรรม ผู้ผลิต ผู้ประกอบการมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยสำนึกพระกรุณาคุณที่ทรงมีต่อเหล่าปวงชนชาวไทย ขอน้อมนำแนวพระดำริในการสร้างคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไทยสามารถก้าวสู่ระดับสากล เพื่อวิถีชุมชนที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจกิจฐานราก สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคง อันยังประโยชน์ให้กับพี่น้องประชาชนทุกช่วงวัยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

#WorldSoilDay #วันดินโลก
#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI
#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข
#SoilandWaterasourceoflife
#SustainableSoilandWaterforbetterlife
#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน
#SDGsforAll #ChangeforGood