รัสเซีย ยูเครน ศึกครั้งนี้ใครได้ใครเสีย

ใครเป็นผู้ชนะ ผู้ใดได้รับประโยชน์ ในสงครามระหว่างรัสเซีย กับ ยูเครน หลังจากเริ่มการปฏิบัติการทางทหารผ่านมานานกว่า 7 เดือน ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นยุคแห่ง ความมืดมน ของทวีปยุโรป นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

ผู้ชนะคงไม่ใช่รัสเซีย ซึ่งเริ่มปฏิบัติการรุกล้ำเข้าสู่ดินแดน ยูเครน มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และนั่นก็ไม่ใช่ประเทศ

ยูเครนแน่นอน แต่ผู้ได้รับผลประโยชน์ตัวจริงคงหนีไม่พ้นกลุ่มอุตสาหกรรม อาวุธสงคราม เหล่าพ่อค้าอาวุธสงครามต่างหากที่เป็นผู้ชนะศึก จากการรายงานข่าวโดยสำนักข่าว ช่อง Wion ของประเทศอินเดีย

ตลาดค้าอาวุธสงครามทั่วโลก ถูกควบคุมโดยพ่อค้าอาวุธหลักไม่กี่ราย ทั้งนี้ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึงปี ค.ศ. 2020 ประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และเยอรมัน เป็นผู้ส่งออกหลักของโลก และประเทศดังกล่าวข้างต้นนอกจากจีนแล้วต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องและสนับสนุนในสงครามยูเครนทั้งสิ้น

ในขณะที่รัสเซีย ซึ่งเป็นฝ่ายปฏิบัติการรุกราน อีกด้าน อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ต่างก็สนับสนุน

และช่วยเหลือยูเครน ในด้านอาวุธยุทโธปกรณ์นานาชนิด ซึ่งใน 6 ประเทศ ดังกล่าวต่างก็มีสถานะ เป็นสมาชิกถาวร ในคณะกรรมการ ด้านความมั่นคง แห่งองค์การสหประชาชาติ โดยอ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าว wion อเมริกายังคงสถานะความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาวุสงคราม แต่เพียงผู้เดียว โดยมีจัดส่งออกอาวุธนานาชนิด อยู่ที่ร้อยละ 37 ของโลกนับว่าอเมริกาเป็นยักษ์ใหญ่ ในการส่งออกอาวุธสงครามโดยรวม

เมื่อศึกสงคราม รัสเซีย-ยูเครน เริ่มขึ้น ปรากฏว่าหุ้นของบริษัทด้านความมั่นคงในอเมริกา เริ่มมีมูลค่าหุ้นสูงขึ้น มีในตลาดหุ้น ดาวน์โจนน์ หุ้นของบริษัท เรย์เทิร์น ขึ้น 8% บริษัท เจนเนอรัล ไดนามิกค์ ขึ้น 12% บริษัท ล็อค ฮีด มาร์ติน ขึ้น 18% และ บริษัท น็อท ธรอพ กรัมแมน พุ่งขึ้นกว่า 22%

ซึ่งมีรายงานการประชุมลับเฉพาะ ณ สำนักงานตึกเพนตากอน โดยมีพ่อค้าและผู้รับเหมางานด้านความมั่นคง ระดับซีอีโอ ขององค์กร 8 นาย เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ที่สำคัญคือ การปรากฏกายเข้าร่วมประชุมของรองเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริการวมอยู่ด้วย

ประเด็นสำคัญ ในวาระการประชุม ได้กำหนดเป้าหมายหลักไว้ 3 ประการ คือ 1.) จัดสรรอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่ยูเครน 2.) เสริมสร้างและเตรียมความพร้อมในกรณีที่ต้องเผชิญหน้า และ 3.) สนับสนุนชาติพันธมิตรทุกวิถีทางซึ่งสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวอย่างหนักแน่นต่อเหล่าผู้รับเหมางานด้านความมั่นคง คือ “เราต้องการจำนวนอาวุธเพิ่มเติม”

แผนงานหลัก ประกอบด้วย 2 ฝ่าย ที่พร้อมจะสนับสนุนด้านการเงินในการปฏิบัติการ ลำดับแรก คือ ผู้ช่วยโครงการสภาความมั่นคงแห่งยูเครน ฝ่ายต่อมาคือความมั่นคงแห่งชาติ แผนกการทหารระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดยทั้งสองฝ่ายได้ประเมินงบประมาณไว้สูงถึงหลายร้อยล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐทีเดียว

