เปิดเงื่อนไข ดิจิทัลวอลเล็ต ใช้เงินธกส.ด้วย ให้ 50 ล้านคน ตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

เปิดเงื่อนไข ดิจิทัลวอลเล็ต ใช้เงินธกส.ด้วย ให้ประชาชน 50 ล้านคน ตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป

เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 ที่ทำเนียบรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯและรมว.คลัง พร้อมด้วย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน ดิจิทัลวอลเล็ต

นายเศรษฐา กล่าวว่า นโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล นโยบายยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ และประชาชน ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว รัฐบาลได้ใช้ความพยายามสูงสุดฝ่าฟันข้อจำกัด รัฐบาลได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ส่งมอบนโยบายพลิกชีวิตประชาชนได้ และที่สำคัญเป็นไปตามตัวบทกฎหมายทุกประการ อยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด โดยประชาชนร้านค้าจะได้ลงทะเบียนได้ในไตรมาส 3/2567

และเงินส่งตรงถึงประชาชนในไตรมาส 4/2567นายเศรษฐา กล่าวว่า นโยบายนี้ เป็นการใส่เงินในระบบเศรษฐกิจอย่างทั่วถึงกระจายทุกพื้นที่ ให้หมุนเวียนในระบบถึงฐานราก ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจ เกิดการผลิตสินค้าที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ผลตอบแทนทางภาษี เป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เตรียมพร้อมประเทศให้เข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ เพิ่มความโปร่งใสการชำระเงิน

นายเศรษฐา กล่าวอีกว่า นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์กระตุ้นเศรษฐกิจ มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ ลดภาระค่าครองชีพ ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน เช่น กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจ พึ่งพาตนเองได้ สร้างโอกาสประกอบอาชีพของประชาชน ก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

ทั้งนี้ความคุ้มค่าจะให้สิทธิ์แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคนผ่านดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 5 แสนล้านบาท กำหนดใช้จ่ายในร้านค้าที่กำหนด เป็นการเติมเงินลงสู่ฐานราก ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย 1.2-1.6% จากกรณีฐานครั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของโครงการ

นายเศรษฐา ยังกล่าวว่า รัฐบาลจะดำเนินโครงการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยกระบวนการต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รอบคอบ และระมัดระวัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และประชาชนโดยรวม รักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐอย่างเคร่งครัด

ด้านนายลวรณ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 2560 เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โปร่งใสตรวจสอบได้

วงเงิน 5 แสนล้านบาทบริหารจัดการผ่านงบประมาณได้ทั้งหมด ใช้งบปี 67 และ 68 แบ่งเป็น 3 ส่วน งบ 2568 และงบประมาณปี 2567 และเงินตามมาตรา 28 ของกรอบวินัยการเงิน จากธกส. โดยแหล่งเงินมาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วันที่เริ่มโครงการมีเงิน 5 แสนล้านบาททั้งก้อน ไม่ใช่ใช้เงินอื่น

นายจุลพันธ์ กล่าวว่า แนวทางและเงื่อนไข คือ เป้าหมายประชาชน 50 ล้านคน คนเกินอายุ 16 ปี ไม่มีเงินได้เกิน 8.4 แสนบาทต่อปีภาษี ไม่มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท เป็นเกณฑ์เดิม

2.เงื่อนไขการใช่้จ่ายประชาชนกับร้านค้า ในพื้นที่อำเภอ ร้านค้าขนาดเล็กที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเท่านั้น

3.ร้านค้ากับร้านค้าไม่กำหนดพื้นที่ ไม่กำหนดขนาดของร้านค้า การใช้จ่ายได้หลายรอบ การเปลี่ยนแปลงรอบที่ 1 เป็นของประชาชนกับร้านค้า สินค้าทุกประเภท ไม่รวมสินค้าอบายมุข สินค้าออนไลน์ น้ำมัน

4.ใช้ระบบพัฒนาขึ้นเองโดยสำนักงานพัฒนาดิจิทัล ร่วมดีอี ทำซูเปอร์แอพพ์ ใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น

5.คุณสมบัติร้านค้าที่ถอนเงิน ต้องอยู่ในระบบภาษีเท่านั้น เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา เฉพาะผู้มีรายได้พึงประเมิน เปินผู้ประกอบอาชีพค้าชาย

การถอนเงินสด ถอนทันทีไม่ได้ ต้องถอนหลังจากใช้จ่ายรอบที่ 2 เป็นต้นไป ลดควาเมสี่ยงทุจริต เพิ่มเผลกรตุ้นเศรษญกิย

6.ประชาชนร่วมโครงการไตรมาส 3 ปี 2567 ใช้จ่าย ไตรมาส 4 2567

7.ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดหลักเกณณ์ มีรองผบช.น. เป็นประธาน ผบช.ไซเบอร์ เป็นรอง

ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการที่ออกในวันนี้ ความรู้สึกลึก ๆ ของนายกฯ ผิดกับความตั้งใจแรกในตอนหาเสียงอย่างไรบ้าง นายเศรษฐา กล่าวว่า ก็ระยะเวลาที่จะเกิดขึ้นได้ แน่นอนรัฐบาลต้องฟังเสียงของประชาชน ที่คาดว่าที่แรกจะออกต้นปีนี้ แต่ก็เลยไปถึงปลายปี

อย่างที่เรียนว่า ต้องฟังเสียงของทุกคน ที่ให้คำแนะนำ ให้เสนอแนะ และพยายามที่จะตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ มา ต้องมีการดูอย่างดี อย่างละเอียด เพื่อให้เป็นโครงการที่โปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ผลประโยชน์ทุกบาททุกสตางค์ตกอยู่กับประชาชน