ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย เผยทิศทางสู่โลกใหม่กับการปั้นแบรนด์ และการสร้างกลยุทธ์ที่จะเป็น เข็มทิศผ่านแนวคิดของนักวางกลยุทธ์มือรางวัลระดับเอเชีย

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 13 มกราคม 2565, การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในแต่ละยุคสมัยต้องอาศัยความเข้าใจ การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมต่าง ว่าอะไรคือ solution หรือ ทางออกที่จะทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและจดจำกับกลุ่มเป้าหมายได้แข็งแรงที่สุด ซึ่งแต่ละยุคเราจะเห็นว่าโลกมีการปรับตัวอย่างไม่หยุดยั้ง การรับรู้ การสื่อสาร รวมถึงการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ในกลุ่มเป้าหมายแต่ละยุคสมัยก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับนักการตลาด และนักสื่อสาร แต่เมื่อเรามาถึงวันที่โลกได้มีการเปลี่ยนแปลง และถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัล (Digital Transformation)  ทำให้เกิดแรงกดดันและแรงกระตุ้นจากทุกทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ด้านสื่อทั้งหลายที่มุ่งเน้นทางดิจิทัลมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการที่ผู้คนต่างเจน generation พยายามจะสื่อสารกันนั้น ทำให้แบรนด์ต้องหันมาทำความเข้าใจปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ในแบรนด์กับผุ้บริโภคให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

เจนคณิต รุจิรโมรา ลีโอ เบอร์เนทท์ ประเทศไทย

ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย หนึ่งในเครือข่ายเอเจนซี่ที่ให้คำปรึกษาด้านการสื่อสารชั้นนำของเมืองไทยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างแบรนด์และการทรานส์ฟอร์ม (Transform) ธุรกิจเอเจนซี่ให้เป็นมากกว่าแค่เอเจนซี่ แต่เน้นการเป็นโซลูชั่นส์ ฮับ  (Solutions Hub) ที่เชื่อมต่อทุกด้านของการสื่อสารให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เพราะปับลิซีสเองเข้าใจว่าทุกวันนี้การเข้าถึงผู้บริโภคนั้นไม่สามารถทำผ่านการสื่อสารเพียงทางใดทางหนึ่ง แต่ต้องทำการสื่อสารแบบรวมทุกช่องทางเป็นหนึ่งเดียว หรือ Omni-channel Communications เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งนั่นคือหัวใจของการทำธุรกิจภายใต้คอนเซปต์ Power of One ของบริษัทฯ

ทั้งนี้การจะวางแผนการสื่อสารในทุก ๆ ช่องทางให้เป็นหนึ่งเดียวกันให้ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ทางการสื่อสารได้ต้องเริ่มต้นด้วยการวางกลยุทธ์อย่างชาญฉลาดและเฉียบคม ซึ่งนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการวางแผนกลยุทธ์และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางด้าน Strategic Planning อยู่เสมอ 

และล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ทีมนักวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planner) ในเครือปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทยได้คว้ารางวัล Agency Of the Year 2021 Southeast Asia โดย Campaign Asia ในสาขาดังต่อไปนี้

1.    Southeast Asia Strategic / Brand Planner of the yearคุณเจนคณิต รุจิรโมรา, Head of Strategy, เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ในเครือปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย

2.    Southeast Asia Young Business Leader of the yearคุณกนกพร กุลศรี, Strategic Planning Director, บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน (Brilliant & Million) ในเครือปับลิซีส กรุ๊ป ประเทศไทย

ซึ่งทั้งคู่ถือเป็นคนไทยเพียง 2 คนที่ได้รับรางวัลในสาขานี้จากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพวกเขาได้เผยถึงแนวคิดการปั้นแบรนด์ในปัจจุบันเพื่อที่จะใช้เป็นเข็มทิศให้เป็นที่จดจำกับกลุ่มเป้าหมายในปี 2565 ไว้ว่า 