เพนตากอนได้รับงบจัดสรรเพิ่มเติมอีก 3.5 ร้อยล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเติมเต็มคลังเก็บอาวุธ ซึ่งงบดังกล่าว สูงเกินกว่างบที่ประธานาธิบดีไบเดนตั้งไว้ถึง 1.75 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตามสภาความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกาก็ยังได้รับงบสนับสนุนอีก 1.5 ร้อยล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยงบก้อนนี้ถูกส่งมอบต่อให้แก่รัฐบาลยูเครน แต่ถึงกระนั้น ประธานาธิบดีไบเดนก็ยังไม่พึงพอใจ ได้ร้องขอไปยังรัฐสภา ให้การสนับสนุนแก่ยูเครนอีก 330 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในจำนวนเงิน 200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ จะนำไปจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมอีก

ข้อมูลอ้างอิงจากคำพูดของนายเกร็ก เฮย์ ซีอีโอ ของบริษัท เรย์เทิร์น ซึ่งกล่าวไว้เมื่อเดือนมกราคมว่า “ก่อนเริ่มสงครามยูเครน ข้าพเจ้าก็มองเห็นโอกาสแห่งผลประโยชน์และอยากจะพูดว่า การเกิดของวิกฤตในยุโรปตะวันออก ความตึงเครียดที่เกิดในบริเวณทะเล เซ้าส์ไชน่า จะสร้างแรงกดดันต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเป็นโอกาสสร้างผลประโยชน์ให้แก่พวกเราจากสถานการณ์เหล่านี้

หลังจากนั้นอีก 3 เดือน นาย เฮย์ ได้กล่าวให้สัมภาษณ์ต่อสำนักพิมพ์ ฮาร์วาร์ด บิวสิเนส รีวิว ว่าเขาแน่ใจว่าไม่มีเหตุที่ต้องออกมาขอโทษต่อคำพูดของตน โดยยืนยันว่าทุกอย่างที่ได้ทำเป็นการกระทำเพื่อปกป้องประชาธิปไตย โดยอ้างความเป็นจริงในแง่การทำธุรกิจ ซึ่งต้องยึดถือผลประโยชน์เป็นหลัก

เมื่อผู้สื่อข่าวจากสำนักงานข่าว Wion ถามขึ้นว่า “อาวุธต่างๆ ที่ส่งมอบให้โดยรัฐบาลสหรัฐ ถือเป็นการปกป้องประชาธิปไตยหรือไม่ ใครเป็นผู้จัดซื้ออาวุธของสหรัฐ ทำให้เห็นได้อย่างเด่นชัดว่าภายใต้การบริหารงานของประธานาธิบดีไบเดน บัญญัติของคำว่าการค้า” คืออะไรกันแน่

หลังจากสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่กี่สัปดาห์ การขายอาวุธจรวดนำวิถีจากพื้นสู่อากาศให้แก่ประเทศอียิปต์ ก็ถูกอนุมัติโดยพลัน ต่อด้วยการขายอาวุธจรวด ให้แก่ประเทศชิลี ขายจรวดและเครื่องบินรบเอฟ -16 ให้แก่ประเทศฟิลิปปินส์ ขายอาวุธจรวดระบบต่อต้านรถถังให้แก่ ประเทศไทย ขายระบบสกัดจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศให้แก่รัฐบาลซาอุดีอะราเบีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ต่างก็ไม่เคร่งครัดกับหลักของสิทธิมนุษยชนแต่อย่างไร สหรัฐเพียงแค่รับผลประโยชน์หลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ

เรื่องที่อดีตประธานาธิบดี ดไวท์ ไอเซนเฮาร์ ของสหรัฐเคยวิตกกังวลมาก่อนก็ได้ปรากฏเป็นจริงแล้วหลังจากอาณาจักรอุตสาหกรรมอาวุธยุทโธปกรณ์ในสหรัฐอเมริกาต่างได้รับผลประโยชน์อันมหาศาลจากเหตุการณ์สงครามยูเครน

(ไม่เคยมีผู้ใดบอกกล่าวว่ายูเครนไม่สมควรได้รับการช่วยเหลือด้านอาวุธและไม่มีผู้ใดสามารถเมินเฉยต่อการสนับสนุนและช่วยเหลือยูเครน แต่การที่อาวุธสงครามจำนวนมหาศาลต่างหลั่งไหลเข้าสู่ยูเครนมีผลต่อเหล่าพ่อค้าอาวุธของสหรัฐโดยตรง และการที่สหรัฐต้องถอนกำลังทหารออกจากประเทศอัฟกานิสถานได้ทำให้สถานการณ์การค้าอาวุธสงครามของสหรัฐต้องหยุดชะงักลงไปด้วย สงครามยูเครนจึงเป็นเหมือนสนามแข่งแห่งใหม่ให้เหล่าผู้เล่นตัวหลักได้เดินหน้าต่ออย่างเบิกบาน)

ท้ายสุดสำนักข่าว Wion ได้เอ่ยคำถามมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐว่า “ใครต้องการให้สงครามยุติ (วะ)”

 

ที่มา : เว็บเดอะซัน มาเลเซีย

www.thesundaily.my/opinion/us-arms-dealers-biggest-gainers-IE9886875