เผยแพร่ |
---|
“ดร.ณัฎฐ์”มือกฎหมายมหาชนคนดัง ตอกกลับ “เรืองไกร”เหตุผลในการยุบสภาชอบด้วยรัฐธรรมนูญ สอนมวยให้ศึกษารัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้ ไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ฟ้องเพิกถอนต่อศาลปกครองสูงสุด
เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๖ ตามประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ โดยเหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรโดยระบุว่า “เป็นการคืนอำนาจตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว” ต่อมานายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐเดินทางมาร้องศาลปกครองสูงสุดเนื่องจากเห็นว่าการเสนอพระราชกฤษฎีกายุบสภาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ล่าสุด ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฎฐ์” มือกฎหมายมหาชนคนดังและผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญ ได้ออกมาอธิบายและให้ความรู้ด้านกฎหมายมหาชนแก่ประชาชนที่น่าสนใจว่า เหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร โดยรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๓ วรรคสองไม่ได้บัญญัติไว้ถึงเหตุการณ์ใดในรัฐธรรมนูญ ต้องพิจารณาประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งจักต้องพิจารณาสถานการณ์และบริบทของประเทศไทยในขณะนั้นๆ หากพิจารณาถึงเหตุผลในการยุบสภา ๑๓ ครั้งที่ผ่านมา เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับสภา ความขัดแย้งภายในรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภากรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือวิกฤติทางการเมือง
แต่เหตุผลในการยุบสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่ ๑๐ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ที่รัฐบาลนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ให้เหตุผลในการยุบสภา “ปฎิบัติภารกิจตามเป้าหมายเสร็จสิ้นแล้ว” โดยไม่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับสภา เห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา ๑๐๓ วรรคสอง ดังนั้น การยุบสภาผู้แทนราษฎรในครั้งที่ ๑๔ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่พระราชกฤษฎีกายุบสภาโดยให้เหตุผลในพระราชกฤษฎีกาว่า “เป็นการคืนอำนาจตัดสินใจทางการเมืองให้แก่ประชาชนโดยเร็ว” หากเทียบเคียงกันในอดีตที่ผ่านมา
ผมยกตัวอย่างในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีอ้างเหตุผลในพระราชกฤษฎีกาไม่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยเหตุผลในการคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว แม้จะมีระยะเวลาจะสิ้นอายุสภาในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๖ ถือเป็นกลไกของรัฐสภาที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถอ้างเหตุผลในการยุบสภาได้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นายเรืองไกรฯต้องศึกษารัฐธรรมนูญและประเพณีการปกครอง โดยรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๕ ให้อำนาจพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการยับยั้งพระราชกฤษฎีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
ส่วนกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ให้อำนาจพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้กลไกระบบรัฐสภาโดยทูลเกล้าฯพระราชกฤษฎีกาต่อพระมหากษัตริย์โดยต้องผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ที่เสนอพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้พระมหากษตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจยุบสภา เป็นเงื่อนไขตามหลักการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา ๓๐๑ วรรคหนึ่ง ให้ประชาชนสังเกตได้จากพะราชกฤษฎีการยุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๖ มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เป็นกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ จะใช้สิทธิในการฟ้องเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๑๑(๒) มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง(๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองสูงสุด จะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของพระรากฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี หรือโดยจากความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ถามว่า พระราชกฤษฎีกายุบสภา ฉบับนี้ ผ่านมติและเห็นจากคณะรัฐมนตรี หรือไม่
