เริ่มต้นจดทะเบียนการค้าสำหรับเจ้าของกิจการ พร้อมขั้นตอนแบบละเอียด

การสร้างธุรกิจในยุคปัจจุบันสามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก แต่การทำให้ธุรกิจน่าเชื่อถือและยั่งยืนเป็นเรื่องที่ท้าทายและสำคัญ สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ลูกค้าเชื่อถือเรา นั่นคือ “จดทะเบียนการค้า” ซึ่งเป็นการทำเอกสารทะเบียนการค้าที่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี บทความนี้เราจะแนะนำวิธีการเริ่มต้นการจดทะเบียนการค้าสำหรับเจ้าของกิจการ พร้อมขั้นตอนแบบละเอียด

จดทะเบียนการค้าสำคัญอย่างไร?

ทะเบียนการค้าที่ได้จากการจดทะเบียนการค้าถือเป็นหลักฐานสำคัญในทางการค้า เพราะเป็นเครื่องมือที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ว่าธุรกิจของเเรามีตัวตนจริง ๆ สามารถติดต่อได้หาเกิดปัญหาขึ้น

ซึ่งการจดทะเบียนการค้า นอกจากจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าแล้ว ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานเมื่อทำธุรกรรมทางการเงินได้ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า

ปัจจุบันการจดทะเบียนการค้า สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง เพียงเข้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th ก็สามารถดำเนินการจดทะเบียนการค้าแบบออนไลน์ได้แล้ว

1. ลงทะเบียนในระบบเพื่อใช้งาน

2. จองชื่อนิติบุคคล

3. ทำรายการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์

4. ลงรายมือชื่อ

5. ชำระค่าธรรมเนียม

6. พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และรอรับเอกสาร

เอกสารที่ต้องเตรียมในการจดทะเบียนการค้า

1. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ของผู้ประกอบการธุรกิจ)

2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ ตั้งใหม่ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=946)

หรือ กรอกแบบฟอร์มได้ที่ https://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf

3. หนังสือรับรองการจดทะเบียนการค้าของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (สำหรับนิติบุคคล)

4. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเอกสารแนบ แบบ ทพ. (สามารถกรอกแบบฟอร์มต่อ 1 เว็บไซต์ได้ที่ https://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp_website01.pdf )

5. เอกสารประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนม (สำหรับเว็บไซต์ชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนมต้องตรงกับชื่อผู้ประกอบการธุรกิจ)

6. หนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่น) สามารถกรอกแบบฟอร์มได้ที่ https://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp_power.pdf

บุคคลที่มีหน้าที่ในการจดทะเบียนการค้า

1.บุคคลธรรมดา (ผู้ประกอบการคนเดียว)

2.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา)

3.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต่างกันที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ทุกคนรับผิดชอบในส่วนของหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีบุคคลที่จำกัดความรับผิดและมีบุคคลที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินทั้งหมด)

4.บริษัทจำกัด และบริษัทที่เป็นมหาชนจำกัด

5.บริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิด หรือขยายสาขาในประเทศไทย

กิจการที่สามารถจดทะเบียนการค้าได้

หากเป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ และบริษัทต่างชาติเปิดสาขาในไทย ประกอบกิจการดังนี้ ต้องจดทะเบียนการค้า

1. ธุรกิจโรงสีข้าว และโรงงานที่ใช้เครื่องจักรในการเลื่อย

2. ธุรกิจขายสินค้าที่มีรายได้วันละ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าไว้ขาย 500 บาทขึ้นไป

3. นายหน้าขายสินค้า

4. ธุรกิจหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรม

5. ธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ เรือ รถไฟ รถยนต์ ธุรกิจซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืมเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อขายตั๋วเงิน ธนาคาร โรงรับจำนำ และธุรกิจโรงแรม

6. ขาย เช่า ผลิต หรือรับผลิต CD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิง

7. ขายอัญมณี เครื่องประดับ ที่ตกแต่งด้วยอัญมณี

8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์

9. ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต

10. ธุรกิจเช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

11. เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์

12. ธุรกิจบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต

13. ธุรกิจให้บริการฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ

14. ธุรกิจเครื่องเล่นเกมส์

15. ธุรกิจบริการตู้เพลง

16. โรงงานแปรสภาพจากงาช้าง และขายปลีก ขายส่งงาช้างและสินค้าที่ทำจากงาช้า

สถานที่ในการยื่นขอจดทะเบียนการค้า

สถานที่ในการยื่นขอจดทะเบียนการค้าจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

ในเขตกรุงเทพ

● สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร

● สำนักงานเขตทุกเขต ที่มีสำนักงานใหญ่รับจดทะเบียนการค้า

ในเขตภูมิภาค

● เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา ที่มีสำหนักงานใหญ่รับจดทะเบียนพาณิชย์

ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการค้า

การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

– จดทะเบียนการค้าตั้งใหม่ 50 บาท

– จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท

– จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท

– ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท

– ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท

– ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)

หากคุณสนใจเริ่มวางแผนทำธุรกิจร้านค้าออนไลน์และกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำในการ “จดทะเบียนการค้า” ให้ Fastwork เป็นผู้ช่วยต่อยอดพัฒนาธุรกิจของคุณให้เป็นจริงได้ สามารถเลือกชมก่อนได้ที่ https://fastwork.co/commercial-registration