จากสถานการณ์ที่ทำให้เราทำงานภายใต้ความไม่ปกติของการใช้ชีวิตของผู้คนทำให้เรามีโอกาสได้เจอความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งทำให้กลายเป็นแรงผลักดันให้เราวางกลยุทธ์ของแบรนด์นั้นต้องมองปัจจัยต่าง ๆ ให้รอบด้านมากขึ้น ลึกขึ้น เพื่อค้นหาทางออกใหม่ ๆ และนอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่คนทำแบรนด์ต้องคำนึงไว้เสมอคือการสร้างกรอบความคิด (mindset) ว่าต่อจากนี้ไปจะไม่มียุคที่เรียกว่า normal อีกต่อไป อย่ามองหาความปกติที่เราคุ้นชิน กรอบความคิด รูปแบบต่าง ๆ ที่เคยประสบผลสำเร็จจะไม่ใช่เข็มทิศในการวางกลยุทธ์อีกต่อไป โอกาสของแบรนด์ในปัจจุบันคือการมองหากรอบใหม่ ๆ ในการวางกลยุทธ์ เพราะสุดท้ายแล้วไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดมันคือการสร้าง คุณค่าให้กับแบรนด์ในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจะไม่สามารถเกิดได้ถ้าหากเรายังยึดติดอยู่กับสูตรเดิม ๆ ซึ่งมันก็คือการมองหาความ normal แบบเดิม ๆ นั่นเองคุณเจนคณิตกล่าว

กนกพร กุลศรี Brilliant & Million

คุณกนกพร หนึ่งในนักวางกลยุทธ์และนักธุรกิจรุ่นใหม่กล่าวเพิ่มเติมว่า เราอยู่ในยุคที่อาจจะไม่มีการเรียกว่า Covid หรือ Post-Covid อีกแล้ว แต่จะต้องเป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคระบาดอื่น ๆ รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอย่างมาก เช่น อาม่าที่บ้านที่สามารถกดสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเองได้แล้ว หรือกลุ่มคนใช้แรงงานที่เข้าถึงระบบการบริหารฐานข้อมูลลูกค้าผ่านแอปพลิเคชัน Line (Line BCRM) กว่า 35% ในปี 2564* และแม้กระทั่งโลกของบล็อกเชน ที่ทำให้สกุลเงินดิจิทัลอย่าง NFT (Non-Fungible Token) ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงคนรุ่นใหม่เท่านั้นที่ให้ความสนใจ แต่กลุ่มคนอื่น ๆ อาทิ กลุ่มเจนเอ็กซ์ หรือกลุ่มคนใช้แรงงาน ก็ให้ความสนใจกับสกุลเงินดิจิทัลด้วยเช่นเดียวกัน (กว่า 20%**)  ซึ่งสิ่งที่แบรนด์ต้องคำนึงถึงก็คือ นอกเหนือจากการทำการสื่อสารเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจแล้ว แบรนด์ต้องคำนึงถึงความอ่อนไหว หรือ sensitiveness ด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทุก ๆ คนมีความเปราะบางกับปัญหาหนักต่าง ๆ ในชีวิต ดังนั้นการสื่อสารของแบรนด์ ควรจะให้ความสำคัญกับข้อมูลและรายละเอียดของแต่ละบุคคล เพื่อที่จะเข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกของผู้คนได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่การลงมือทำ (action) ที่ตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังรู้สึก ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงถึงความใส่ใจ จริงใจ และเข้าใจความรู้สึกของผู้คนเป็นสำคัญด้วย ซึ่งจะส่งผลให้อัตลักษณ์และบุคลิกของแบรนด์มีความเป็นมนุษย์ หรือ Humanize ชัดเจนขึ้น

สิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ในยุคสมัยนี้นอกเหนือจากการคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ให้มากขึ้นแล้ว การมองถึงความเป็นไปได้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่มีทิศทางที่หลากหลายถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะเป็นเข็มทิศสู่ความสำเร็จ สถานการณ์ทุกอย่างในปัจจุบันไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ เหตุการณ์ ทิศทาง หรือแม้กระทั่งเทรนด์ต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในเรื่องของการวางแผนเรายิ่งต้องคิดให้มากขึ้น มองความเป็นไปได้ให้มากขึ้น เพราะเวลาที่การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ มาถึงเราจะรู้ได้ทันทีว่าอะไรคือทางออกที่ดีที่สุดวิธีถัดไป (Next Best Solution) ที่จะทำให้เราสามารถลงมือทำได้ทันที ซึ่งสุดท้ายแล้วนิยามของการวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ ในนาทีนี้ก็คือ แผนที่รอบด้าน (well-rounded) มากกว่าแผนที่ยึดติดกับกรอบเดิม ๆ (rigid)คุณเจนคณิต กล่าวถึงทิศทางและความสำคัญของการวางแผนกลยุทธ์ในปัจจุบัน