ผมว่า นายเรืองไกรฯอ่านกฎหมายปกครอง มาตรา ๑๑(๒) น่าจะไม่เข้าใจ เพราะพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๖ ฉบับนี้ ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่เป็นพระราชกฤษฎีฉบับเดียวที่พล.อ.ประยุทธ์ฯในฐานะนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญในการยุบสภา เป็นกลไกระบบรัฐสภา เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายบริหารในระบบรัฐสภา ดังนั้น เมื่อกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาโดย พล.อ.ประยุทธ์ฯนายกรัฐมนตรี เป็นกระบวนการตราพระราชกฤษฎีกาโดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านความเห็นชอบมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่เข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์การฟ้องคดีปกครองและคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด การยื่นคำฟ้องโดยอ้างเหตุเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและเป็นผู้สมัคร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ แม้จะมีสิทธิยื่นฟ้องตามมาตรา ๔๒ แต่จะต้องพิจารณาเงื่อนไขในการฟ้องคดีปกครองด้วย
ส่วนเหตุผลในการฟ้องเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ อ้างว่ายุบสภาต้องมีเหตุการณ์ ผมว่า นายเรืองไกรฯ ควรอ่านรัฐธรรมนูญและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้ชัดแจ้ง หากรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเหตุการณ์ในการยุบสภาไว้ อันเป็นกลไกในระบบรัฐสภา ต้องพิจารณาประเพณีในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้เหตุผลจะขยายความว่า คืนอำนาจให้ประชาชนโดยเร็ว โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้อำนาจ กกต.องค์กรอิสระกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป เป็นไปตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม อำนาจกำหนดวันหย่อนบัตรของ กกต. ที่ กกต.เคาะวันหย่อนบัตรเลือกตั้ง ในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นกลไกระบบรัฐสภา หากเทียบเคียง สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุบสภาก่อนสิ้นอายุสภา โดยอ้างเหตุผลไม่ได้ขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับรัฐสภา โดยอ้างเหตุผลอื่น ในสถานการณ์และบริบทการเมืองปัจจุบัน ซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ ว่าจะอยู่ครบวาระ หรือยุบสภา เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
ส่วนการย้ายสังกัดพรรค ๓๐ วัน ผมมองว่า เป็นประโยชน์ทุกพรรคการเมือง ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการเมือง หากพิจารณาการเคาะกำหนดวันของ กกต. โดยรับสมัคร ส.ส.เขต ในวันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ และรับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ วันที่ ๔ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ เปิดช่องให้ผู้สมัครย้ายพรรคถึงวันสมัคร ส.ส. เป็นประโยชน์ทุกฝ่าย เพราะกฎหมายเลือกตั้ง ที่กำหนด ๑๘๐ ก่อนถึงวันเลือกตั้ง สิ้นผลไปตามมาตรา ๖๘(๑) แต่เข้าหลักเกณฑ์มาตรา ๖๘(๒) ยุบสภาวันไหน ให้ถือวันหาเสียงวันนั้นถึงก่อนวันเลือกตั้ง นักการเมืองระดับชาติทุกพรรค ต้องระมัดระวังการหาเสียง ส่วนที่นายเรืองไกรฯ เทียบเคียงระยะเวลา กรณีอยู่ครบวาระ กับยุบภา มีความแตกต่างกัน ระหว่าง ไม่เกิน ๔๕ วัน และไม่น้อยกว่า ๔๕ วันแต่ไม่เกิน ๖๐ วัน ตนขอถามว่า กกต.เคาะหย่อนบัตร ๑๔ พ.ค.๒๕๖๖ นับระยะเวลาห่างจากยุบสภาเพียง ๕๔ วัน ไม่นับรวมการประกาศผลเลือกตั้งภายใน ๖๐ วัน แม้นายเรืองไกร จะนำสองกรณีเทียบเคียง กรณีอยู่ครบวาระ จะต้องสังกัดพรรคการเมือง ภายในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ตามกำหนดการเดิม(เลือกตั้งวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๖) ระยะเวลาห่างกันเพียง ๗ วัน ไม่ผิดปกติทางการเมือง
การคืนอำนาจให้แก่ประชาชนโดยเร็ว กกต.จะต้องจัดการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม นายเรืองไก ต้องศึกษารัฐธรรมนูญให้ถ่องแท้ นายเรืองไกรฯ เป็นว่าที่สมัคร ส.ส. ไม่ใช่ว่า ร้องหรือฟ้องเอามัน แทนที่จะเอาเวลาไปหาเสียงภายหลังยุบสภา ทำคะแนนให้พรรคที่ตนสังกัด ให้นายเรืองไกรฯไปดูคลิป พรรคพลังประชารัฐปราศรัยที่จังหวัดเชียงใหม่ วันอาทิตย์ ที่ผ่านมา เก้าอี้ว่าง คนไม่ฟัง ลุกหนี ลุงป้อม พล.อ.ประวิตรฯ เพราะสาเหตุอะไร ตั้งข้อสังเกตว่า ประชาชนเบื่อการเมืองหรือว่าเบื่อพรรคการเมืองกันแน่ ก้าวข้ามความขัดแย้ง หรือเพิ่มเติมความขัดแย้งกันแน่ ประชาชนจะให้สั่งสอนในวันเลือกตั้ง