3 สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้านมากที่สุด

บ้าน เป็นสถานที่อยู่อาศัยที่จะช่วยปกป้องเราจากภัยธรรมชาติ หรือสภาพแวดล้อมภายนอก แต่แน่นอนว่า เมื่อเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงขึ้น สิ่งที่จะได้รับความเสียหายมากที่สุดก็คือบ้านของเรานั่นเอง ดังนั้นหลายคนจึงเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการทำประกันภัยบ้าน เพื่อให้มั่นใจว่า หากเกิดความเสียหายขึ้น บ้านของเราจะได้รับการซ่อมแซมให้กลับมาเป็นเหมือนเก่าได้ แต่ในวันนี้เราไม่ได้จะมาแนะนำความคุ้มครองของประกันภัย แต่เราจะมาบอกสาเหตุหลักที่มักจะทำให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้านมากที่สุด จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

3 สาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้าน

  1. ภัยจากน้ำ

นอกจากน้ำท่วมแล้ว ยังมีภัยจากน้ำอื่น ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำประปาอุดตัน ท่องน้ำทิ้งชำรุด หรือท่อน้ำระเบิด โดยความเสียหายก็มีตั้งแต่ความเสียหายเบื้องต้น ไปจนถึงความเสียหายรุนแรง เช่นท่อน้ำทิ้งบนฝ้าเพดานชำรุด ทำให้น้ำไหลลงบริเวณระเบียงหน้าบ้าน หรือเพดาน ท่อน้ำรั่วซึมจนทำให้ผนังวอลเปเปอร์หลุดร่อน เป็นต้น

  1. ลมพาย

หากบ้านของคุณตั้งอยู่ในทิศทางลม หรือบริเวณที่โล่ง ซึ่งเป็นบริเวณที่ในช่วงเวลาปกติก็มักจะมีลมโกรกอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าเมื่อเป็นในช่วงที่มีพายุ หรือลมแรง บ้านของคุณก็อาจจะได้รับผลกระทบจากลมพายุมากกว่าเดิมอีกด้วย โดยลมพายุที่รุนแรงอาจจะสร้างความเสียหายบริเวณหลังคา จนทำให้น้ำฝนรั่วลงไปชั้น 2 ของบ้าน หรือฝ้าเพดานตกลงมาได้ นอกจากนี้ลมพายุยังอาจพักเอาสิ่งของมากระทบกับตัวบ้านจนเกิดความเสียหายได้อีกด้วย

  1. ไฟไหม้

เหตุไฟไหม้ในบ้านส่วนใหญ่ มักจะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือวัตถุไวไฟในห้องครัว ซึ่งมักจะสร้างความเสียหายให้กับทรัพย์สินภายในบ้าน และตัวบ้านได้ ดังนั้น สมาชิกในบ้านทุกคนจึงควรช่วยกันดูแลและสังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้เสมอ รวมถึงเลือกซื้อแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานมาใช้งานเท่านั้น นอกจากนี้ภายในห้องครัวยังควรมีอุปกรณ์ดับไฟเตรียมไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉินด้วยเช่นกัน

และทั้ง 3 ข้อนี้ก็เป็นสาเหตุที่มักจะสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้านที่สามารถพบเจอได้บ่อยครั้ง เมื่อได้รู้อย่างนี้แล้ว สมาชิกทุกคนในบ้านจึงควรช่วยกันสอดส่องดูแล รวมถึงหาแนวทางป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติเหล่านี้ หรือให้ความสำคัญกับการเลือกใช้วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหาย และลดความรุนแรงของความเสียหาย