“ในวันที่แพลตฟอร์มต่าง ๆ มีบทบาทและมีอิทธิพลมากขึ้นในการโน้มน้าวพฤติกรรมของผู้คนและรชี้นำทิศทางของแบรนด์ ถ้าแบรนด์ไม่ได้กำหนดเข็มทิศของตัวเองให้ชัดเจนก็อาจจะทำให้หลงทางได้ เพราะฉะนั้น การทำแบรนด์ให้แข็งแรง มีทิศทางที่ชัดเจนในการสร้างตัวตน ก็จะมีโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ถูกโน้มน้าวจากทิศทางของแพลตฟอร์มเหล่านั้น” คุณกนกพร กล่าวเสริม

 

นอกจากนี้ คุณกนกพร อธิบายเพิ่มเติมว่า “ในปัจจุบัน สถานการณ์และพฤติกรรมของผู้คนปรับเปลี่ยนไปเร็วมาก และสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้เกิดขึ้นได้เสมอ เช่น วันนี้วางแผนจะเปิดร้าน แต่วันพรุ่งนี้อาจถูกสั่งปิดร้าน อีกทั้งผู้บริโภคที่มีความเข้าใจในเทคโนโลยีมากขึ้นจึงมองหาหรือคาดหวังบริการที่มากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ทำให้แต่ละธุรกิจและอุตสาหกรรมถูกกระตุ้นและกดดันมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นสิ่งที่นักกลยุทธ์ควรปรับตัวคือ อย่ากลัวกับความท้าทายต่าง ๆ และอย่าท้อถอยกับการเปลี่ยนแปลง เมื่อเราถูกเทคโนโลยี สถานการณ์โรคภัย หรือพฤติกรรมของผู้คนเข้ามา disrupt  เราเองก็ควรที่จะสนุกกับมัน ตั้งตัวเองเป็นผู้เปลี่ยนแปลงหรือ Disruptor เพื่อพลิกสถานการณ์ให้กลายเป็นดีหรือเบาลง เตรียมความพร้อมในการปรับแผนธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์ เชื่อมต่อปัจจัยที่มีผลทางธุรกิจ (Connect the dot)  ให้เร็ว และมองภาพขั้นตอนการประกอบธุรกิจตั้งแต่ต้นถึงปลายให้ออก เพื่อที่จะได้เพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนธุรกิจได้เฉียบคม และดำเนินการได้รวดเร็วที่สุด ณ เวลานั้น ๆ  และที่สำคัญที่สุดก็คือ การสร้างแบรนด์ในปีนี้ นอกจากจะต้องเน้นความเข้าใจผู้บริโภคแล้ว แบรนด์ไม่ควรเสียเวลากับการวางแผนที่นานเกินไป หรือยึดติดกับกรอบเดิมๆ แบรนด์ควรต้องมีความกล้าหาญที่จะทดลองและลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์ให้มีเสน่ห์มากขึ้นด้วยการสร้าง solution ที่แม่นยำเพื่อเข้าถึงใจผู้บริโภค ซึ่งสุดท้ายคือการกล้าลงมือทำให้เร็ว เรียนรู้ผลลัพธ์ของการลงมือทำให้ไว เพื่อประเมินประสิทธิผลของงานนั้น ๆ และปรับแผนงาน หรือ optimize ให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ”

จากแนวทางในยุคของการสื่อสารในปัจจุบัน อาจกล่าวสรุปได้ว่าบทบาทของนักวางแผนในเชิงกลยุทธ์นั้นมีมิติต่าง ๆ ที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้นโดยครอบคลุมพื้นฐาน 3 สิ่งคือ 1. ความมั่นใจ (confidence) ในเชิงเป้าหมายว่ากลยุทธ์ที่วิเคราะห์จะสามารถบรรลุได้ ซึ่งต้องเกิดจากทั้งประสบการณ์ (prediction) และข้อมูล (data driven) มาประกอบการวางแผนซึ่งสามารถส่งผลได้ทั้งระยะสั้นที่เน้นที่ยอดขายและระยาวในการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง 2. แรงบันดาลใจ (inspiration) ที่ต่อยอดมากจากข้อมูล หรือ data ที่มากมาย แต่สิ่งที่สำคัญคือการแปลข้อมูลเหล่านั้นให้ออกมาเป็นเข็มทิศหรือ solution ให้กับแบรนด์ที่ชัดเจน มิเช่นนั้นข้อมูลที่มีอยู่นั้นก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด และ 3. การเติบโต (growth) ซึ่งคือการมองข้ามปัจจุบันไปสู่ กลยุทธ์สำหรับความเป็นไปได้ของการเติบโตของแบรนด์สู่อนาคต กาเรียนรู้จากอดีต การมองศักยภาพในปัจจุบัน และการมีวิสัยทัศน์ของอนาคต จะก่อให้เกิดการเติบโตที่ยั่งยืนกับแบรนด์ได้

คุณเจนคณิต กล่าวปิดท้ายว่า การทำแบรนด์ในปี 2565 เราน่าจะเห็น brand action หรือการลงมือทำให้เห็นผล และถูกมองเห็นที่ชัดเจนขึ้น เพราะเราเชื่อว่า Brand speaks through action จะเป็นเสียงที่ดังที่สุดที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา action ของแบรนด์ถือเป็นเรื่องท้าทาย ไม่รู้ว่าจะลงมือทำที่ไหน เห็นผลอย่างไร แต่ท้ายที่สุดเราได้เห็นถึงการปรับตัวมากขึ้น มี creativity หรือการสร้างสรรค์ที่จะสื่อสาร action ของแบรนด์ที่ไม่ใช่แค่ส่งสารหรือ message ออกไปแต่เป็นการใช้พื้นที่การสื่อสารในการสร้าง action  ไม่ว่าจะในโลกจริง หรือ โลกเสมือนจริงก็ตาม โดยที่ action ต่าง ๆ เหล่านั้นจะช่วยสะท้อน brand purpose หรือจุดประสงค์ของการมีอยู่ของแบรนด์ให้ชัดเจนและยั่งยืน

* อ้างอิงจากการทำวิจัย B-sight ปี 2021 โดย บริษัท Brilliant & Million

**อ้างอิงจาก Member 231.6K NFT Gamer Thailand Group (https://www.facebook.com/groups/nftgamerthailand/members

ปับลิซีส กรุ๊ป เป็นเครือบริษัทชั้นนำของโลกทางด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีการวางโครงข่ายของบริษัทในเครือในทุก ๆ ขั้นตอนของการสื่อสารตั้งแต่การให้คำปรึกษาจนถึงการเผยแพร่ชิ้นงาน รวมถึงการผสานเรื่องของการปฏิรูปทางการตลาดและการดำเนินธุรกิจในเชิงดิจิทัล ปับลิซีส กรุ๊ป ได้รับการแต่งตั้งจากลูกค้าพันธมิตรหลายหลายรายให้เป็นพาร์ทเนอร์ในการปฏิรูปธุรกิจเพื่อยกระดับการสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยทางปับลิซีส กรุ๊ป มีความเชี่ยวชาญทางการสื่อสารโดยแบ่งประเภทธุรกิจเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ คือ การวางแผนการสื่อสาร, การวางแผนสื่อ, การจัดการข้อมูล และ การบริหารเทคโนโลยี และด้วยโครงสร้างและเครือข่ายที่แข็งแกร่งทำให้ปับลิซีส กรุ๊ป สามารถให้บริการการให้คำปรึกษากับพันธมิตรทางธุรกิจในทุก ๆ ประเทศที่รวมความเชี่ยวชาญในทุก ๆ สาขาไว้เป็นหนึ่งเดียวกัน ปับลิซีส กรุ๊ปให้บริการในกว่า 100 ประเทศ และมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 85,000 คน